เตรียมพร้อมสร้างอัจฉริยะให้เด็กไทย




สามปีแรกแห่งวัยของลูกน้อย เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์แห่งพัฒนาการ อันเกิดจากการที่สมองได้รับการกระตุ้นและพัฒนาอย่างเหมาะสม หากเด็กได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและใส่ใจโดยผู้ใหญ่ไม่ได้ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแล้ว โลกในวันนี้อาจแตกต่างจากที่เห็นกันอยู่

ศรัณย์ จุฑารัตนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์นมเอนฟา เอพลัส บริษัท มี้ด จอห์นสัน นูทริชั่น จำกัด ให้รายละเอียดว่า สารอาหารสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการทางสมองไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ, โคลีน และวิตามินบี12 ล้วนเป็นโภชนาการที่มีคุณค่าที่ช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อของเซลล์สมองในขวบปีแรกของทารก และสารอาหารเหล่านี้มีอยู่ในน้ำนมแม่ ซึ่งบริษัทได้ให้ความสำคัญในการกระตุ้นพ่อแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผลิตภัณฑ์นมเอนฟา จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วย ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มาโดยตลอด

 “ในช่วง 1,365 วันแรกของชีวิตทารก เป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ หากพ่อแม่พลาดโอกาสที่จะกระตุ้นพัฒนาการทางสมองที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เด็กแล้ว ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเราจึงต้องการกระตุ้นพ่อแม่ผู้ปกครองให้ตื่นตัวเพื่อเรียนรู้ว่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเพิ่มพลังการเรียนรู้ของสมองสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ เพราะนี่คือการเตรียมพร้อมให้แก่พื้นฐานการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ในอนาคต และสามารถต่อยอดสู่ความเป็นอัจฉริยะในที่สุด” ผู้บริหารให้ความรู้

 ด้าน ดร.พัฒนา ชัชพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ระบุว่า การจัดสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสมทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของการเรียนรู้มากขึ้น ปัจจุบันพ่อแม่มีความเร่งรีบในการใช้ชีวิตจึงรีบเร่งลูกไปด้วย แทนที่จะเสียเวลาฝึกลูกในกิจวัตรเพื่อช่วยเหลือตัวเอง เช่น การกิน การแต่งตัว และการเล่น แต่พ่อแม่ยึดถือตัวเองเป็นหลัก กลัวเลอะ กลัวรก กลัวไม่เป็นไปตามแผน จึงเข้าไปจัดการทุกเรื่องโดยไม่ยอมปล่อยให้ธรรมชาติในตัวเด็กได้เรียนรู้อย่างแท้จริง



 "ในขณะที่เล่น เด็กจะเกิดสมาธิ (Concentration) เพราะต้องจดจ่อกับของเล่นตรงหน้า สมองจะเรียนรู้และจดจำ (Memory) ลักษณะของเล่น และประสบการณ์ในการเล่น เพื่อใช้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา (Problem solving) แม้แต่การเริ่มให้ลูกหัดกินข้าวเอง ซึ่งลูกอาจจะเอามาขยำหรือปั้นเล่น หรือทำเลอะเทอะไปบ้าง ก็ปล่อยเขา นั่นคือการเรียนรู้ เซลล์สมองกำลังเชื่อมต่อในทุกวินาทีที่ได้เล่นผ่านกิจวัตรประจำวันแต่ละอย่าง

 พ่อแม่ต้องพูดคุยกับเขา คอยสอน คอยบอก เวลากินข้าวก็เช่นเดียวกัน ควรให้เด็กเรียนรู้รสชาติ อย่างนี้หวาน อย่างนี้เปรี้ยว อย่างนี้จืด ไม่ใช่กินข้าวไปดูโทรทัศน์ไป แต่พ่อแม่ต้องพูดคุยสื่อสารกับลูกไปด้วย นั่นคือการเรียนรู้จากการเล่น และลูกจะได้ในเรื่องของภาษา แล้วจะต่อยอดมาถึงเรื่องที่เด็กสามารถเลือกได้ว่า ชอบ ไม่ชอบ อยาก ไม่อยาก ..นี่คือกระบวนการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจของเด็กที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการกระตุ้นที่เหมาะสม” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็ก กล่าวปิดท้าย

 


Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement