น้ำนมแม่
หัวนมเป็นทางออกของน้ำนม แต่น้ำนมไม่ได้อยู่ที่หัวนม จุดที่สำคัญคือ ลานหัวนม เวลาให้ลูกดูดนม ถึงต้องบอกว่าให้ลูกอมหัวนมแม่เข้าไปจนถึงลานนม เพราะใต้ผิวหนังบริเวณนั้นเองที่มีกระเปาะน้ำนม เมื่อลูกดูดถึงบริเวณนั้นจึงทำให้น้ำนมไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
หัวนมมีปัญหา 1. หัวนมสั้น ในที่นี้ต้องหมายความว่าสั้นมากกว่า 0.5 เซนติเมตร (นับจากยอดหัวนมถึงลานนม) จึงจะเรียกว่าสั้น ซึ่งลูกสามารถดูดได้สบายเพียงให้ลูกอมหัวนมแม่ให้ถึงลานนมเท่านั้น แต่ถ้าสั้นมากจริงๆ อาจจะใช้อุปกรณ์ดึงหัวนมได้ (nipple puller) แต่ก่อนใช้ควรปรึกษาคุณหมอ หรือคลินิกนมแม่ก่อน เพราะการกระตุ้นหัวนมขณะตั้งครรภ์จะมีผลต่อการบีบรัดตัวของมดลูก 2. หัวนมบุ๋ม ถ้าคุณแม่ลองกดเนื้อเต้านมระหว่างหัวนม แล้วมีหัวนมยื่นออกมา ลูกก็ยังสามารถดูดนมแม่ได้อยู่เช่นกัน |
หัวนมสั้น |
4. หัวนมใหญ่ คุณแม่หลายท่านอาจจะกังวลว่า ลูกจะอ้าปากอมได้ไม่หมด ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะเมื่อหัวนมเข้าไปในปากแล้วจะลู่ไปตามรูปปากของลูกเอง
5. หัวนมยาว แก้ไขได้ด้วยท่าทางการให้นมลูก เช่น การนอนให้นม หรืออุ้มลูกไปด้านหลังประคองศีรษะลูกเอาไว้ (ท่าอุ้มลูกบอล)
6. ลานนมแข็ง เป็นเรื่องจำเป็นต้องแก้ไข เพราะลูกจำเป็นต้องอมให้ถึงลานนม คุณแม่จะสังเกตลานนมตัวเองว่าแข็งหรือไม่ โดยการดึงลานนมส่วนนั้นขึ้นมา ถ้ามีความยืดหยุ่นดีก็ปกติ แต่ถ้าดึงขึ้นมาแล้วตึงหรือแข็งจะเป็นสาเหตุให้ลูกดูดนมได้ยาก ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ปทุมแก้วเข้าช่วย จะทำให้ผิวบริเวณลานนมนุ่มลง หรือขอคำแนะนำจากคลินิกนมแม่ หรือผู้เชี่ยวชาญ
หัวนมใหญ่
ลานนม
ความกว้างลานนมของแต่คนไม่เท่ากัน อาจจะสงสัยว่าควรให้ลูกอมเข้าไปลึกเท่าใดมีวิธีง่ายๆ โดยการใช้ 2 นิ้ว (นิ้วชี้และนิ้วกลางวางติดกัน) วางทาบไปที่ลานนม (ให้หัวนมเป็นฐาน) หรือประมาณ 3 เซนติเมตร นั่นแหละค่ะเป็นระยะที่ประมาณว่าลูกควรจะอมถึง ถ้าลานนมใครกว้างกว่าระยะ 3 เซนติเมตรมือนี้ ถ้าใครลานนมกว้าง ลูกควรอมเกือบมิดลานนมเกือบมิด แต่ถ้าลานนมใครแคบ คุณแม่ต้องมองไม่เห็นลานนมตัวเองเมื่อลูกดูดนมแม่
หัวนมบุ๋ม
อัพเดทโดย htt://www.pooyingnaka.com
Tips ให้นมลูก
1. เขี่ยริมฝีปากลูก เพื่อให้ลูกอ้าปากให้กว้างที่สุดพอที่จะงับเข้าไปถึงลานนมได้
2. เลือกท่าการให้นมที่สบายทั้งแม่และลูก ที่สำคัญปากลูกต้องตรงกับตำแหน่งหัวนมแม่ โดยการใช้หมอนวางที่ตักคุณแม่ เพื่อปรับระดับลูกกับหัวนมแม่ให้ตรงกัน
3. ใช้มืออีกข้างที่ไม่ได้อุ้มลูกคอยประคองเต้านม โดยที่นิ้วมือต้องไม่ไปใกล้ริมฝีปากและคางของลูก เพราะจากทำให้ลูกขยับปากดูดนมแม่ให้สะดวก
4. ไม่ต้องให้ลูกทำความรู้จักกับหัวนมยางเลยในช่วง 6 สัปดาห์แรก เพื่อให้แม่ลูกได้เรียนรู้กัน และให้ร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมได้เต็มที่ ให้นมแม่ล้วนด้วยเต้านมคุณแม่เองดีที่สุด
5. ควรให้ดูดนมแม่ทั้งกลางวันและกลางคืน คุณแม่บางท่านอาจจะไม่ค่อยให้ลูกดูดในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนในการสร้างน้ำนมทำงานได้ดี ฉะนั้นเวลากลางคืนคุณแม่ไม่ควรงดให้ลูกดูดนมแม่
6. ถ้าคุณมีข้อสงสัย มีปัญหา ควรเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ สอบถามคุณหมอ หรือไปที่คลินิกนมแม่ เพื่อรับการแก้ไข
ขอขอบคุณ
- คลินิกนมแม่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
โทร. 02-354-8350, 02-354-8945
โทรปรึกษา เวลา 8.00 - 18.00 น. วันจันทร์ - เสาร์
คลินิก เวลา 8.00 - 16.00 น. วันจันทร์ - ศุกร์ (ขอคำปรึกษาที่คลินิกโทรนัดล่วงหน้า)
- คลินิกส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราช
โทร. 02-419-7000 ต่อ 5994,5995
โทรปรึกษาและคลินิก เวลา 8.00 - 16.00 น. วันจันทร์ - ศุกร์ (ขอคำปรึกษาที่คลินิกโทรนัดล่วงหน้า)