เทคนิคง่ายๆเพื่อลดน้ำหนักให้ได้ผล
1. ไม่ควรรับประทานของหวานในมื้อกลางวันและมื้อเย็น และไม่ควรรับประทานอาหารหลังเวลา 18.00 น.
2. ดื่มน้ำเปล่ามากๆและดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนรับประทานอาหารแต่ละมื้อ จะทำให้คุณรับประทานอาหารได้น้อยลง
3. หมั่นชั่งน้ำหนักเพื่อสำรวจดูว่า น้ำหนักขึ้นหรือลด
4. ก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยางไฟเบอร์แคปซูล จะทำให้หิวน้อยลง
5. เสิร์ฟอาหารในจานเล็กลง เพื่อลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ
6. ค่อยๆลดปริมาณอาหารลงทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาปรับตัว
7. ระหว่างดูทีวี หากติดนิสัยชอบรับประทานจุบจิบ ควรเตรียมผักและผลไม้สดไว้เสมอ รวมทั้งน้ำผักผลไม้สด
8. อย่าเก็บขนมหวานไว้ใกล้ตา และควรกำจัดอาหารเพิ่มน้ำหนัก เช่น น้ำอัดลม ชอกโกแลต และใส่ผักผลไม้แทน
9. ลงรถเมล์ก่อนถึงที่หมายซักหนึ่งป้าย จะได้เดินออกกำลังกายไปในตัว
10. ใช้บันไดแทนลิฟท์ ในกรณีที่เดินขึ้นลงเพียงไม่กี่ชั้น
11. ปรุงอาหารด้วยวิธีไม่ใช้น้ำมัน อย่าง นึ่ง ย่าง ต้ม
12. เมื่อออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน พยายามใส่กระโปรงหรือกางเกงคับๆจะได้รับประทานได้น้อยลง
13. การที่เรารู้สึกไม่ค่อยหิวในช่วงตื่นนอนใหม่ๆเป็นเรื่องปกติ ลองตื่นแต่เช้า ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย แล้วค่อยมาอาบน้ำและเติมพลังโดยการรับประทานอาหารเช้าเบาๆ การรับประทานอาหารมื้อเช้าจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า และไม่รู้สึกหิวมากในเวลามื้อกลางวัน
14. พยายามตั้งเป้าหมายอย่างเป็นจริงและชัดเจน เพราะหากตั้งเป้าหมายสูงเกินไป อาจท้อใจและล้มเลิกการควบคุมอาหารได้ง่ายๆ เช่น อาจตั้งเป้าที่จะลดน้ำหนักให้ได้ 1 ก.ก. ในหนึ่งสัปดาห์
15. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา จะได้ไม่รุ้สึกหิวมากระหว่างมื้ออาหารและลดการกินจุบจิบลง
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก
1. อดอาหารเช้าทำให้อ้วนจริงหรือ
จริง เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ในตับจะเหลือน้ำตาลประมาณ 200 กรัม และอีก 200 กรัมในกล้ามเนื้อ หากเราไม่รับประทานอะไรเลย พลังงานที่ร่างกายใช้ตลอดในช่วงเช้าจะได้มาจากการเผาผลาญน้ำตาลส่วนนี้ พอประมาณ 11.00 น. พลังงานที่เก็บสะสมไว้ก็จะหมดลง เราจะเริ่มรู้สึกอ่อนล้า ไม่กระฉับกระเฉง ร่างกายก็จะไปดึงพลังงานสะสมในกล้ามเนื้อมาใช้ ทำให้ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น เพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไป
2. เราต้องใช้พลังงาน แม้ไม่ได้ทำอะไรเลย
จริง 70% ของอาหารที่เรารับประทานจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆของร่างกาย รวมทั้งให้ความอบอุ่น แม้แต่การกระดิกนิ้วหรือกระพริบตาก็ต้องใช้พลังงาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราเรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึม
3. คนส่วนใหญ่มักกลับมาอ้วนเหมือนเดิมหลังการลดน้ำหนัก
จริง เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักกลับมามีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารเช่นเดิมหลังลดน้ำหนัก หรืออาจรับประทานเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยนสุขนิสัยในการรับประทานอาหารในระยะยาว เช่น รับประทานผักผลไม้แทนของหวานจนเป็นนิสัย
4. ออกกำลังกายทำให้น้ำหนักลดจริงหรือ
ไม่เสมอไป ร่างกายจะเริ่มเผาผลาญไขมันหลังจากที่ออกกำลังกายอย่างหนักไม่ต่ำกว่า 45 นาที จากการคำนวณพบว่าต้องเดิน 96 ชั่วโมง 37 นาที ด้วยความเร็ว 5 กม./ชม. เพื่อที่จะกำจัดไขมันเพียง 1 ก.ก. ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งออกกำลังกายมากก็จะรู้สึกหิวมากขึ้นด้วย เพราะร่างกายต้องการพลังงานมาทดแทนส่วนที่ใช้ไประหว่างออกกำลัง เป็นที่รู้กันดีว่า คนที่ไม่ออกกำลังกายนั้นจะก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย การออกกำลังกายตามปกติและระดับปานกลางเป็นสิ่งจำเป็นในการลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยให้โครงสร้างร่างกายสมส่วนมากขึ้น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ และร่างกายจะเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าการเผาผลาญพลังงานดีขึ้น และช่วยขจัดพลังงานส่วนเกิน
5. ปลามีไขมันน้อยกว่าเนื้อจริงหรือ
ไม่เสมอไป ปลาบางชนิด เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีนมีไขมันมากกว่าเนื้อวัว หรือเนื้อไก่เสียอีก ปลาแซลมอนที่เป็นปลาเลี้ยงนั้นมีไขมันอิ่มตัวพอๆกับสเต็กทีเดียว
6. ระหว่างควบคุมน้ำหนัก ต้องกินวิตามินเสริมจริงหรือ
จริง เพราะการควบคุมอาหารอาจทำให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ จึงควรต้องรับประทานอาหารเสริม
7. กินอาหารไม่ใส่เกลือทำให้ผอม
ผิด เพราะสิ่งที่ร่างกายขจัดออกมาพร้อมๆกับเกลือ คือน้ำไม่ใช่ไขมัน จึงไม่มีเหตุผลที่จะเลิกบริโภคเกลือ แต่ต้องไม่บริโภคมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ เนื่องจากร่างกายต้องขับเกลือทางปัสสาวะ
8. นมพร่อมไขมันมีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่านมปกติ
ผิด ในกระบวนการขจัดไขมันออกจากนมนั้น แคลเซียมไม่ได้สลายไปแต่อย่างใด แต่อาจสูญเสียวิตามินเอและดี ซึ่งจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้น้อยลง
ขอบคุณข้อมูล
Madame Figaro