คำว่า ไซนัส ไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นชื่อของ ช่องว่างหรือโพรงอากาศของกระดูกใบหน้าบริเวณโหนกแก้มรอบโพรงจมูก, รอบตาและฐานของกระโหลกศีรษะ ถึงแม้ว่าโพรงอากาศนี้จะเป็นที่ว่างเปล่า แต่ภายในโพรงนี้จะบุด้วยเยื่อเมือกบาง ๆ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูก และเจ้าตัวไซนัสนี้ไม่ใช่ช่องว่างที่ไม่มีประโยชน์ เรายังเชื่อกันว่าโพรงไซนัส มีประโยชน์คือ เป็นตัวทำให้เสียงพูดของคนเรามีความก้องกังวาน ไพเราะมากขึ้น และเป็นตัวช่วยปรับสภาพของอากาศที่หายใจเข้าไป ให้มีสภาพความชื้น, อุณหภูมิ และความบริสุทธิ์ ที่เหมาะสมกับร่างกายของเราและเนื่องจากโพรงไซนัสเป็นช่องว่าง ดังนั้น มันจึงเปรียบเหมือนกับ โช๊คอัพช่วยลดแรงกระแทกต่าง ๆ ที่จะเข้าไปทำความกระทบกระเทือนกับสมองส่วนในได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์บางท่านไม่เชื่อในความจริงเหล่านี้ กลับให้ความเห็นว่าโพรงไซนัสนี้ไม่มีประโยชน์กับร่างกายของมนุษย์เลย แล้วตัวท่านจะเลือกเชื่ออย่างไรดี
ไซนัสผิดปกติเป็นอย่างไร
ไซนัสที่ผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในโพรงไซนัส ซึ่งกลุ่มนี้จะพบได้น้อย ส่วนกลุ่มใหญ่ที่พบได้บ่อยในคนทั่ว ๆ ไป คือ โรคไซนัสอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ในโพรงไซนัส เป็นที่ทราบกันแล้วว่า โพรงไซนัส คือช่องว่างที่มีเยื่อเมือกบาง ๆ บุอยู่ ช่องเหล่านี้จะมีรูเปิดเล็ก ๆ เชื่อมต่อกับโพรงจมูก ทำให้อากาศภายนอกสามารถไหลเวียนกันระหว่างโพรงจมูกและโพรงไซนัสได้ เนื่องจากว่ารูเปิดของไซนัสมีขนาดเล็กมาก ถ้ามีอะไรมาทำให้รูเปิดนี้แคบลงหรืออุดตัน เช่นในภาวะที่เป็นหวัด ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทันที เพราะเมื่อรูเปิดนี้อุดตัน ก็จะทำให้อากาศที่เคยไหลเวียนอยู่เกิดการหยุดนิ่ง อ๊อกซิเจนในอากาศจะถูกดูดซึมไป ทำให้ความดันอากาศในโพรงไซนัสเกิดเป็นลบ มีผลทำให้เยื่อบุไซนัสเกิดการบวม และมีการคั่งของน้ำเมือกในโพรงไซนัส ทำให้เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด เกิดการเจริญเติบโตขึ้นในโพรงไซนัส ซึ่งก็จะทำให้เกิดการอักเสบ และมีหนองคั่งในโพรงไซนัสขึ้น แต่ภาวะไซนัสอักเสบนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่เป็นหวัดทุกคนไป ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าถ้าเป็นหวัดแล้ว จะเกิดความรุนแรงจนถึงขั้นเป็นไซนัสอักเสบตามมาเสมอ
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ มักจะมีอาการของโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้นำมาก่อน กล่าวคือ จะมีน้ำมูก, คัดจมูก และอาการไอ อาการตามมาที่บ่งชี้ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบจะมีดังนี้ คือ
1.ปวดศีรษะ หลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัดแล้ว จะมีอาการ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ เช่น ปวดแก้ม, ปวดบริเวณหัวตาทั้งสองข้าง, ปวดบริเวณหน้าผาก หรืออาการปวดในกระบอกตาทั้งสองข้างอาการปวดเหล่านี้ จะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ บางครั้งจะมีอาการ มึนศีรษ
2.คัดจมูกแน่นจมูก ผู้ป่วยจะเป็นตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะทานยารักษาโรคหวัดแล้วก็ตามอาการนี้จะยังไม่หายไป บางครั้งคัดจมูกมาก จนต้องหายใจทางปาก
3.มีไข้ ผู้ป่วยบางรายจะมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไข้สูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะและปวดหน้าร่วมด้วย
4.อาการไอ มีผู้ป่วยบางส่วนมักมีอาการที่กล่าะร่วมกับอาการปวด และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มศีรษะลง วมาไม่มากนัก แต่จะมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งอาการหวัดหายไปแต่ยังมีอาการไออยู่ และเป็นอาการไอแบบมีเสมหะขันร่วมด้วย
5.ในผู้ป่วยเด็ก มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาการที่น่าคิดถึงไซนัสอักเสบในเด็ก คืออาการหวัดเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆ, อาการไออย่างรุนแรง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้เด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรังและหอบหืด ก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย เมื่อมีอาการที่กล่าวมาควรจะทำอย่างไร
ข้อควรปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบ หรือเพื่อให้หายจากโรคนี้โดยเร็ว ดังนี้
1.เมื่อรู้ตัวว่าเป็นหวัด ควรรีบรักษาให้หายโดยเร็ว
2.ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย ก็ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้, ใช้ยาระงับอาการแพ้อย่างต่อเนื่อง, ใช้วัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
3.ควรได้รับการตรวจโพรงจมูก โดยแพทย์ทางหู คอ จมูก ปีละครั้ง
4.ไม่ควรใช้ยาพ่นจมูกโดยมิได้ปรึกษาแพทย์
