อาหารปลอดโรค บริโภคปลอดภัย



อาหารไม่สะอาดเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย เมื่อซื้อมาทานกันง่ายๆเราต้องระวังเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยกันหน่อย เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) มีข้อมูลน่าตกใจออกมาว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคท้องเสียซึ่งมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร เฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาน่าจะสูงถึง 2.1 ล้านคน โดยการเกิดโรคติดเชื้อจากอาหารก็มีสาเหตุใหญ่ๆจากการเก็บอาหารไม่เหมาะสม อาหารไม่สะอาดพอ หรือมีการปนเปื้อน

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เห็นทีว่า คุณต้องหันมาเอาใจใส่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยกันมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ

การเก็บอาหาร
ระวังอย่าให้อาหารสดกับอาหารสุกปนกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดแบคทีเรีย
เก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็นด้วยการห่อหรือบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
ระวังอย่าให้แมลงไต่ตอมอาหาร หรือมีหนูหรือสัตว์อื่นๆมากัดกิน

การเตรียมอาหาร
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น ก่อนและหลังจากที่แตะต้องอาหาร ทำความสะอาดพื้นครัวด้วยน้ำร้อน สบู่และยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
อย่าเตรียมอาหารให้ผู้อื่นถ้าคุณไม่สบาย
ล้างเครื่องครัวและเขียงที่ใช้ในการทำอาหารให้สะอาด แยกเขียงออกเป็นเขียงสำหรับหั่นอาหารสดและเขียนสำหรับอาหารสุก
ละลายอาหารแช่แข็งในตู้เย็นและปรุงทันทีหลังจากที่ละลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าแช่แข็งอาหารที่ละลายแล้ว นอกเสียจากได้ปรุงแล้ว
อย่าทิ้งอาหารสด หรืออาหารที่ปรุงเสร็จแล้วในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง

การประกอบอาหาร
ปรุงอาหารให้สุกเพื่อฆ่าแบคทีเรียซึ่งอาจมีอยู่ในอาหาร และควรนำอาหารที่แช่แข็งมาทำให้ละลายเสียก่อนที่จะนำไปใช้ประกอบอาหาร ทุกส่วนของอาหารควรจะปรุงด้วยความร้อนอย่งต่ำที่สุด 75 องศา C
ทำอาหารที่ปรุงแล้วให้เย็นเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ควรใช้ภาชนะตื้นๆ) ก่อนนำเข้าตู้เย็น การทำเช่นนี้จะทำให้แบคทีเรียเติบโตช้าลง
อุ่นอาหารที่ปรุงสุกแล้วให้ร้อนเพื่อฆ่าแบคทีเรียที่อาจหลงเหลืออยู่
อุ่นอาหารร้อนให้ร้อน และแช่อาหารเย็นให้เย็น


ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง "การบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย" โดยสมาคมศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งอาเชียน (AFIC)

Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement