ข้อควรระวังหากตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 40







 ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้
จากการเรียนการสอนทางด้านการแพทย์ที่ได้มาตรฐานเป็นตัวบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงจะสูงขึ้นหากผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี และสามารถแยกออกมาเป็นหัวข้อได้ดังนี้

๐ อาการป่วยจากยาจะส่งผลกระทบไปถึงแม่และเด็กอ่อนในครรภ์
๐ พันธุกรรมอาจจะผิดเพี้ยน
๐ เกิดการสูญเสียทารกในครรภ์หรือแท้ง
๐ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนในขณะคลอดบุตร

เมื่ออายุมากขึ้นไปจนถึง 35 ปี จึงทำให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวได้ แต่การเตรียมการสำหรับการตั้งครรภ์ก็จะส่งผลช่วยให้ความเสี่ยงนั้นลดน้อยลง

 อาการผิดปกติของแม่และเด็ก
โรคต่างๆจะเกิดมากขึ้นสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี รวมไปถึง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไทรอยด์ แต่ยังเป็นที่น่ายินดีที่อาการดังกล่าวสามารถรักษาและควบคุมได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และยาที่ใช้ในการรักษาก็ปลอดภัยสำหรับครรภ์ หากในตอนนี้คุณใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งอยู่และคุณก็กำลังวางแผนไว้ว่าอยากจะตั้งครรภ์ เราแนะนำให้คุณปรึกษาคุณหมอนะคะ เพราะคุณอาจจะจำเป็นต้องเปลี่ยนยาหรือปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆอย่าง หากไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องอาการป่วยของคุณจะส่งผลกระทบต่อครรภ์ถึงขั้นแท้งครรภ์ได้ และอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ใบหน้าและมือบวม และมีโปรตีนในน้ำปัสสาวะซึ่งอาการดังกล่าวมาจะทำให้แท้งครรภ์ เป็นลม หรืออาจจะร้ายแรงกว่านั้น ความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมได้ส่งผลไปถึงภาวะการเติบโตในครรภ์ และทำให้เสียชีวิตในครรภ์ได้

โรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการให้กำเนิดบุตร และการควบคุมน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดีนักส่งผลไปยังครรภ์และการเติบโตของทารก ฉะนั้นการดูแลและรักษาที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงได้แน่นอน

 กรรมพันธ์ผิดเพี้ยน
ด้วยอายุผู้หญิงที่มากขึ้น ปัญหาทางกรรมพันธ์ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ปัญหากรรมพันธ์อย่างหนึ่งคือดาวน์ซินโดรม ซึ่งเกิดจากโครโมโซมเป็นเหตุให้เกิดการล่าช้าทางร่างกายและส่งผลไปถึงหัวใจและอวัยวะอื่นๆ แม้ว่าความเสี่ยงนี้จะน้อยแต่หากคุณมีอายุมากขึ้นๆและมากกว่า 35 ปี ความเสี่ยงดังกล่าวก็จะมากขึ้นตามลำดับ

ขณะที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์มีโอกาส 3% ในการให้กำเนิดบุตรที่กรรมพันธ์ผิดเพี้ยน แต่หลังจากอายะ 40 ขึ้นไปแล้ว ความเสี่ยงกลับสูงขึ้น ระหว่าง 6% และ 8% โอกาสเกิดโรคดาวน์ซินโดรมโดยเฉลี่ยแล้ว 1 ใน 365 คนเมื่ออายุ 35 ปี ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 1 ใน 100 ขณะที่อายุ 40 ปี และเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 40 ที่อายุ 45 ปี

 การสูญเสียครรภ์
การสูญเสียครรภ์เพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉลี่ย 50% ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จะแท้งเนื่องจากความผิดปกติของกรรมพันธ์ และผู้หญิงก็มีความเสี่ยงในการแท้งลูกอยู่ตลอดเวลาถึง 15% หลังจากอายุ 40 ไปแล้วความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว รวมไปถึงการสูญเสียเด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วย สาเหตุจะมาจากการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร

 ความซับซ้อนของการคลอดบุตร
ความซับซ้อนมีมากขึ้นสำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปี รวมไปถึง

๐ ผู้หญิงที่ขาดความพร้อมในการคลอดบุตร
๐ ความไม่พร้อมซึ่งทำให้น้ำไม่เดินและตกเลือด
๐ รกไม่แยกตัวทำให้น้ำคล่ำไม่เดิน
๐ การตกเลือด

 การให้กำเนิดลูกแฝด
การให้กำเนิดลูกแฝดสองหรือแฝดสามก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่หากเป็นลูกแฝดความเสี่ยงก็ต่างๆก็จะยิ่งสูงมากขึ้น

 การลดความเสี่ยง
ถึงแม้ว่าความเสี่ยงต่างๆจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปี และบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังมีวิธีบางอย่างที่จะช่วยลดความเสี่ยงค่ะ

- อย่างแรกเลย ง่ายที่สุด คือการไปพบแพทย์
- หลังจากทำนัดกับแพทย์ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ ความรู้ความเข้าใจของตัวคุณเองจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นด้วย
- แม้ว่าแพทย์จะบอกคุณได้คร่าวๆว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณตั้งครรภ์ และหากคุณไม่ได้รับคำแนะนำที่ดีพอคุณอาจจะเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรดูแลตัวเองและรักษาสุขภาพจนติดเป็นนิสัย เพื่อให้ได้เด็กที่อุดมสมบูร์และเป็นคุณแม่ที่มีความสุข

 เพื่อสุขภาพ
เหล่านี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์เสียอีกนะคะ

- ถ้าคุณติดบุหรี่หรือไม่ติดก็ตาม หยุดสูบมันซะ
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แอลกอฮอล์ทำให้มีความเสี่ยงในความผิดปกติของการเติบโตในครรภ์ของทารก
- เลี่ยงคาเฟอีน เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูก
- รับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน หมายถึงรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และนมไขมันต่ำ และโปรตีนให้มากๆ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
- เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ควรรับประทานวิตามินเสริมและควรทานเป็นประจำ กรดโฟลิคในวิตามินจะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆด้วย
- ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงรวมไปถึงข้อต่อด้วย และยังช่วยลดอาการปวดต่างๆที่เกิดจากการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย หากคุณยังไม่ได้เริ่มออกกำลังกายเลย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

 ตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคุณหมอจะได้ตรวจถึงโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงจะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมอีกด้วย

บทความแปลโดย Blueberry Heart





แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement