เสื้อผ้า..จะหญิงหรือชายก็ชอบซื้อกันจริง ขนซื้อกันชนิดที่ว่าบางคน ตู้เสื้อผ้าใบเดียวไม่พอใส่ ทั้ง แบรนด์เนมแบรนด์ไทยเต็มตู้ไปหมด แต่ละชิ้นแต่ละตัวราคาไม่ใช่ถูกๆ (ถึงแม้จะซื้อตอน sale ก็เถอะ) ซื้อมาแล้วก็ต้องใส่ให้คุ้มกันหน่อย
แต่คุ้มในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้ใส่เสียจนเยินไปทั้งตัวนะคะ อยากให้คุ้มค่า คือใส่ไปได้นานๆ ต่างหากล่ะ
จริงๆ แล้วการดูแลรักษาเสื้อผ้า ไม่ต้องใช้พรสวรรค์การเป็นแม่บ้านแม่เรือนก็ได้ เพราะมีปัจจัย อยู่ไม่กี่อย่างที่เราต้องเอาใจใส่ อย่างเช่น ผ้าชนิดนี้ต้องซักอย่างไร ต้องรีดความร้อนระดับไหน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ไม่ยากเลย เวลาซื้อเสื้อผ้ามาจะสังเกตเห็นว่า บริเวณคอเสื้อ หรือด้านในของขากางเกงหรือกระโปรง มีป้ายเล็กๆ เขียนสัญลักษณ์ 2-3 ตัว เย็บติดอยู่ (ชุดชั้นในหรือชุดว่ายน้ำ ก็มีเหมือนกัน) ตรงป้ายนี้ล่ะเขาจะบอกไว้หมดว่า เราควรดูแลผ้าชิ้นนี้อย่างไร ไม่ว่าคุณจะซื้อเสื้อผ้าจากประเทศไหนในโลก หน้าตาสัญลักษณ์ก็เหมือนกันหมด ลองมาดูกันว่า สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกอะไรเราบ้าง ถึงอยู่บ้านจะเป็นคุณหนูคุณนายก็ควรรู้ไว้ จะได้เก็บไปถ่ายทอดให้สมศรีที่บ้านปฏิบัติตาม
WASHING
|
ถ้าเห็นเครื่องหมายนี้ ก็แปลว่า ใช้เครื่องซักผ้าซักได้ แต่บางครั้งคุณอาจเห็นสัญลักษณ์แบบเดียวกันนี้ แต่มีตัวเลข 30 40 50 90 กำกับอยู่ในนั้นด้วย ตัวเลขนี้บอกให้รู้ว่า อุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ซักผ้าชิ้นนี้เท่าไร แต่ไม่จำเป็นต้องซีเรียสตาม สำหรับบ้านเราใช้น้ำที่ออกมาจากก๊อกปกติก็พอแล้ว เวลาซักก็ควรแยกซักระหว่างผ้าขาวกับผ้าสี โดยเฉพาะสีดำ เพื่อป้องกันการตกสี จากนั้นควรกลับเอาผ้าด้านในออกซัก โดยเฉพาะกางเกงยีน จะได้ไม่ดูเก่าและซีดเร็ว ============================================ |
|
เห็นภาพนี้เป็นอันรู้เลยว่า ควรใช้มือซักค่ะ เพราะผ้าบางชนิดไม่เหมาะจะซักด้วยเครื่อง ทีนี้การซักมือ ก็ต้องระวังเช่นกัน หนึ่ง แช่ผ้าในน้ำผงซักฟอกสักระยะเพื่อให้คราบสกปรกต่างๆ หลุดออกไป แต่อย่าแช่นานเกินไป เดี๋ยวผ้าสีตก สอง ใช้มือขยี้เบาๆ อย่าใช้แปรงเด็ดขาด สาม เวลาล้างน้ำสะอาด ต้องล้างผงซักฟอก ============================================ |
|
เครื่องหมายนี้บ่งบอกว่า ซักแห้ง เท่านั้น ซึ่งการซักแห้งเป็นงานละเอียดอ่อน และยุ่งยากต่อการทำเองที่บ้าน แนะนำว่าส่งร้านซักรีดจะสะดวกและปลอดภัยกว่า เพราะผ้าที่ต้องซักแห้งจะเป็น ผ้าไหม ไหมพรมและพวกขนสัตว์ ซึ่งราคาค่อนข้างแพงทั้งนั้น ============================================ |
|
นี่ก็ซักแห้ง แต่ตัว P กำหนดว่า ควรใช้น้ำยาซักแห้งที่มีส่วนผสมของสาร Perchlorethylene ซึ่งปลอดภัยทั้งคนและผ้าซักแห้งเช่นเดียวกัน แต่ตัว A หมายความว่าใช้น้ำยาซักแห้งชนิดใดก็ได้ ============================================ | DRYING จริงๆแล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการตากผ้าคือ ตากแดดตากลมให้แห้งตามธรรมชาติ ยกเว้นในยามที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ ก็คงต้องพึ่งเครื่องซักผ้าช่วยปั่นแห้ง การปั่นด้วยเครื่องซักผ้าดีตรงที่สะดวก แต่ผลเสียของการปั่นบ่อยๆ จะทำให้ผ้าหดตัว
|
สัญลักษณ์นี้มักเห็นกันบ่อยๆ คือ ห้ามใช้น้ำยาซักผ้าขาว ปั่นจนแห้งสนิทด้วยเครื่องซักผ้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องตากแดด และเสียทรงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ๆ ลองเช็คดูว่าเสื้อผ้าที่ใส่มีสัญลักษณ์แบบนี้บ้างหรือเปล่า ============================================ | IRONING เสื้อผ้าแห้งแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การรีดผ้า จากประสบการณ์ขอบอกค่ะว่า เป็นงานที่ยากและน่าเบื่อที่สุด แต่ก็จำเป็น เพราะการรีดนอกจะช่วยให้ทั้งเสื้อผ้าและคนใส่ดูดีแล้ว ยังทำให้ทรงของเสื้อผ้าเข้ารูปเข้ารอยอยู่ได้นาน ซึ่งปัจจัย
จะปั่นหรือบิดด้วยมือก็ได้ แค่พอให้แห้งหมาดๆ ก็พอ แล้วนำไปตากแดด สำคัญของการรีดผ้าอยู่ที่ ความร้อน ร้อนมากไปผ้าอาจจะไหม้ ร้อนน้อยไปผ้าก็ไม่เรียบ เพราะฉะนั้นก่อนรีด พลิกป้ายคำ
|
ให้ใส่ไม้แขวนแล้วตากแนวตรงตามทรงของเสื้อผ้า มักจะใช้กับเสื้อผ้าที่น้ำหนักไม่มาก แนะนำขึ้นมาดูสักนิดหนึ่ง ว่าเสื้อหรือกางเกงตัวนี้ ควรใช้ความร้อนมากประมาณไหน ============================================ |
|
ถ้าเป็นประเภทเสื้อขนสัตว์ เสื้อสเวตเตอร์ไหมพรม หรือแจ็คเก็ตนวมตัวใหญ่ๆ จะต้องเห็นสัญลักษณ์นี้ วิธีตากคือ ตากเสื้อลงบนพื้นแนวราบ (ถ้ากลัวเสื้อเลอะ ให้ปูผ้าเช็ดตัวก่อน แล้วค่อยวางเสื้อตากลงไป) วิธีเพื่อเป็นการรักษาทรงของเสื้อ ============================================ |
|
จุดเดียวแบบนี้ แปลว่า ไม่ร้อนเลย เหมาะสำหรับผ้าใยสังเคราะห์จำพวกโพลีเอสเตอร์ ไนลอน และ ผ้าไหมด้วย ============================================ |
|
2 จุด คือ ใช้ความร้อนปานกลาง พออุ่นๆ เหมาะสำหรับพวกขนสัตว์ และผ้าคอตตอน ============================================ |
|
3 จุด คือ ต้องเร่งความร้อนเตารีดสูงมาก (แต่ระวังอย่านาบเตารีดบนผ้านานๆ ============================================ |
|
กากบาทแบบนี้ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ห้ามรีด ค่ะ ============================================ | แถมท้ายเรื่องรีดผ้าอีกนิด ไม่ว่าจะรีดอะไรควรใช้ที่รองรีดทุกครั้ง ถ้ารีดเสื้อผ้าสีดำ ให้กลับเอาด้านในออกมารีด ป้องกันผ้าเป็นรอยเงาด่างๆ และให้ระวังพวกป้ายยี่ห้อ หรือ โลโก้ ที่ติดบนตัวเสื้อหรือกางเกง ที่ทำจากพลาสติก เพราะอาจละลายไหม้ติดเตารีด แต่ถ้าไม่อยากปวดหัวเรื่องรีดอีกต่อไป แนะนำว่าหาซื้อเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไม่ยับง่ายดีกว่า
เป็นอันว่าสำเร็จเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน รู้อย่างนี้แล้วซื้อเสื้อผ้าคราวหน้า จะมีป้ายหรือไม่มี ก็คงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และถ้าเป็นไปได้ควรหมั่นทำให้ติดเป็นนิสัย ชุดใหม่ๆ จะได้ไม่เก่าเร็ว
|