ดอกไม้ โดยธรรมชาติมีความสวยงาม มีกลิ่นหอม และมีสีสันสวยงาม ดอกไม้บางชนิดยังสามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นอาหารได้ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน แถมดอกไม้บางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย ดอกไม้บางชนิดยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายอย่าง บางชนิดทำได้ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน รับประทานแทนผักจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ ดังมีรายการอาหารจากดอกไม้ดังนี้
ดอกขจร
สรรพคุณ ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
เมนูจากดอกขจร แกงส้มดอกขจร ยำดอกขจร แกงจืดดอกขจร ไข่ตุ๋นดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร
ดอกแค
สรรพคุณ ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี นอกจากนั้นการรับประทานดอกแคยังจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร
เมนูจากดอกแค แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ดอกแคชุบแป้งทอด
ดอกโสน
สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยบอกว่า ดอกโสนมีรสจืด มัน เย็น สรรพคุณแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ (สรรพคุณเดียวกันกับดอกแค)
สรรพคุณทางโภชนาการพบว่า ดอกโสนให้ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสบำรุงกระดูกบำรุงสมอง มีเหล็กบำรุงเลือด ให้วิตามินเอไว้ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บอีก และมีวิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน และวิตามินซี อีกพอสมควร
เมนูจากดอกโสนดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว แกงดอกโสน ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ยำดอกโสน ขนมดอกโสน
ดอกขี้เหล็ก
สรรพคุณ ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร
เมนูจากดอกขี้เหล็ก แกงดอกไม้เหล็ก
ดอกสะเดา
สรรพคุณ ทุกส่วนของสะเดาสามารถนำมาทำเป็นยาได้ เช่น ใบสะเดานำมาตำทำเป็นยาพอกฝี ดอกใช้แก้พิษเลือดกำเดา ผลใช้บำบัดอาการโรคหัวใจเต้นผิดปกติ รากช่วยแก้เสมหะ เปลือกรากรักษาไข้ตัวร้อน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้อีกด้วย
เมนูจากดอกสะเดา สะเดาน้ำปลาหวาน ยำดอกสะเดา
ดอกพยอม
สรรพคุณ ดอก ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ เปลือกต้น สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin มาก
เมนูจากดอกพยอม แกงดอกพยอม พล่าดอกพยอม
ดอกซ่อนกลิ่น
สรรพคุณ ลดการอักเสบ และบรรเทาลักษณะที่ผิดปกติของกระดูก กลิ่นของดอกช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และความตึงเคลียด ทำให้ใจเย็น จิตใจสงบ นอนหลับง่าย ความหอมอ่อนโยน เย้ายวนใจ กระตุ้นกำหนัด
เมนูจากดอกซ่อนกลิ่น หมูซ่อนกลิ่น แกงจืดดอกซ่อนกลิ่น
ดอกโศก
สรรพคุณ ในประเทศไทยไม่ปรากฏสรรพคุณทางสมุนไพรของโศกชนิดต่างๆ ในตำราแพทย์แผนไทย แต่แพทย์พื้นบ้านในอินเดียนิยมนำเปลือกและรากโศกมาปรุงเป็นยาบำรุงเลือด คงจะเป็นโศกชนิด Saraca indica Linn
เมนูจากดอกโศก พล่าดอกโศก ดอกโศกน้ำพริกก้อย แกงส้มดอกโศก
ดอกกระเจี๊ยบ
สรรพคุณ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ นำกลีบเลี้ยงและกลีบรองมาตากแห้ง บดเป็นผงละเอียด ชงกับน้ำร้อนครั้งละ 1 ช้อนชา ดื่ม 3 เวลา เช้า กลางวันและเย็น แก้อาการขัดเบา เป็นยากัดเสมหะ นอกจากนี้ยังสามารถลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย
เมนูจากดอกกระเจี๊ยบ แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ น้ำกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบแช่อิ่ม แยมดอกกระเจี๊ยบ
ขอบคุณ เนื้อหาบางส่วนจาก http://www.panmai.com/ ภาพประกอบจาก คุณ openrice และ Google ค่ะ