ได้เวลา..ปรับนาฬิกาชีวิต


ตัวเรา = นาฬิกา
ไม่แปลกหรอกค่ะ หากใครจะมานอนอ่อนล้าบนเตียงแบบนี้ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตัวต้นเหตุก็คือเจ้า นาฬิกาในตัวเรานี่ล่ะ นาฬิกาทีไม่ได้มีกลไกเป็นฟันเฟืองเหมือนนาฬิกาที่แขวนตามผนังบ้าน แต่เป็นช่วงเวลาใน 1 วัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาในตอนเช้าและเดินอยู่ตลอดเวลา เราเรียกมันว่า นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ที่บอกเวลาไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเรา รวมทั้งควบคุมการทำงานของร่างกายอีกด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ จังหวะของเจ้านาฬิกาเรือนนี้แล้วละก็ เราก็สามารถรู้ได้ว่าช่วงเวลาใด เหมาะที่จะทำกิจกรรมอะไร

ทั้งนี้นาฬิกาชีวิตนี้คงไม่ตรงเผงเหมือนกับเข็มนาฬิกาที่เดินไปมา 24 ชั่วโมง แต่ก็มีความใกล้เคียงกันมาก และนักวิชาการได้ค้นพบว่าจังหวะ หรือวงจรที่ว่านี้มีรูปแบบที่แตกต่างกันมากกว่า 100 รูปแบบ

เดย์ไลฟ์ & ไนท์ไลฟ์
คุณอาจสงสัยว่า คนแต่ละคนจะมีจังหวะ หรือวงจรของนาฬิกาในร่างกายเหมือนกันหรือเปล่า คำตอบก็คือ แต่ละคนมีจังหวะการเดินของนาฬิกาที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากตารางชีวิตของแต่ละคน แต่ละอาชีพ แต่ละชาติ ล้วนเป็นตัวกำหนดการเดินของเข็มนาฬิกาในตัว แต่หลักๆ แล้ว เราสามารถแบ่งจังหวะออกได้เป็น 2 ช่วงคือ

มนุษย์ภาคเช้า (Morning Person)
คือผู้ที่โปรดปรานการตื่นมาสัมผัสอากาศในยามเช้า นาฬิกาชีวิตจะเริ่มต้นในช่วง 5.30 น.
5.30-6.30 น. เป็นช่วงเวลาสำหรับการตื่นนอน อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานทีละน้อย เป็นเวลาที่ร่างกาย ยังไม่มีสมาธิ ฉะนั้นไม่เหมาะกับการอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ใช้สมาธิโดยเด็ดขาด
6.00-8.00 น. ช่วงนี้สมองจะปลอดโปร่ง เริ่มลุยงาน หรืออ่านหนังสือได้เลย
8.00-12.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด รวมไปถึงระบบหัวใจและการ ไหลเวียนโลหิต แถมความคิดก็ยังคล่องแคล่ว เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องอาศัยการคิด และการ แก้ปัญหา
12.00-14.00 น. ร่างกายเริ่มทำงานช้าลง และไม่ค่อยมีสมาธิ
14.00 - 17.00 น. สมองกลับมาตื่นตัว จะรู้สึกกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว เหมาะที่จะทำกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และใช้ความจำ
17.00-20.00 น. เวลานี้สมองต้องการการกระตุ้น เพื่อสร้างความสดชื่น อาจออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือเล่นเกม เพื่อสร้างความ แข็งแรงให้กับสมอง
20.00-22.00 น. ช่วงนี้ขอให้หยุดพัก เพราะสมองจะเริ่มเชื่องช้า ไม่มีสมาธิ
22.00-04.00 น. เป็นเวลาที่เหมาะแก่การพักผ่อนเป็นที่สุด เพราะเซลล์ส่วนใหญ่เริ่มทำงานน้อยลง และ จะปล่อยให้ฮอร์โมนที่มีหน้าที่ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาทำงานแทน

มนุษย์ภาคค่ำ (Night Owl)
หรือทายาทนกฮูกที่นาฬิกาชีวิตจะเริ่มเดินประมาณ 8.00 น.
8.00 - 10.00 น. อวัยวะต่างๆ เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ควรทำงานที่ต้องใช้สมาธิมาก
10.00 - 12.00 น. สมองปลอดโปร่ง พร้อมลุยงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
12.00 - 13.00 น. เวลานี้เป็นช่วงที่ร่างกายมีประสิทธิภาพเต็มที่ ทั้งระบบหัวใจ และระบบไหลเวียน โลหิตทำงานอย่างดีเยี่ยม
13.00 - 15.00 น. เช่นเดียวกับมนุษย์ภาคเช้า ที่การทำงานของร่างกายค่อยๆ ลดประสิทธิภาพลง (ง่วงนอนตามระเบียบ)
15.00 - 18.00 น. ช่วงนี้ร่างกายและสมองต้องการการกระตุ้น เพื่อสร้างความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
18.00 - 23.00 น. ร่างกายตื่นตัวเต็มที่ ระบบการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนของโลหิตเริ่มกลับ มาทำงานดีเหมือนเดิม แบบนี้เขาเรียกว่ายิ่งดึกยิ่งคึก (ครื้น)
23.00 - 24.00 น. สมองจะเริ่มทำงานช้าลง เหมาะอย่างยิ่งที่จะกลับบ้าน อาบน้ำ เข้านอน

นาฬิกาพันธุกรรม
อยากรู้ไหมคะว่า ทำไมการเดินของนาฬิกาของบางคนถึงเดินได้ดีในช่วงเช้า แต่พอตกเย็นกลับล้าจนแทบ เดินไม่ไหว กับบางคนยิ่งตะวัน ตกดินยิ่งเดินไว แต่พอไก่ขันกลับอยากเอาหน้าซุกลงกับหมอนซะอย่างนั้น

มีแพทย์และนักวิจัยจาก Stanford และ Wisconsin University ได้ร่วมกันทำวิจัยเพื่อหาสาเหตุว่า ทำไมคนแต่ละคนถึงมีเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งหลังจากทำการสำรวจจากผู้เข้าร่วม กว่า 400 คน โดยนำข้อมูลและยีนของแต่ละคนมาทำการวิจัยแล้ว พบว่ามียีนที่ชื่อ Clock Gene หรือนาฬิกา พันธุกรรม ซึ่งเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของการเดินของนาฬิกาชีวิตของแต่ละบุคคล

ถึงแม้จะมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่การเดินของนาฬิกาต่ออวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายของเราใน แต่ละช่วงเวลานั้นไม่เหมือนกัน เช่น คนทั่วไปอาจจะมีไอเดียบรรเจิดในช่วงเช้า แต่บางคน จะเกิดไอเดียใน ช่วงเวลาใกล้ค่ำ

ซึ่งการที่เรารู้จังหวะการเดินของนาฬิกาชีวิตของตัวเองนั้น จะทำให้ รู้ว่าศักยภาพของเรานั้นสามารถนำ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงเวลาใด แล้วยังได้รู้อีกว่าควรที่จะพักผ่อน และดูแลสุขภาพของตัวเอง อย่างไรด้วย

ที่สำคัญอย่าลืมติดเบรกให้กับนาฬิกาของตัวเอง เพราะขนาด นาฬิกาแท้ๆ ยังต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ตลอด ชีวิตการใช้งาน ไม่ต่างกัน

In the know!
- ตี 3 - 5 เป็นช่วงเวลาที่ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศ และรับแสงแดด ยามเช้า เพราะจะช่วยให้ปอดและผิว พรรณดี
- สาเหตุหนึ่งที่เรียกว่านาฬิกาชีวิต ก็เพราะการไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้น จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผ่านทั้งหมด 12 อวัยวะ ซึ่งรวมทั้งหมดเป็น 24 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1 วันนั่น เอง


Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Quiz


Advertisement