ศิราณี หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นที่ปรึกษาปัญหาหัวใจนั้น นับว่ามีความสำคัญต่อชีวิตสาวๆ หรือไม่ว่าใครต่อใครก็ต้องเคยพึ่งพา หรือตกที่นั่งเป็นศิราณี อย่างน้อยก็สักครั้งในชีวิต และบางครั้ง "ศิราณี" จำเป็นก็อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนเผลอทำร้ายจิตใจเพื่อนได้ง่ายๆ เหมือนกัน
มาลองดูกันค่ะว่า ศิราณีที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เมื่อถึงคราวต้องรับบทที่ปรึกษา จะได้ทำหน้าที่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
1. เป็นกระจกสะท้อนปัญหา
พยายามป้อนคำถามให้เธอ อาศัยช่วงเวลาที่เล่าปัญหาให้เราฟัง เป็นการคิดทบทวนไปในตัวด้วย เพื่อช่วยขุดไปจนเจอต้นตอของปัญหา และยังทำให้เธอเข้าใจความรู้สึกตัวเอง จนมองเห็น ทางออกได้ในที่สุด
2. ให้ทางเลือก ไม่ใช่ให้คำตอบ
อย่าตัดสินใจแทนเพื่อน เพราะถึงอย่างไร เธอย่อมรู้ตื้นลึกหนาบางดีกว่าคุณอยู่แล้ว แถมบางทียังเล่าไม่หมด เพื่อหวังให้เราเข้าข้างอีกต่างหาก ทางที่ดี คุณก็เพียงชี้ทางให้เพื่อนได้รู้ว่า พอมีตัวเลือกอะไรบ้าง เพราะเธอย่อมหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้อยู่แล้ว และในบางครา ทางออกที่ว่า ก็ไม่ได้อยู่ในตัวเลือกที่คุณเสนออีกต่างหาก
3. อย่าบังคับจิตใจ
อย่าบังคับจิตใจให้เธอทำตามเพราะเราหวังดี ถ้าไม่ทำจะงอน หรือคิดว่า ถ้าไม่เชื่อแล้วมาถามฉันทำไม (ถ้าคิดแบบนี้ให้กลับไปอ่านข้อ 1-2 ใหม่) เพราะจะกลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้เพื่อนเสียอีก แต่หากหวังดีจริงๆ ก็แค่อยู่เคียงข้าง คอยรับฟังเวลาที่เธอต้องการกำลังใจจะดีกว่า
4. ให้กำลังใจ อย่าซ้ำเติม
คุณเองก็คงเคยมีอาการ "เตือนแล้วไม่ฟัง" เหมือนกัน และเมื่อทำพลาด คุณก็คงเสียใจพออยู่แล้ว วินาทีนั้น คุณอยากได้ยินคำว่าอะไรล่ะ นั่นล่ะ คือสิ่งที่เพื่อนเองก็กำลังอยากได้ยินจากคุณ
5. ทำตัวเป็นกลาง
ตอนที่เพื่อนฟูมฟายก็ปลอบใจไปก่อน เมื่อเธอสงบแล้วค่อยชี้ให้เห็นจุดที่เธอผิดจริง แล้วค่อยลูบหลังว่า ถึงอย่างไรเราก็เข้าข้างเธออยู่ดี แต่เพราะรักก็ต้องบอกกันนะเพื่อนจ๋า
6. เก็บความลับไว้กับตัว
แม้คุณอยากระบายให้ใครสักคนฟังว่า เพื่อนของฉันช่างน่าสงสารอะไรอย่างนี้ ก็ช่วยเก็บไว้ในใจ เพราะถ้าเรื่องส่วนตัวนั้นห่วนมาหาเพื่อนสาวเมื่อไร ก็อาจต้องเคลียร์กันยาว
7. อย่าอินเกินไป
เพื่อนคงเหวอเหมือนกัน ถ้ากำลังบ่นเรื่องชีวิตรักอันแสนรันทดอยู่ดีๆ แม่ศิราณีกลับน้ำตาซึมเสียก่อน ประมาณว่าอินจัด แล้วถ้าอารมณ์อ่อนไหวขนาดนี้ จะมีสติให้คำปรึกษาเพื่อนได้อย่างไร
8. อย่าใส่สีตีไข่
ไม่ต้องไปย้ำว่า ที่เขาแอบไปเดินควงสาวอกตู้มคนนั้น ช่างหยามเกียรติลูกผู้หญิงสิ้นดี เธอช่างเป็น หญิงสาวผู้โชคร้ายอะไรขนาดนี้ ฟังแล้ว แทนที่ปัญหาจะคลี่คลาย กลับเป็นการทำเรื่องเล็กให้ดูเป็นเรื่องใหญ่โดยใช่เหตุ
9. อย่าขโมยซีน
เคยไหม เวลาที่เราเล่าปัญหาไปได้สักพัก แล้วก็มีเสียงแทรก "เหมือนกันเลย ชั้นก็เคยเจอ แบบนี้ๆๆๆ" คุณคงจะหมดอารมณ์น่าดู แทนที่จะได้ระบายความอึดอัด กลับต้องมานั่งฟังปัญหาของอีกฝ่ายเสียนี่ รู้แล้วก็อย่าทำเองเสียล่ะ
10. อย่ายุส่ง
"ผู้ชายแบบนี้เลิกไปเลย" ประโยคแบบนี้ฟังคุ้นๆ หรือเปล่าคะ แต่ลองคิดถึงในเวลาที่เพื่อนกลับไปคืนดี กับแฟนหนุ่ม และเล่าให้เขาฟังว่า ตอนที่มีปัญหากัน เธอได้ไปปรึกษาใครมาบ้าง คุรคงเข้าหน้าเขาไม่ ติดไปอีกนาน หรือถ้าเธอต้องเลิกกับแฟนเพราะคำยุของเรา แล้วต้องมานั่งเสียใจว่า เธอยังรักเขาอยู่
คุณก็คงไม่แฮปปี้เท่าไรหรอก
ไม่ว่าคุณจะหวังดีกับเพื่อนสักแค่ไหน แต่เธอก็ควรเป็นผู้ตัดสินใจในทางเลือกทางเดินของหัวใจด้วยตัวเอง และหากเพื่อนตัดสินใจผิดพลั้งไป เราก็เพียงคอยอยู่ข้างๆ เวลาเธอต้องการก็พอ
มาลองดูกันค่ะว่า ศิราณีที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เมื่อถึงคราวต้องรับบทที่ปรึกษา จะได้ทำหน้าที่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
1. เป็นกระจกสะท้อนปัญหา
พยายามป้อนคำถามให้เธอ อาศัยช่วงเวลาที่เล่าปัญหาให้เราฟัง เป็นการคิดทบทวนไปในตัวด้วย เพื่อช่วยขุดไปจนเจอต้นตอของปัญหา และยังทำให้เธอเข้าใจความรู้สึกตัวเอง จนมองเห็น ทางออกได้ในที่สุด
2. ให้ทางเลือก ไม่ใช่ให้คำตอบ
อย่าตัดสินใจแทนเพื่อน เพราะถึงอย่างไร เธอย่อมรู้ตื้นลึกหนาบางดีกว่าคุณอยู่แล้ว แถมบางทียังเล่าไม่หมด เพื่อหวังให้เราเข้าข้างอีกต่างหาก ทางที่ดี คุณก็เพียงชี้ทางให้เพื่อนได้รู้ว่า พอมีตัวเลือกอะไรบ้าง เพราะเธอย่อมหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้อยู่แล้ว และในบางครา ทางออกที่ว่า ก็ไม่ได้อยู่ในตัวเลือกที่คุณเสนออีกต่างหาก
3. อย่าบังคับจิตใจ
อย่าบังคับจิตใจให้เธอทำตามเพราะเราหวังดี ถ้าไม่ทำจะงอน หรือคิดว่า ถ้าไม่เชื่อแล้วมาถามฉันทำไม (ถ้าคิดแบบนี้ให้กลับไปอ่านข้อ 1-2 ใหม่) เพราะจะกลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้เพื่อนเสียอีก แต่หากหวังดีจริงๆ ก็แค่อยู่เคียงข้าง คอยรับฟังเวลาที่เธอต้องการกำลังใจจะดีกว่า
4. ให้กำลังใจ อย่าซ้ำเติม
คุณเองก็คงเคยมีอาการ "เตือนแล้วไม่ฟัง" เหมือนกัน และเมื่อทำพลาด คุณก็คงเสียใจพออยู่แล้ว วินาทีนั้น คุณอยากได้ยินคำว่าอะไรล่ะ นั่นล่ะ คือสิ่งที่เพื่อนเองก็กำลังอยากได้ยินจากคุณ
5. ทำตัวเป็นกลาง
ตอนที่เพื่อนฟูมฟายก็ปลอบใจไปก่อน เมื่อเธอสงบแล้วค่อยชี้ให้เห็นจุดที่เธอผิดจริง แล้วค่อยลูบหลังว่า ถึงอย่างไรเราก็เข้าข้างเธออยู่ดี แต่เพราะรักก็ต้องบอกกันนะเพื่อนจ๋า
6. เก็บความลับไว้กับตัว
แม้คุณอยากระบายให้ใครสักคนฟังว่า เพื่อนของฉันช่างน่าสงสารอะไรอย่างนี้ ก็ช่วยเก็บไว้ในใจ เพราะถ้าเรื่องส่วนตัวนั้นห่วนมาหาเพื่อนสาวเมื่อไร ก็อาจต้องเคลียร์กันยาว
7. อย่าอินเกินไป
เพื่อนคงเหวอเหมือนกัน ถ้ากำลังบ่นเรื่องชีวิตรักอันแสนรันทดอยู่ดีๆ แม่ศิราณีกลับน้ำตาซึมเสียก่อน ประมาณว่าอินจัด แล้วถ้าอารมณ์อ่อนไหวขนาดนี้ จะมีสติให้คำปรึกษาเพื่อนได้อย่างไร
8. อย่าใส่สีตีไข่
ไม่ต้องไปย้ำว่า ที่เขาแอบไปเดินควงสาวอกตู้มคนนั้น ช่างหยามเกียรติลูกผู้หญิงสิ้นดี เธอช่างเป็น หญิงสาวผู้โชคร้ายอะไรขนาดนี้ ฟังแล้ว แทนที่ปัญหาจะคลี่คลาย กลับเป็นการทำเรื่องเล็กให้ดูเป็นเรื่องใหญ่โดยใช่เหตุ
9. อย่าขโมยซีน
เคยไหม เวลาที่เราเล่าปัญหาไปได้สักพัก แล้วก็มีเสียงแทรก "เหมือนกันเลย ชั้นก็เคยเจอ แบบนี้ๆๆๆ" คุณคงจะหมดอารมณ์น่าดู แทนที่จะได้ระบายความอึดอัด กลับต้องมานั่งฟังปัญหาของอีกฝ่ายเสียนี่ รู้แล้วก็อย่าทำเองเสียล่ะ
10. อย่ายุส่ง
"ผู้ชายแบบนี้เลิกไปเลย" ประโยคแบบนี้ฟังคุ้นๆ หรือเปล่าคะ แต่ลองคิดถึงในเวลาที่เพื่อนกลับไปคืนดี กับแฟนหนุ่ม และเล่าให้เขาฟังว่า ตอนที่มีปัญหากัน เธอได้ไปปรึกษาใครมาบ้าง คุรคงเข้าหน้าเขาไม่ ติดไปอีกนาน หรือถ้าเธอต้องเลิกกับแฟนเพราะคำยุของเรา แล้วต้องมานั่งเสียใจว่า เธอยังรักเขาอยู่
คุณก็คงไม่แฮปปี้เท่าไรหรอก
ไม่ว่าคุณจะหวังดีกับเพื่อนสักแค่ไหน แต่เธอก็ควรเป็นผู้ตัดสินใจในทางเลือกทางเดินของหัวใจด้วยตัวเอง และหากเพื่อนตัดสินใจผิดพลั้งไป เราก็เพียงคอยอยู่ข้างๆ เวลาเธอต้องการก็พอ