เรื่องที่ผู้หญิงควรรู้เกี่ยวกับประจำเดือน


การมีประจำเดือนที่ผู้หญิงหลายคนมักจะเรียกหรือรู้จักกันว่า "เมนส์" หรือ "ระดู" มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่ทำให้ผู้หญิงมีรูปร่างและมีกลิ่นตัวเฉพาะที่แตกต่างไปจากผู้ชาย ทั้งนี้เนื่องมาจากสารที่ร่างกายสร้างขึ้นในผู้หญิงแตกต่างจากในผู้ชาย สารดังกล่าวนี้ยังส่งผลทำให้เกิดประจำเดือนในผู้หญิงด้วยปกติเด็กผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 11 - 15 ปี ประจำเดือนก็คือสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้งานแล้ว และถูกขับออกมาในรูปของเลือด จึงเรียกว่า เลือดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละหนึ่งครั้งและไหลออกมาทางช่องคลอดซึ่งเป็นคนละช่องกันกับท่อปัสสาวะผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนทุก 28 วัน หรือคลาดเคลื่อนมากหรือน้อยกว่า 7 วัน และมักจะมีครั้งละ 3-7 วัน การมีประจำเดือนครั้งแรก นอกจากจะเป็นสัญญานบอกถึงการก้าวย่างเข้าสู่วัยสาวแล้ว ยังหมายถึงว่าผู้หญิงคนนั้นสามารถตั้งท้องหรือมีลูกได้ เมื่อได้รับเชื้ออสุจิหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วย

ประจำเดือนมาจากไหน ?

ประจำเดือนของผู้หญิงนั้น เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นวงจรในแต่ละ รอบเดือนรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งของผู้หญิงจะเกิดการตกไข่ขึ้น ไข่ที่โตเต็มที่จะตกจากรังไข่เข้าไปรอคอยพระเอกหรือตัวอสุจ ิอยู่ในส่วนปลายของท่อนำไข่ ซึ ่งเปรียบกับสะพานเชื่อมรัก ขณะเดียวกัน เปลือกไข่ที่เหลืออยู่ ก็จะทำการสร้างฮอร์โมนเพศที่เรียกว่า โปรเจสเตอโรน มาทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนานุ่ม มีเลือดมาเลี้ยงมาก เพื่อเตรียมตัวรับกับไข่ที่ถูกปฏิสนธิจากตัวอสุจิ ถ้ามีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจริง ตัวอ่อนก็จะเดินทางกลับเข้ามา ฝังตัวในโพรงมดลูก ในเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมเอาไว้ และทำการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า HCG ไปบำรุงเปลือกไข่ให้ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มากระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้เจริญต่อไป เพื่อเป็นแหล่งส่งอาหารต่อให้ทารกในครรภ์ ในกรณีนี้ก็จะไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกออกไปเป็นประจำเดือน ประจำเดือนที่เคยมาเป็นประจำ สม่ำเสมอ ก็จะขาดหายไป ไปตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือด หาระดับของฮอร์โมน HCG ก็จะได้ผลบวก คุณก็ตั้งครรภ์  แต่ถ้าไม่เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับตัวอสุจิขึ้น ไข่ใบน้อยที่รอรักอยู่ที่สะพานเชื่อมรัก ก็จะฝ่อไปภายใน 48 ชั่วโมง ไม่มีการสร้างฮอร์โมนไปประคับประคองเปลือกไข่ไว้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะมาบำรุงเยื่อบุโพรงมดลูกก็ไม่มี เยื่อบุโพรงมดลูกก็จึงหลุดลอกตัว ออกมาเป็นเลือดประจำเดือน

มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในร่างกาย กว่าจะมาเป็นประจำเดือน ?

สัปดาห์ที่ 1 ในแต่ละเดือนต่อมพิทูอินารี่ในสมองจะส่งสัญญาณไปยังรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) และ lutinizing hormone (LH) ซึ่งกระตุ้นให้ไข่ตกอย่างน้อยหนึ่งใบ เพื่อเติบโตเป็นไข่สุกต่อไป เมื่อไข่สุก มันจะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา ทำให้ผนังของมดลูกหนาขึ้น

สัปดาห์ที่ 2 การตกไข่ - เมื่อไข่สุกเต็มที่จะถูกปล่อยออกมาจากช่องว่างในรังไข่ไปยังปลายท่อรังไข่ข้างหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายท่อ และเริ่มเคลื่อนตัวไปยังมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วันผ ู้หญิงส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเมื่อไข่ตก แต่บางคนจะรู้สึกปวดท้องน้อยแปลบๆ ระยะนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดของเหลวออกมาทางช่องคลอด ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะถูกปล่อยออกมา เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงผนังมดลูก

สัปดาห์ที่ 3 หลังไข่ตก - ระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะสูงขึ้น ของเหลวที่ปล่อยออกมาทางช่องคลอดจะข้นขึ้นและน้อยลง (เกือบไม่มี) เมื่อสเปิร์มผสมกับไข่ระหว่างเคลื่อนไปที่ท่อรังไข่การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้น จากนั้นผนังมดลูกจะเตรียมพร้อมรองรับและบำรุงไข่ที่ได้รับการผสมนั้น ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมจากสเปิร์ม มันจะสลายและไหลออกมาทางช่องคลอด (ปกติจะเกิดก่อนการมีประจำเดือน) และช่องว่างในรังไข่จะเริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนน้อยลง ใช้เวลาประมาณ 12 วัน

สัปดาห์ที่ 4 (การเกิดประจำเดือน) เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง ผนังในมดลูกจะหยุดการหล่อเลี้ยงและลอกตัวออกมากลายเป็นประจำเดือนในที่สุด เมื่อเกิดประจำเดือนครั้งใหม่ วงจรทั้งหมดก็จะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง

ประจำเดือน…ใช่เลือดเสียหรือเปล่า ?

ผู้หญิงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว รังไข่ทั้งสองข้างที่ติดกับมดลูกจะเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน โดยปกติจะมีไข่ตกจากรังไข่เดือนละ 1 ฟองสลับกันเดือนละข้าง เมื่อไข่ตกจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ท่อนำไข่และไปฝังต ัวที่ผนังมดลูก ซึ่งจะมีลักษณะหนาขึ้นเพราะสะสมสารอาหารต่างๆ เอาไว้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หากไข่ไม่ได้ผสมกับเชื้ออสุจิ (ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์โดยมีการป้องกันการตั้งครรภ์) จะทำให้ผนังมดลูกนี้เกิดการหลุดลอกออกมาพร้อมกับไข่และจะมีเลือดปนออกมาด้วย เราเรียกว่า "ประจำเดือน" ประจำเดือนจึงไม่ใช่เลือดเสียที่ร่างกายขับถ่ายออกมาอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่มันกลับเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ระบบสืบพันธุ์ของเราทำงานเป็นปกติ รวมทั้งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้รู้ว่าเราไม่ได้ตั้งท้องด้วย

ประจำเดือนมาไม่ปกติ บางครั้งมาทุกเดือน บางครั้ง 2 เดือนครั้ง ถือว่าผิดปกติไหม?

ในบางเวลาผู้หญิงคนเดียวกัน อาจจะมีประจำเดือนที่เปลี่ยนไปบ้างก็ได้ เวลาหงุดหงิด เครียด พักผ่อนไม่พอ นอนไม่หลับ บางครั้งประจำเดือนอาจจะคลาดเคลื่อน หรือขาดหายไปได้ เพราะเมื่อเกิดความเครียด และนอนไม่หลับขึ้นมา การควบคุมการตกไข่จะไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่มีการตกไข่ หรือตกไข่ที่ไม่สมบูรณ์ออกมา ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ประจำเดือนอาจจะเลื่อนออกไปหรือไม่มาก็ได้ กรณีแบบนี้ถ้าไม่อยากจะให้เกิดขึ้นแล้ว ให้หมั่นรักษาสุขภาพประจำเดือนก็จะมาเป็นปกติเอง ไม่อย่างนั้น ไปหาคุณหมอ ให้ฮอร์โมนมาปรับความสมดุลเสียหน่อย ประจำเดือนก็มาเอง เพราะฉะนั้นคำว่า ประจำเดือน จึงไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาทุกเดือน บางคนทุก 2 เดือน บางคนทุก 20 วันก็มี แต่ถ้าคุณจะมีการตกไข่เป็นปกติแล้วละก็ ประจำเดือนคุณควรจะมาอย่างเร็ว 21 วันครั้ง และอย่างช้า 60 วันครั้ง ผิดไปจากนี้ถือว่าผิดปกติแล้ว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลรักษาเสีย

การนับรอบประจำเดือนทำยังไง? ต้องนับวันแรกของการมีประจำเดือนหรือนับวันสุดท้าย? แล้วจำเป็นต้องมีประจำเดือนตรงกันทุกเดือนไหม?

การที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนเป็นเรื่องที่ดีด้วยเหตุผลหลายอย่าง ประการแรก สะดวกต่อการเตรียมผ้าอนามัยพกพาติดตัวไปด้วยเวลาประจำเดือนใกล้มา จะได้ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนให้เสียอารมณ์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะจะได้ช่วยในการคำนวณเวลาไข่ตก (ซึ่งจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ง่าย หรืออาจช่วยในการวางแผนคุมกำเนิดและป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วย ) และรู้ว่าเมื่อไหร่ประจำเดือนครั้งต่อไปจะมา ทางที่ดีลองทำเครื่องหมาย "วันนั้นของเดือน" ไว้บนปฎิทินกันลืมไว้ด้วย ส่วนการนับรอบเดือนให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งนี้ไปจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งถัดไป จะกินเวลาอย่างเร็วก็ 25 วัน ส่วนอย่างช้าก็ 30 วัน รอบประจำเดือนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งความเครียด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง แม้แต่การใช้ยาคุมกำเนิด ก็มีผลทำให้รอบเดือนคลาดเคลื่อนได้

ส่วนระยะเวลาไข่ตกหมายถึงช่วงเวลาที่มดลูกจะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน และมักเกิดขึ้นกลางรอบเดือน คนส่วนมากไม่รู้เวลาไข่ตกของตัวเอง เลยไม่นิยมการคุมกำเนิดแบบนับวันปลอดภัย หรือที่เราเคยได้ยินว่า หน้าเจ็ดหลังเจ็ด  โดย

การนับวันปลอดภัย หน้าเจ็ดหลังเจ็ดทำอย่างไร ?

หน้าเจ็ดหมายถึง ก่อนหน้าที่จะมีประจำเดือน 7 วัน ส่วนหลังเจ็ด หมายถึง ระยะเวลาหลังมีประจำเดือน 7 วัน โดยจะนับวันแรกของการมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 นั่นหมายความว่าถ้าเป็นประจำเดือนนาน 5 วัน คุณก็จะเหลือวันปลอดภัยอยู่เพียง 2 วัน และถ้าเป็นประจำเดือน นาน7วัน นั่นก็แสดงว่าคุณไม่เหลือวันปลอดภัย เลย และมักจะมีหลายคนเข้าใจผิดในการนับวันปลอดภัย บางคนเข้าใจว่าระยะ หลังเจ็ด หมายถึง หลังจากมีประจำเดือนแล้วนับไปอีก 7 วัน ซึ่งถ้านับแบบนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เพราะมันจะตรงกับวันไข่ตกในรอบเดือนถัดไป นั่นคือวันที่ 14 ของรอบเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า การนับวันปลอดภัย หน้าเจ็ดหลังเจ็ดจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นะคะ ขนาดบางคนมีเพศสัมพันธ์ในวันนั้นของเดือน ยังเคยตั้งครรภ์เลยค่ะ วิธีที่ดีที่สุด สวมถุงยางอนามัยดีกว่าค่ะ ป้องกันการตั้งครรภ์ได้แถมยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย

ทำไมต้องหงุดหงิด หรือสิวขึ้นมากทุกครั้งที่มีประจำเดือน

เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า "อาการก่อนมีประจำเดือน" ซึ่งมีมากมายหลายแบบ บางคนไม่เป็นอะไรเลย ขณะที่บางคนปวดท้อง บางคนรู้สึกระคายเคืองช่องคลอด อาจมีอาการ หดหู่ เครียด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ อ่อนเพลียและปวดหัว เจ็บหน้าอก หน้าอกจะเต่งขึ้นและรู้สึกเจ็บ (คัดหน้าอก) ปวดหัว ปวดหลัง บางคนมีสิวผุดขึ้นตามใบหน้า การเกิดอาการเหล่านี้ไม่มีสาเหตุทางชีวภาพที่แน่นอนแต่ที่แน่ๆคือ ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนจะลดลงต่ำสุด ควรจำกัดการบริโภคเกลือ น้ำตาล คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดการบวมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากโซเดียมในเกลือทำให้เกิดน้ำขัง โดยเฉพาะที่ท้องและหน้าอก ควรกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่เน้นผัก ผลไม้ และคาร์โบไฮเดรต  วิตามินบีและแคลเซียมช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะบรรเทาอาการดังกล่าวได้


อาการปวดประจำเดือนเกิดจากความผิดปกติในร่างกายหรือไม่ และทำอย่างไรเมื่อปวดประจำเดือน ?

อาการปวดประจำเดือนโดยทั่วไป เกิดขึ้นเนื่องจากผนังมดลูกมีการสร้างสารชนิดที่เรียก ว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เป็นชื่อของสารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และเป็นสารชนิดเดียวกับที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูกด้วย เมื่อสารนี้หลั่งออกมามากขึ้น หรือมีความไวต่อสารตัวนี้ เพิ่มขึ้น ทำให้มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและมดลูกหดตัวแรงขึ้น อันเป็นสาเหตุของ อาการปวดประจำเดือน นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดหดตัวในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีก เช่น ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน ร่วมกับอาการปวดประจำเดือน  สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา การหดตัวนี้มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง บางครั้งอาจปวดเลยไปถึงบริเวณหลัง เป็นสาเหตุให้ปวดหลังด้วย ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารโพรสทาแกลนดีนได้ ดังนั้นจึงควรออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟินออกมา เป็นการระงับการปวดตามธรรมชาติ ทำใจให้สบาย และหายใจลึกๆยังมีวิธีธรรมชาติอื่นๆที่ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ได้ผลเฉพาะบางคนเท่านั้น คือ จิบชาสมุนไพรร้อนๆ กินวิตามินซี แคลเซียม และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส การอาบน้ำอุ่นหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณท้องน้อยก็ช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน หากปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาที่มีฤทธิ์ ยับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นสารที่เป็นสาเหตุสำคัญของการปวดประจำเดือน ได้แก่ กลุ่มยาต้านอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์  ส่วนในตำรับยาแผนโบราณให้รับประทานตังกุย หรือใช้ดอกคำฝอยชงดื่มเป็นยาบำรุง โลหิตประจำเดือน และบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เวลาเกิดอาการต่างๆก่อนมีประจำเดือน ต้องรู้จักดูแลตัวเอง ลองใช้วิธีรักษาหลายๆวิธี สังเกตดูว่าวิธีไหนใช้ได้ผล อาการปวดประจำเดือนจะรุนแรงในวันแรกของการมีประจำเดือน แล้วค่อย ๆ ลดลงแต่ก็มีสตรีบางคนอาจจะมีอาการปวดตลอดระยะเวลาของการมีประจำเดือน ถ้าหลังมีประจำเดือนแล้วอาการต่างๆยังไม่ทุเลาลง แต่กลับเป็นหนักขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ


Tag :




แสดงความคิดเห็น






Insurance


Advertisement