กำเนิดไอโอดีน
ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในโลก โดยเฉพาะในดิน จึงสามารถดูดซึมและกระจายอยู่ทั่วไปใน อาหารที่เรารับประทาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอรวมทั้งสภาวะการเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ดินในหลายประเทศทั่วโลกจึงไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งนี้อย่างเพียงพอ และจำเป็นต้องเติมสารไอโอดีนเพิ่มเติมในอาหารด้วย
นอกจากนี้ไอโอดีนยังพบได้ในอาหารทะเลในปริมาณที่มากกว่าอาหารชนิดอื่นด้วย เพราะคุณสมบัติของไอโอดีนซึ่งละลายในน้ำได้ จึงมีความ เข้มข้นสูงเป็นพิเศษในน้ำทะเล แต่อย่างไรก็ดี ความเชื่อที่ว่าเกลือทะเลมีไอโอดีนในปริมาณสูงเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไอโอดีนระเหยได้อย่างรวดเร็วเมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นเวลานาน เกลือที่ได้จากการทำนาเกลือทะเลจึงไม่มีไอโอดีนเหลือในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ไอโอดีน = ไอคิว
ไอโอดีนได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาสติปัญญา ร่างกาย และควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย โดยเฉพาะก่อนที่ทารกจะเกิด สมองของเด็กจำเป็นที่จะต้องได้รับไอโอดีนเพื่อพัฒนาเครือข่ายของระบบเซลล์ประสาทให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างหนาแน่น ถ้ามารดาไม่ได้รับสารไอโอดีนอย่างเพียงพอและมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เด็กจะมีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ สมองของตัวอ่อนในครรภ์จะเสียหาย โดยเฉพาะเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีรูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนที่ไปเจริญในตำแหน่งที่เหมาะสมผิดปกติ จนขาดศักยภาพการเรียนรู้ที่ดีในอนาคต
ผลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผลของการขาดสารไอโอดีนต่อพัฒนาการทางสมอง จะแปรผันตามระดับการขาดไอโอดีน การขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย อาจไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายอย่างชัดเจน แต่ยังคงมีผลต่อระดับเชาว์ปัญญาทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 2-3 ปี ถ้าขาดไอโอดีนจะมีสติปัญญาด้อย มีไอคิว (INTELLIGENCE QUOTIENT หรือ IQ) ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามศักยภาพถึง 10-15 จุด
ที่มา : นายแพทย์อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์รางวัลโนเบล (ปี 2553)
ต้องได้ผ่านแม่ ตั้งแต่ในท้อง
ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และการพัฒนาของสมอง ไอโอดีนที่แม่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ทารกจึงจำเป็นจะต้องได้ไอโอดีนอย่างเพียงพอผ่านทางมารดาระหว่างที่อยู่ใน ครรภ์ตลอด 9 เดือน โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกที่เครือข่ายระบบเซลล์ประสาทเริ่มก่อร่างสร้างตัว และรวมถึงหลังคลอด ซึ่งจะเปลี่ยนมาได้รับจากทางน้ำนมแม่แทน กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดไอโอดีนที่สุด จึงหนีไม่พ้นกลุ่มทารก หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไปจนถึงเด็กวัยเรียนนั่นเอง
ช่วงชีวิตที่กำลังมีการพัฒนาของสมองเป็นช่วงที่วิกฤตที่สุด คือ เมื่อตัวอ่อนอายุ 8 สัปดาห์จนถึงช่วงอายุ 3 ปี หลังคลอดการพัฒนาและเจริญเติบโตของสมองของตัวอ่อนในครรภ์และทารกแรกเกิด จำเป็นต้องรับไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพียงพอจากมารดาไอโอดีนที่แม่ได้รับจากอาหารจะถูกนำไปสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน และไทรอยด์ฮอร์โมนจากแม่จะถูกส่งไปยังตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ โดยผ่านทางรก (placenta)
ที่มา : นายแพทย์อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์รางวัลโนเบล (ปี 2553)
แค่กินเกลือก็หมดเรื่อง
จริงหรือ?
ถ้าเรารับประทานเกลือที่มีไอโอดีนเพียงวันละ 1 ช้อนชา เราจะได้รับไอโอดีนประมาณ 150 ไมโครกรัม ชึ่งจะเพียงพอต่อความต้องการของเราในแต่ละวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เกลือทุกชนิดที่มีไอโอดีนเพียงพอ เกลือที่เขียนข้างฉลากว่า เกลือเสริมไอโอดีน หรือ (IODIZED SALT) เท่านั้นที่มีไอโอดีนเพียงพอ ข้อเสียคือ เกลือประเภทนี้มักมีราคาแพงกว่า เพราะมีต้นทุนที่สูงกว่า ทำให้คนที่มีรายได้น้อยหันไปเลือกเกลือที่ไม่มีไอโอดีน แต่ราคาถูก
นอกจากนี้ ต่อให้คุณเลือก เกลือเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารที่บ้าน แล้วก็ตาม นั่นก็จัดเป็นเพียง 1/3 ของเกลือที่เรารับประทานกันในชีวิต ประจำวัน อีก 2/3 ล้วนมาจากเครื่องปรุงรสชนิดอื่นที่มีเกลือเป็นส่วนผสม ทั้งนั้น ซึ่งเกลือที่ผสมในผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ส่วนใหญ่ไม่มีไอโอดีน! เครื่องปรุงรสที่มีเกลือเป็น