จัดการอย่างไรดีกับอาการ PMS


เป็นผู้หญิงควรเรียนรู้สิ่งต่างๆเกี่ยวกับตัวเองโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง ศึกษาไว้และจะได้นำไปบอกให้แฟนหนุ่มรับรู้ถึงเหตุผลต่างๆและสิ่งที่ผู้หญิงเป็น บางเรื่องผู้ชายไม่เข้าใจก็จะหงุดหงิดโวยวาย แต่ถ้าเขารู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ความสัมพันธ์ก็ดีขึ้นนะจ๊ะ

จัดการอย่างไรดีกับอาการ "PMS" = Premenstrual Syndrome หรือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

"อาการเต้านมคัด ท้องอืด ปวดท้องน้อย เป็นตะคริว ร้องไห้แบบควบคุมไม่ได้ ถ้าคุณเคยมีอาการ PMS พวกนี้ คุณคงรู้ดีว่าฝันร้าย ประจำเดือนมีอยู่จริง แต่มีหลายวิธีที่รักษาได้ผล (นอกจากการกินเนยถั่วปั่นหนึ่งแก้ว) ทำตามคู่มือพิชิตแต่ละอาการต่อไปนี้ คุณจะได้เลิกทรมานทุกเดือนซะที

ผู้หญิงที่โวยวายนานกว่า 15 นาทีเรื่องที่แฟนตัวเองถอดถุงเท้าไว้บนพื้นเกิดจากสาเหตุอะไร? ถ้าคุณตอบว่าเพราะเธอมีอาการ PMS แสดงว่าคุณคุ้นเคยกับอาการนี้มากกว่าที่นึก แม้จะมีการคุยกันเป็นเรื่องตลกกับอาการ PMS แต่ผู้หญิงหลายล้านคนที่ทรมานกับอาการนี้ทั้งกายและใจทุกเดือนไม่รู้สึกตลกไปด้วยแน่

อาการของ PMS
ถ้าใครเคยมีอาการเข้าข่ายแบบนี้ก่อนสัก 2 อาทิตย์หลังไข่ตก จะหายไปหลังจากประจำเดือนจะมาสัก 2-3 วัน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกัน 2-3 อาการก็ได้ ลองดูสิว่าคุณมีอาการใดบ้าง

อาการทางด้านอารมณ์:
หงุดหงิด ซึมเศร้า ความคิดสับสน ตัดสินใจไม่ค่อยได้ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หนักมากๆจะรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

อาการทางร่างกาย:
อยากกินอาหารมากขึ้น คลื่นไส้ กระหายน้ำ ท้องอืด เจ็บคัดเต้านม บวมน้ำ ปวดหลัง เมื่อยตัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

กลุ่มอาการ PMS อาจทำให้ผู้หญิงหลายคนมีปัญหาสุขภาพอื่นๆง่ายขึ้น  คนที่มีอาการ PMS เป็นประจำจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไมเกรน โรคลำไส้แปรปรวนและแม้แต่ติดเหล้ามากกว่าคนทั่วไป และเพราะอาการ PMS เป็นกลุ่มอาการที่หลายหลายซึ่งไม่จัดเป็นโรค การหาวิธีรักษาวิธีใดวิธีหนึ่งจึงทำได้ยาก ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเลยได้ข้อสรุปเป็นวิธีรักษาอย่างเจาะจง 8 วิธี ซึ่งคงช่วยให้คุณผ่านพ้นการมีประจำเดือนไปได้ด้วยดี
ที่

แก้ปัญหาอย่างไรดี?
จดบันทึก
แค่จดบันทึกอาการต่างๆไว้ในสมุดก็อาจช่วยให้ณรู้สึกดีขึ้นได้มาก คุณจะได้พิสูจน์ชัดเจนว่าสิ่งที่คุณกำลังเผชิญนั้นเป็นจริง ซึ่งทำให้คุณควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น แพทย์รายหนึ่งบอกว่า "คนไข้คนหนึ่งของผมหงุดหงิดมากที่เธอกลายเป็นคนขี้ลืมไปได้ ครั้งหนึ่งเธอลืมสมุดบันทึกที่กำลังเขียนอยู่ไว้ในตู้เย็นและหาไม่เจออยู่หลายชั่วโมง แต่หลังจากจดบันทึกอาการตางๆ เธอก็ดีใจมากที่ได้รู้ว่าอาการขี้ลืมเป็นผลจากการมีประจำเดือน ไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์"

ควรจดบันทึกอย่างน้อย 2 เดือนและสังเกตอาการที่คุณทรมานกับมันมากที่สุด ระบุวันที่ที่เกิดอาการแต่ละอย่างไว้ รวมทั้งความรุนแรงโดยใช้เลข 1-10 บอกระดับ (อย่าลืมบันทึกวันเริ่มต้นและวันหมดประจำเดือนไว้ด้วย) ผ่านไปสองเดือน รูปแบบของอาการน่าจะเห็นชัดพอควร ถ้าคุณเริ่มมีอาการเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องหลังช่วงตกไข่และหายไปภายในวันหรือสองวันหลังมีประจำเดือน คุณก็แน่ใจได้ว่านี่คืออาการ PMS ถ้าปัญหาเดิมยังเกิดขึ้นเรื่อยๆตลอดเดือน อาจเป็นปัญหาอื่น นำสมุดบันทึกให้แพทย์ดูด้วย แพทย์จะได้สามารถพุ่งความสนใจทำการวินิจฉัยที่ถูกต้องและหาวิธีรักษาได้

ออกกำลังกาย
แพทย์บอกว่าการออกกำลังกายช่วยบรรเทาอาการ PMS ได้ โดยเฉพาะกับรายที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าอย่างอ่อนๆในระยะสั้น การออกกำลังกายทำให้ร่างกายผลิตสารเอ็นโดฟิน ซึ่งทำให้คุณมีความสุขชั่วคราว ในระยะยาวการออกกำลังกายช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียด คอร์ติซอลอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งส่งผลดียั่งยืนต่ออารมณ์ นอกจากนี้งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีอาการ PMS น้อยกว่าและรุนแรงน้อยกว่าคนทั่วไป

แม้ว่าการออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำเวลามีอาการตะคริว แต่การออกกำลังกายเรียกเหงื่ออย่างน้อยอาทิตย์ละสามครั้ง และพยายามอย่าเลิกออกกำลังกายก่อนประจำเดือนจะมาซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายคุณต้องการความสดชื่น


กินคาร์โบไฮเดรตชนิดดี
การกินคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ซึ่งรวมทั้งขนมปังและช็อคโกแลตเป็นเรื่องปกติมากสำหรับคนที่มีอาการ PMS ซึ่งอาจเป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงไปตามธรรมชาติในช่วงก่อนมีประจำเดือนและกระตุ้นให้เกิดความหิวโหยรวมทั้งอาการหงุดหงิดและอ่อนเพลีย ดังนั้นการกินอย่างฉลาดอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น

ก่อนจะเอื้อมหยิบคุกกี้ออกจากโถ ลองลดความหิวด้วยผลไม้หรือของว่างมีประโยชน์เช่น ข้าวโพด แคร็กเกอร์โฮลวีตหรือถั่วต่างๆ เพราะคาร์โบไฮเดรตชนิดเหล่านี้ใช้เวลาย่อยนานกว่า จึงช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ (เลี่ยงการกินเกลือ เพราะจะยิ่งทำให้อาการท้องบวมรุนแรงขึ้น) เป้าหมายคือเพื่อเลี่ยงการกินน้ำตาลเช่นที่พบใน...(เติมอาหารขยะของโปรดของคุณลงไป) แน่นอนว่า อาหารพวกนี้จะทำให้คุณสดชื่นทันใจ แต่คุณจะอ่อนเพลียเร็วและหนักกว่าเดิม ลงเอยด้วยการขี้โมโหมากขึ้น เพลียมากขึ้น และวกว่าเดิม แต่คุณสามารถกินช็อกโกแลตได้นิดหน่อย ของหวานแสนอร่อยชนิดนี้มีแร่ธาตุทองแดง แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีความสามารถที่ทำให้คุณยิ้นได้ทุกครั้งที่กิน

กินแคลเซียมเสริม
ผู้หญิงบางคนที่มีอาการ PMS จะพร่องแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งอธิบายได้ว่าขณะที่ฮอร์โมนของคุณขึ้นและลงตามปกติ ระดับของแร่ธาตุก็แปรผันไปด้วย เมื่อแคลเซียมน้อยลง กล้ามเนื้อและเส้นประสาทอาจทำงานไม่ได้ตามปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณเจ็บปวดเนื้อตัวและหงุดหงิด แต่การกินแคลเซียมเสริมทุกวันสามารถบรรเทาความแปรปรวนได้ เลือกแคลเซียมเสริมที่มีปริมาณแคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวันตามที่แนะนำ และวิตามินดีเสริม 200-400 ยูนิต ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

บำบัดด้วยแสงไฟ
ดูเหมือนเป็นวิธีที่ง่ายเหลือเชื่อ แต่งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าแสงไฟสามารถทำให้อารมณ์ที่ขุ่นมัวสดใสขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการบำบัดด้วยแสงไฟสว่างจ้านานครึ่งชั่วโมง (จากกล่องไฟ) บรรเทาอาการซึมเศร้าได้  75% และลดอาการตึงเครียดไปกว่าครึ่ง อีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าการใส่หน้ากากพิเศษที่กะพริบไฟสีแดงนาน 10-30 นาทีทุกวันไม่เพียงลดความซึมเศร้าและความเครียดได้มาก แต่ยังบรรเทาความอ่อนเพลีย อาการท้องบวม เจ็บเต้านม และหงุดหงิดได้ภายใน 4 เดือน

มีอีกหลายทฤษฎีที่บอกเหตุผลว่าทำไมแสงไฟถึงใช้รักษาอาการซึมเศร้าที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน แนวคิดหนึ่งบอกว่าแสงไฟจ้าช่วยบควบคุมสารนำระบบประสาท เช่น serotenin, noradrenaline และ dopamine ซึ่งทุกตัวที่ว่ามานี้มักจะแปรปรวนเมื่อผู้หญิงมีอาการ PMS
กินยาคุมกำเนิด
แล้วอาการ PMS ที่ว่ามานี้ไม่ใช่อาการเดียวกับผลข้างเคียงของการกินยาคุมกำเนิดหรอกเหรอ? ใช่แล้ว เป็นอาการเดียวกัน แต่เราไม่ได้กำลังบอกว่าให้คุณกินยาคุมกำเนิดชนิดใดก็ได้ คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อจะกินยาคุมกำเนิด เช่น Yasmin นี้จะมี โปรเจสตินชนิดใหม่ที่ทำหน้าที่เหมือนสารขับปัสสาวะอ่อนๆ บรรเทาอาการหน้าอกบวม และเจ็บเต้านม และยังลดระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนที่สัมพันธ์กับอารมณ์หงุดหงิดง่ายด้วย


เมื่อไม่ใช่แค่อาการ PMS
PMS อาจเป็นความทุกข์ทรมานมาก แต่ส่วนมากแล้วเราจะสามารถรักษาอาการเหล่านั้นและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติดไ แต่มีผู้หญิงมากถึง 1 ใน 12 คนที่ทรมานมากจนไม่สามารถทำงาน เข้าสังคมหรือมีปัญหาความสัมพันธ์ส่วนตัวในช่วงหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน สำหรับผู้หญิงกลุ่มนี้ ที่ป่วยโรคที่เรียกกันว่า  Premenstrual Dysphoric Disorder วิธีเดียวที่จะบรรเทาอาการได้คือการกินยา ต้านอาการซึมเศร้าซึ่งยับยั้งการลดลงของสารเซโรโตนินโดยเฉพาะ แพทย์ไม่แน่ใจว่าอะไรคือสาเหตุของโรค PMDD แต่ทฤษฎีที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดคือสมองของผู้หญิงบางคนจะไวเป็นพิเศษต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ด็อคเตอร์เดลล์ ผู้เขียนร่วมในหนังสือ  The PMDD Phenomenon (Contemporary Books) บอกว่าเมื่อฮอร์โมนตัวนี้ลดลง การทำงานของสารเคมีเซโรโทนินในสมองก็ดูจะลดลงด้วย การกินยาต้านอาการซึมเศร้า จะทำให้สารเซโรโทนินในสมองเพิ่มขึ้น และบรรเทาอาการต่างๆได้มากที่สุด (อย่าลืมสอบถามข้อดีและข้อเสียของการกินยาต้านอาการซึมเศร้าด้วย)

ข้อสังเกตว่าเป็นโรคนี้คือคุณต้องมีอาการทางร่างกายบางอย่างร่วมกับอาการซึมเศร้ารุนแรง หงุดหงิดมาก เครียดมาก หรืออารมณ์แปรปรวนมาก รวมทั้งมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสี่อาการติดต่อกันหลายวันก่อนจะมีประจำเดือนคือ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำปกติ ขาดสมาธิ อ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ ความอยากอาหารบางประเภท นอนหลับมากหรือน้อยเกินไป และรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง แต่ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการไม่กี่อย่างก็ยัง้องเข้ารับการรักษา สิ่งสำคัญที่สุดคือรู้สึกได้ถึงความรุนแรงจริงๆที่จะทำได้คือจดบันทึกอาการนั่นเอง ถ้าอาการของคุณตรงตามที่ว่ามาให้ปรึกษา แพทย์คุณอาจรู้สึกดีขึ้นเร็วที่คิด

Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement