สำหรับประวัติความเป็นมาของวันไวท์เดย์นั้นแตกต่างกันไปหลายที่มา แต่พอจะสรุปได้คร่าวๆว่า วันไวท์เดย์ (White Day) (ญี่ปุ่น: ホワイトデー howaito dē ?) เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อการตลาดโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น วันไวท์เดย์จะมีการฉลองกันในประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลี ในวันที่ 14 มีนาคม 1 เดือนหลังจากวันวาเลนไทน์ ในวันวาเลนไทน์ เมื่อหญิงสาวให้ช็อคโกแล็ตกับ ชายหนุ่ม ในวันไวท์เดย์เป็นธรรมเนียมที่จะให้สิ่งของหรือของขวัญกับหญิงที่ให้เขา โดยในไวท์เดย์ผู้ชายที่ได้ช็อกโกแลตจะมีการมอบของขวัญตอบแทนให้กับฝ่ายหญิง ซึ่งจะเรียกว่า ซัมไบกาเอชิ ซึ่งราคาของจะมากกว่าราคาของที่ได้สามเท่า
บางสำนักก็บอกว่า สำหรับวัน White Day ที่ถือว่าเป็นเซ็ตคู่กับวันวาเลนไทน์นั้น ริเริ่มโดยร้านขายขนมชื่อ Ishimura Manmoridou ในเมืองฟุกุโอกะ เมื่อปี 1978 และหลังจากนั้นก็มีสานต่อโดยโปรโมตให้คนให้ของขวัญที่เป็นสีขาว และในเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกบัญญัติให้เป็นวันแห่งชอกโกแล็ตโดยสมาคมชอกโกแล็ตและโกโก้แล้ว ทางสมาคมอุตสาหกรรมลูกกวาดแห่งประเทศญี่ปุ่น จึงได้ตัดสินใจรณรงค์ให้คนให้ของขวัญกันเป็นลูกกวาด (Candy) กันในวัน White Day และบัญญัติให้วัน White Day เป็นวันแห่งลูกกวาดด้วย
บ้างก็ว่าคงไม่ยุติธรรมกับสาวๆ ที่จะเป็นฝ่ายให้ช็อกโกแลตฝ่ายเดียว ดังนั้นนักการตลาดเลยคิดวัน White Day ขึ้นมา ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายชายได้ตอบแทนผู้หญิง โดยเริ่มจากบริษัทผลิตมาร์ชเมลโล ที่ออกแคมเปญว่าวันที่ 14 มีนาคม เป็นวันที่หนุ่มๆ ควรจะซื้อมาร์ชเมลโลตอบแทนความรู้สึกดีๆ ที่หญิงสาวมีให้ แต่พอนานๆ ไปแคมเปญก็เริ่มเปลี่ยนจากแค่ให้มาร์ชเมลโล กลายมาเป็นไวต์ช็อกโกแลต ลูกกวาด ดอกไม้ น้ำหอม เครื่องประดับ และรวมถึงชุดชั้นใน
อย่างไรก็ตาม มูลค่าของช็อกโกแลตในญี่ปุ่นนับว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มาก ตามข้อมูลของ Chocolate and Cocoa Association of Japan บอกว่าช็อกโกแลตที่ขายได้ในปี 2006 มีมากถึง 406 พันล้านเยน และ 53% นั้นเป็นส่วนที่ขายได้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิงญี่ปุ่นอายุระหว่าง 20-39 ปี พบว่า 78% ซื้อช็อกโกแลตเป็นของขวัญในวันวาเลนไทน์ และ 71% ซื้อให้แฟน/สามี 48% ซื้อให้เจ้านาย 44% ซื้อให้คนในครอบครัว และ 37% ซื้อให้เพื่อนร่วมงาน สำหรับช็อกโกแลตตามมารยาทนั้นสาวๆ หลายคนให้เหตุผลของการมอบคือ เพื่อให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงานราบรื่น และเพื่อให้การประเมินผลการทำงานดีขึ้นอีก เออ...นี่มันช็อกโกแลตเพื่อผลประโยชน์ชัดๆ
ส่วนวัน White Day มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชายหนุ่ม นักการตลาดต้องทำการกระตุ้นด้วย White Day gift fair เป็นงานขายสินค้าสำหรับวันนี้โดยเฉพาะ ตามห้างสรรพสินค้า หรือย่านการค้าจะครึกครื้นไปด้วยสีขาว ส่วนหนุ่มๆ ก็จะจับจ่ายซื้อของขวัญไปตอบแทนน้ำใจสาวๆ ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วของที่จะซื้อเพื่อตอบแทนน้ำใจมักจะมีมูลค่ามากกว่าที่ได้รับประมาณ 3 เท่า มีการสำรวจความนิยมในการมอบของขวัญในวัน White Day จาก whatjapanthinks.com ในปีที่ผ่านมากพบว่านอกจากช็อกโกแลตแล้วชายหนุ่มมักจะเลือกซื้อเครื่องประดับ อย่างเช่น ตุ้มหู แหวน สร้อยคอ ฯลฯ เป็นของขวัญให้สาวๆ โดยให้คะแนนส่วนนี้มากถึง 100 และ 53.9 คะแนนสำหรับดอกไม้
เทศกาลทั้งสองนี้ไม่ได้คึกคักแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น ยังมีอิทธิพลไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ และไต้หวันด้วย แต่กลุ่มที่รับเอาวัฒนธรรมนี้เข้าไปยังคงเป็นเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้มากเท่าที่ชาวญี่ปุ่นปฏิบัติ แต่สำหรับเราแล้ว เทศกาล White Day นี้ดูสนุกดีเหมือนกัน เพราะอย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงน้ำใจของผู้รับที่ไม่ใช่สักแต่ว่ารับเพียงอย่างเดียว
ขอบคุณ ที่มาเนื้อหาจาก : http://www.hirungroup.com/, http://www.tlcthai.com/ และ กูเกิ้ลกูรู ค่ะ