ต้นเดือนพฤศจิกายน กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่า ถนนพระราม 4 พระราม 6 ธนบุรี ดินแดง และลาดพร้าวบางส่วน มีปริมาณฝุ่นละเอียดขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนเพิ่มมากขึ้น
ฝุ่นเล็กกว่า 10 ไมครอน...เล็กขนาดไหน? ให้เทียบกับเส้นผม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 ไมครอน...ใหญ่กว่าฝุ่น 20 เท่า
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย บอกว่า ฝุ่นละเอียดเพิ่มขึ้น โรคภูมิแพ้ในเด็กก็จะเพิ่มขึ้น
สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด จะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ ทำให้เด็กเป็นโรคหอบหืด คัดจมูก ถ้าไปเกาะอยู่ในปอดจะทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศเสีย สะสมนานๆ มากๆเข้าจนเรื้อรังก็แย่
เด็กเป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคจากเชื้อโรค สังเกตง่ายๆ...ถ้าเป็นจากเชื้อโรคจะมีไข้ เป็นแล้วหาย...หายแล้วเป็นใหม่ แต่ถ้าเป็นภูมิแพ้จะเป็นตลอด
ปอดเปรียบได้กับหม้อกรองอากาศรถยนต์ แต่ร่างกายพิเศษกว่า มีเม็ดเลือดขาวกำจัดสิ่งแปลกปลอม ถ้ามีไม่มากก็จำกัดได้หมด
ปอดเด็กต่างกับปอดผู้ใหญ่ นอกจากภูมิคุ้มกันเด็กจะสู้ผู้ใหญ่ไม่ได้... หลอดลมเด็กก็เล็กกว่า สมมติว่า เด็กติดเชื้อไวรัส จะมีอาการหอบได้ง่าย เสมหะออกมาเยอะ หลอดลมเล็ก...ตันง่าย ต่างกับผู้ใหญ่หลอดลมใหญ่ มีเสมหะมากก็ยังระบายได้ดี
เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เป็นช่วงวัยที่น่าสนใจ ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อบางอย่างสร้างได้ไม่ค่อยดี พ่อแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้ว เชื้อที่พบคือไวรัส มีคุณสมบัติทนความเย็น ไม่ทนความร้อน ถ้าอยู่ในตู้เย็นเข้าช่องแช่แข็งจะอยู่ได้นานเป็นสิบปี
คุณหมอสมศักดิ์ บอกว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ที่เป็นบ่อยในช่วงนี้ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโรตา เด็กทุกคนต้องเคยเป็นอย่างน้อย 1 ครั้งใน 2 ปี...
แต่จะมีเด็กถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เป็น 5 ครั้ง เพราะเชื้อมีหลายสายพันธุ์
อาการไวรัสโรตา ติดเชื้อแล้วจะมีไข้สูง อาเจียนมาก อุจจาระเป็นน้ำเหมือน อหิวาต์ ประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กที่ป่วยจะต้องไปหาหมอที่คลินิก โรงพยาบาล และมีเด็กร้อยละ 1-2 อาการรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล
เด็กเล็กมีน้ำในตัวนิดเดียว เสียน้ำจากการถ่ายทีเดียวก็หมดตัว ถ้าให้น้ำเกลือไม่ทันอาจช็อก อันตรายถึงชีวิต
สมัยก่อนพ่อแม่ไม่สนใจชื่อโรคอะไร คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักด้วยซ้ำ ตอนนี้แยกเชื้อ ตรวจสอบหาสายพันธุ์ไวรัสได้แล้ว จากข้อมูลพบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพราะท้องร่วงร้อยละ 44 ก็เกิดจากเชื้อโรตา
ธรรมชาติไวรัสโรตา ถ้าอากาศเย็นก็อยู่ในสภาวะแวดล้อมได้นานหลายวัน เย็นพอเหมาะต่อเนื่องก็อยู่ได้นานเป็นอาทิตย์
การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าหนาว และจะเพิ่มการระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ สะสมกระจายไปถึงเดือนมีนาคมก็จะหมด พอเข้าเดือนเมษายน อากาศร้อนก็จะจบวงจรการแพร่ระบาด
เราบอกว่าฝรั่งเจริญแล้ว กิน...อยู่ในที่ที่สะอาด โรคท้องร่วงน้อย แต่โรคโรตาเด็กฝรั่งมีสถิติป่วยเท่าเด็กไทย นั่นเป็นเพราะว่า เชื้อออกมาจากอุจจาระเด็กก่อนที่เด็กจะท้องเดิน แล้วเชื้อก็ทนต่อสภาพแวดล้อมได้นาน
เด็กเล็กๆ ชอบเอามือใส่ปาก เจอของเล่นก็หยิบเข้าปาก ไม่ล้างมือ ไม่ล้างของเล่น สัมผัสรับเชื้อเข้าไป...โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก โอกาสเสี่ยงมีมาก ถ้ามีเชื้อ เด็กจะติดกันหมด ยังดีที่มีวัคซีนป้องกัน
โรคต่อมา...ไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเมืองไทย จริงๆแพร่ระบาดช่วงหน้าฝน แต่คนไทยติดเชื้อหวัดหน้าหนาวกันเยอะเพราะคนต่างชาติ
ฝรั่ง...คนจีน ไข้หวัดจะระบาดตอนหน้าหนาว...หิมะตก ช่วงนี้อากาศกำลังสบายชอบมาเที่ยวเมืองไทย ก็หอบเชื้อไวรัสไข้หวัดมาด้วย แพร่ระบาดผ่านทางอากาศ ผ่านระบบทางเดินหายใจ ไอจามรดกัน สัมผัสมือกันก็ติด
ไข้หวัดในเด็ก โดยมากจะติดจากมือ เด็กมีน้ำมูกไหล เล่นกัน เอามือเช็ดป้ายกันไปมา จับโน่นจับนี่ไม่ได้ล้าง แถมกลับบ้านก็แพร่เชื้อไปให้ผู้ใหญ่
เด็กไม่มีภูมิคุ้มกันเก่า กำจัดเชื้อโรคได้ช้า จะปล่อยเชื้อเป็นพาหะได้นานกว่าผู้ใหญ่ โดยมากใช้เวลานานนับอาทิตย์ ยิ่งเด็กเล็กความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค ก็สู้เด็กโตไม่ได้
อีกโรคใหม่ ร้ายแรง...ถึงร้ายแรงมาก โรคไอพีดี เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เกิดจากการแทรกซ้อนจากโรคหวัด ทำให้เกิดปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด ลุกลามไปถึงสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
คุณหมอสมศักดิ์ บอกว่า เชื้อนิวโมคอคคัส อาจจะเข้าไปอยู่ในคอ หลอดลม โพรงหลังจมูก เด็กได้...ถือว่าปกติ ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นหวัด มีการถลอกของเยื่อบุ เชื้อก็จะลุกลามทันที...ลงปอดก็ปอดบวม เข้ากระแสเลือดอาจโลหิตเป็นพิษ ขึ้นสมองก็อันตราย
ระยะเวลาในการฟักเชื้อ แต่ละคนสั้นนานไม่เท่ากัน แต่ถ้าเชื้อกระจายแล้วอาการจะทรุดเร็ว
เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรง อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคไอพีดี แต่เราไม่รู้ คิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดใหญ่
ปัจจุบัน โรคไอพีดีมีวัคซีนป้องกัน ถ้าดูจากสถิติทั่วโลก ณ ตอนนี้ ...เด็กปอดบวมตายมากที่สุด ปอดบวมมีเชื้อหลายชนิด ร้อยละ 30 เกิดจากเชื้อไอพีดี เฉพาะเด็กไทย เสียชีวิตปีละหลายพันคน การฉีดวัคซีนจะช่วยได้มาก
เดือนสิงหาคม 2550 ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีมาใช้แล้ว และมีการลงนามสร้างเครือข่ายแนวร่วมความร่วมมือในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรง (ไอพีดี) ในเด็กไทยและทั่วโลก โดยความร่วมมือของสมาคมกุมารแพทย์โรคติดเชื้อในเด็กแห่งโลก ร่วมกับ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
แต่...ปัญหามีว่า วัคซีนมีราคาแพง ราคาเข็มละ 3-4 พันบาท และต้องฉีดติดต่อกันตามระยะเวลา 3-4 เข็ม
ต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเงินฉีดวัคซีนให้เด็กทั้งหมด มีภูมิคุ้มกันทั่วถึงเด็กเล็กก็สบาย ไม่มีใครเอาเชื้อมาแจกประเทศไทยไม่มีเงิน แต่อยู่ในฐานะไม่จนมาก ไม่มีใครบริจาควัคซีนให้ในราคาถูก
โรคติดเชื้อในเด็กชนิดอื่นที่เคยเป็นปัญหา เช่น หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ อีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ ตับอักเสบบี สมัยนี้เหลือน้อย...หรือแทบไม่มีแล้ว เพราะได้รับการฉีดวัคซีน
คุณหมอสมศักดิ์บอกอีกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กอย่างเป็นธรรมชาติเริ่มนับหนึ่ง
ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เด็กคลอดตามกำหนด 9 เดือน จะได้รับภูมิจากสายรกแม่เต็มที่ ถ้าคลอดก่อน...ภูมิมาไม่เต็มที่ ก็ชดเชยได้ด้วยการกินนมแม่
ตามธรรมชาติ...เด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ควรอยู่แต่ในบ้าน อายุ 3-4 ขวบไปโรงเรียน ถึงจะรับเชื้อแต่ยังพอสู้ไหว พ้นอายุ 5-6 ขวบไปแล้ว เด็กเรียนรู้เชื้อโรคสร้างภูมิคุ้มกันมาพอสมควร จะป่วยน้อยลง เชื้อตัวไหนเคยเป็น...มีภูมิคุ้มกันแล้วจะไม่เป็นอีก
ต้องย้ำกับคุณพ่อคุณแม่...เด็กช่วงวัยต่ำกว่า 2 ขวบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่างๆยังต่ำ ไม่ควรพาไปนอกบ้าน เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า คนแออัด โอกาสติดเชื้อยิ่งสูง
จำเป็นต้องเอาเด็กไปจ้างเลี้ยง ให้คนอื่นดูแล ไม่มีใครรับประกันความเสี่ยงที่เด็กจะรับเชื้อ ถึงขั้นนี้ ผู้ปกครองควรจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบ
ประเด็นสุดท้ายที่น่ากังวล...โรคที่หายไปแล้ว แต่มีโอกาสกลับมาใหม่ โรคไข้หวัดนก ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น
ผู้ป่วยไข้หวัดนกที่เสียชีวิต...เป็นเด็กทั้งนั้น ผู้ใหญ่...คนแก่ตายน้อย เป็นเพราะคนแก่ผ่านไวรัสไข้หวัดใหญ่มาเยอะหลากหลายสายพันธุ์ มีภูมิพอจะสู้ไหว
ต่างกับไวรัสซาร์ เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่มีใครตายสักคนเดียว...อายุ 20-45 ปี ตายร้อยละ 6...อายุ 45-65 ปี ตายร้อยละ 16...อายุเกิน 65 ตาย เกินร้อยละ 50
ซาร์ เป็นไวรัสชนิดใหม่ อายุน้อยมีระบบสร้างภูมิดี คนแก่โรงงานสร้างภูมิคุ้มกันปิดตัวไปแล้ว พอเจอเชื้อใหม่เลยสู้ไม่ไหว
ฝุ่นเล็กกว่า 10 ไมครอน...เล็กขนาดไหน? ให้เทียบกับเส้นผม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 ไมครอน...ใหญ่กว่าฝุ่น 20 เท่า
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย บอกว่า ฝุ่นละเอียดเพิ่มขึ้น โรคภูมิแพ้ในเด็กก็จะเพิ่มขึ้น
สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด จะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ ทำให้เด็กเป็นโรคหอบหืด คัดจมูก ถ้าไปเกาะอยู่ในปอดจะทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศเสีย สะสมนานๆ มากๆเข้าจนเรื้อรังก็แย่
เด็กเป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคจากเชื้อโรค สังเกตง่ายๆ...ถ้าเป็นจากเชื้อโรคจะมีไข้ เป็นแล้วหาย...หายแล้วเป็นใหม่ แต่ถ้าเป็นภูมิแพ้จะเป็นตลอด
ปอดเปรียบได้กับหม้อกรองอากาศรถยนต์ แต่ร่างกายพิเศษกว่า มีเม็ดเลือดขาวกำจัดสิ่งแปลกปลอม ถ้ามีไม่มากก็จำกัดได้หมด
ปอดเด็กต่างกับปอดผู้ใหญ่ นอกจากภูมิคุ้มกันเด็กจะสู้ผู้ใหญ่ไม่ได้... หลอดลมเด็กก็เล็กกว่า สมมติว่า เด็กติดเชื้อไวรัส จะมีอาการหอบได้ง่าย เสมหะออกมาเยอะ หลอดลมเล็ก...ตันง่าย ต่างกับผู้ใหญ่หลอดลมใหญ่ มีเสมหะมากก็ยังระบายได้ดี
เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เป็นช่วงวัยที่น่าสนใจ ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อบางอย่างสร้างได้ไม่ค่อยดี พ่อแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้ว เชื้อที่พบคือไวรัส มีคุณสมบัติทนความเย็น ไม่ทนความร้อน ถ้าอยู่ในตู้เย็นเข้าช่องแช่แข็งจะอยู่ได้นานเป็นสิบปี
คุณหมอสมศักดิ์ บอกว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ที่เป็นบ่อยในช่วงนี้ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโรตา เด็กทุกคนต้องเคยเป็นอย่างน้อย 1 ครั้งใน 2 ปี...
แต่จะมีเด็กถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เป็น 5 ครั้ง เพราะเชื้อมีหลายสายพันธุ์
อาการไวรัสโรตา ติดเชื้อแล้วจะมีไข้สูง อาเจียนมาก อุจจาระเป็นน้ำเหมือน อหิวาต์ ประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กที่ป่วยจะต้องไปหาหมอที่คลินิก โรงพยาบาล และมีเด็กร้อยละ 1-2 อาการรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล
เด็กเล็กมีน้ำในตัวนิดเดียว เสียน้ำจากการถ่ายทีเดียวก็หมดตัว ถ้าให้น้ำเกลือไม่ทันอาจช็อก อันตรายถึงชีวิต
สมัยก่อนพ่อแม่ไม่สนใจชื่อโรคอะไร คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักด้วยซ้ำ ตอนนี้แยกเชื้อ ตรวจสอบหาสายพันธุ์ไวรัสได้แล้ว จากข้อมูลพบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพราะท้องร่วงร้อยละ 44 ก็เกิดจากเชื้อโรตา
ธรรมชาติไวรัสโรตา ถ้าอากาศเย็นก็อยู่ในสภาวะแวดล้อมได้นานหลายวัน เย็นพอเหมาะต่อเนื่องก็อยู่ได้นานเป็นอาทิตย์
การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเข้าหน้าหนาว และจะเพิ่มการระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ สะสมกระจายไปถึงเดือนมีนาคมก็จะหมด พอเข้าเดือนเมษายน อากาศร้อนก็จะจบวงจรการแพร่ระบาด
เราบอกว่าฝรั่งเจริญแล้ว กิน...อยู่ในที่ที่สะอาด โรคท้องร่วงน้อย แต่โรคโรตาเด็กฝรั่งมีสถิติป่วยเท่าเด็กไทย นั่นเป็นเพราะว่า เชื้อออกมาจากอุจจาระเด็กก่อนที่เด็กจะท้องเดิน แล้วเชื้อก็ทนต่อสภาพแวดล้อมได้นาน
เด็กเล็กๆ ชอบเอามือใส่ปาก เจอของเล่นก็หยิบเข้าปาก ไม่ล้างมือ ไม่ล้างของเล่น สัมผัสรับเชื้อเข้าไป...โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก โอกาสเสี่ยงมีมาก ถ้ามีเชื้อ เด็กจะติดกันหมด ยังดีที่มีวัคซีนป้องกัน
โรคต่อมา...ไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเมืองไทย จริงๆแพร่ระบาดช่วงหน้าฝน แต่คนไทยติดเชื้อหวัดหน้าหนาวกันเยอะเพราะคนต่างชาติ
ฝรั่ง...คนจีน ไข้หวัดจะระบาดตอนหน้าหนาว...หิมะตก ช่วงนี้อากาศกำลังสบายชอบมาเที่ยวเมืองไทย ก็หอบเชื้อไวรัสไข้หวัดมาด้วย แพร่ระบาดผ่านทางอากาศ ผ่านระบบทางเดินหายใจ ไอจามรดกัน สัมผัสมือกันก็ติด
ไข้หวัดในเด็ก โดยมากจะติดจากมือ เด็กมีน้ำมูกไหล เล่นกัน เอามือเช็ดป้ายกันไปมา จับโน่นจับนี่ไม่ได้ล้าง แถมกลับบ้านก็แพร่เชื้อไปให้ผู้ใหญ่
เด็กไม่มีภูมิคุ้มกันเก่า กำจัดเชื้อโรคได้ช้า จะปล่อยเชื้อเป็นพาหะได้นานกว่าผู้ใหญ่ โดยมากใช้เวลานานนับอาทิตย์ ยิ่งเด็กเล็กความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค ก็สู้เด็กโตไม่ได้
อีกโรคใหม่ ร้ายแรง...ถึงร้ายแรงมาก โรคไอพีดี เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เกิดจากการแทรกซ้อนจากโรคหวัด ทำให้เกิดปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด ลุกลามไปถึงสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
คุณหมอสมศักดิ์ บอกว่า เชื้อนิวโมคอคคัส อาจจะเข้าไปอยู่ในคอ หลอดลม โพรงหลังจมูก เด็กได้...ถือว่าปกติ ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นหวัด มีการถลอกของเยื่อบุ เชื้อก็จะลุกลามทันที...ลงปอดก็ปอดบวม เข้ากระแสเลือดอาจโลหิตเป็นพิษ ขึ้นสมองก็อันตราย
ระยะเวลาในการฟักเชื้อ แต่ละคนสั้นนานไม่เท่ากัน แต่ถ้าเชื้อกระจายแล้วอาการจะทรุดเร็ว
เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรง อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคไอพีดี แต่เราไม่รู้ คิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดใหญ่
ปัจจุบัน โรคไอพีดีมีวัคซีนป้องกัน ถ้าดูจากสถิติทั่วโลก ณ ตอนนี้ ...เด็กปอดบวมตายมากที่สุด ปอดบวมมีเชื้อหลายชนิด ร้อยละ 30 เกิดจากเชื้อไอพีดี เฉพาะเด็กไทย เสียชีวิตปีละหลายพันคน การฉีดวัคซีนจะช่วยได้มาก
เดือนสิงหาคม 2550 ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีมาใช้แล้ว และมีการลงนามสร้างเครือข่ายแนวร่วมความร่วมมือในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรง (ไอพีดี) ในเด็กไทยและทั่วโลก โดยความร่วมมือของสมาคมกุมารแพทย์โรคติดเชื้อในเด็กแห่งโลก ร่วมกับ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
แต่...ปัญหามีว่า วัคซีนมีราคาแพง ราคาเข็มละ 3-4 พันบาท และต้องฉีดติดต่อกันตามระยะเวลา 3-4 เข็ม
ต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเงินฉีดวัคซีนให้เด็กทั้งหมด มีภูมิคุ้มกันทั่วถึงเด็กเล็กก็สบาย ไม่มีใครเอาเชื้อมาแจกประเทศไทยไม่มีเงิน แต่อยู่ในฐานะไม่จนมาก ไม่มีใครบริจาควัคซีนให้ในราคาถูก
โรคติดเชื้อในเด็กชนิดอื่นที่เคยเป็นปัญหา เช่น หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ อีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ ตับอักเสบบี สมัยนี้เหลือน้อย...หรือแทบไม่มีแล้ว เพราะได้รับการฉีดวัคซีน
คุณหมอสมศักดิ์บอกอีกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กอย่างเป็นธรรมชาติเริ่มนับหนึ่ง
ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เด็กคลอดตามกำหนด 9 เดือน จะได้รับภูมิจากสายรกแม่เต็มที่ ถ้าคลอดก่อน...ภูมิมาไม่เต็มที่ ก็ชดเชยได้ด้วยการกินนมแม่
ตามธรรมชาติ...เด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ควรอยู่แต่ในบ้าน อายุ 3-4 ขวบไปโรงเรียน ถึงจะรับเชื้อแต่ยังพอสู้ไหว พ้นอายุ 5-6 ขวบไปแล้ว เด็กเรียนรู้เชื้อโรคสร้างภูมิคุ้มกันมาพอสมควร จะป่วยน้อยลง เชื้อตัวไหนเคยเป็น...มีภูมิคุ้มกันแล้วจะไม่เป็นอีก
ต้องย้ำกับคุณพ่อคุณแม่...เด็กช่วงวัยต่ำกว่า 2 ขวบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่างๆยังต่ำ ไม่ควรพาไปนอกบ้าน เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า คนแออัด โอกาสติดเชื้อยิ่งสูง
จำเป็นต้องเอาเด็กไปจ้างเลี้ยง ให้คนอื่นดูแล ไม่มีใครรับประกันความเสี่ยงที่เด็กจะรับเชื้อ ถึงขั้นนี้ ผู้ปกครองควรจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบ
ประเด็นสุดท้ายที่น่ากังวล...โรคที่หายไปแล้ว แต่มีโอกาสกลับมาใหม่ โรคไข้หวัดนก ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น
ผู้ป่วยไข้หวัดนกที่เสียชีวิต...เป็นเด็กทั้งนั้น ผู้ใหญ่...คนแก่ตายน้อย เป็นเพราะคนแก่ผ่านไวรัสไข้หวัดใหญ่มาเยอะหลากหลายสายพันธุ์ มีภูมิพอจะสู้ไหว
ต่างกับไวรัสซาร์ เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่มีใครตายสักคนเดียว...อายุ 20-45 ปี ตายร้อยละ 6...อายุ 45-65 ปี ตายร้อยละ 16...อายุเกิน 65 ตาย เกินร้อยละ 50
ซาร์ เป็นไวรัสชนิดใหม่ อายุน้อยมีระบบสร้างภูมิดี คนแก่โรงงานสร้างภูมิคุ้มกันปิดตัวไปแล้ว พอเจอเชื้อใหม่เลยสู้ไม่ไหว