5.ควรลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่, ว่ายน้ำบ่อยๆ, ดำน้ำ เป็นต้น
6.ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหวัด ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบิน หรือถ้าจำเป็นก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอใช้ยาพ่นจมูกร่วมกับยารับประทาน
7.ควรจัดสภาพที่อยู่อาศัยและที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ, ไม่ควรให้มีฝุ่นมาก, อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นต้น
ไซนัสผิดปกติเป็นอย่างไร
ไซนัสที่ผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในโพรงไซนัส ซึ่งกลุ่มนี้จะพบได้น้อย ส่วนกลุ่มใหญ่ที่พบได้บ่อยในคนทั่ว ๆ ไป คือ โรคไซนัสอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ในโพรงไซนัส เป็นที่ทราบกันแล้วว่า โพรงไซนัส คือช่องว่างที่มีเยื่อเมือกบาง ๆ บุอยู่ ช่องเหล่านี้จะมีรูเปิดเล็ก ๆ เชื่อมต่อกับโพรงจมูก ทำให้อากาศภายนอกสามารถไหลเวียนกันระหว่างโพรงจมูกและโพรงไซนัสได้ เนื่องจากว่ารูเปิดของไซนัสมีขนาดเล็กมาก ถ้ามีอะไรมาทำให้รูเปิดนี้แคบลงหรืออุดตัน เช่นในภาวะที่เป็นหวัด ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทันที เพราะเมื่อรูเปิดนี้อุดตัน ก็จะทำให้อากาศที่เคยไหลเวียนอยู่เกิดการหยุดนิ่ง อ๊อกซิเจนในอากาศจะถูกดูดซึมไป ทำให้ความดันอากาศในโพรงไซนัสเกิดเป็นลบ มีผลทำให้เยื่อบุไซนัสเกิดการบวม และมีการคั่งของน้ำเมือกในโพรงไซนัส ทำให้เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด เกิดการเจริญเติบโตขึ้นในโพรงไซนัส ซึ่งก็จะทำให้เกิดการอักเสบ และมีหนองคั่งในโพรงไซนัสขึ้น แต่ภาวะไซนัสอักเสบนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่เป็นหวัดทุกคนไป ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าถ้าเป็นหวัดแล้ว จะเกิดความรุนแรงจนถึงขั้นเป็นไซนัสอักเสบตามมาเสมอ
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ มักจะมีอาการของโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้นำมาก่อน กล่าวคือ จะมีน้ำมูก, คัดจมูก และอาการไอ อาการตามมาที่บ่งชี้ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบจะมีดังนี้ คือ
1.ปวดศีรษะ หลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัดแล้ว จะมีอาการ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ เช่น ปวดแก้ม, ปวดบริเวณหัวตาทั้งสองข้าง, ปวดบริเวณหน้าผาก หรืออาการปวดในกระบอกตาทั้งสองข้างอาการปวดเหล่านี้ จะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ บางครั้งจะมีอาการ มึนศีรษ
2.คัดจมูกแน่นจมูก ผู้ป่วยจะเป็นตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะทานยารักษาโรคหวัดแล้วก็ตามอาการนี้จะยังไม่หายไป บางครั้งคัดจมูกมาก จนต้องหายใจทางปาก
3.มีไข้ ผู้ป่วยบางรายจะมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไข้สูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะและปวดหน้าร่วมด้วย
4.อาการไอ มีผู้ป่วยบางส่วนมักมีอาการที่กล่าะร่วมกับอาการปวด และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มศีรษะลง วมาไม่มากนัก แต่จะมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งอาการหวัดหายไปแต่ยังมีอาการไออยู่ และเป็นอาการไอแบบมีเสมหะขันร่วมด้วย
5.ในผู้ป่วยเด็ก มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาการที่น่าคิดถึงไซนัสอักเสบในเด็ก คืออาการหวัดเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆ, อาการไออย่างรุนแรง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้เด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรังและหอบหืด ก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย เมื่อมีอาการที่กล่าวมาควรจะทำอย่างไร
ข้อควรปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดไซนัสอักเสบ หรือเพื่อให้หายจากโรคนี้โดยเร็ว ดังนี้
1.เมื่อรู้ตัวว่าเป็นหวัด ควรรีบรักษาให้หายโดยเร็ว
2.ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย ก็ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้, ใช้ยาระงับอาการแพ้อย่างต่อเนื่อง, ใช้วัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
3.ควรได้รับการตรวจโพรงจมูก โดยแพทย์ทางหู คอ จมูก ปีละครั้ง
4.ไม่ควรใช้ยาพ่นจมูกโดยมิได้ปรึกษาแพทย์
5.ควรลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่, ว่ายน้ำบ่อยๆ, ดำน้ำ เป็นต้น
6.ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหวัด ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบิน หรือถ้าจำเป็นก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอใช้ยาพ่นจมูกร่วมกับยารับประทาน
7.ควรจัดสภาพที่อยู่อาศัยและที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ, ไม่ควรให้มีฝุ่นมาก, อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นต้น