ถ้าพูดถึงมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงแทบทุกคนต้องรู้สึกหวาดผวาและยังคงสงสัยถึงสาเหตุ เรามีโอกาสได้ไปพูดคุยกับ แพทย์หญิงเพชรรัตน์ ปิตะหงษ์นันท์ แพทย์ประจำแผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ทำให้เราเข้าใจและได้ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อตัวหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก นั่นก็คือ HPV
แพทย์หญิงเพชรรัตน์ ปิตะหงษ์นันท์ แพทย์ประจำแผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ให้ข้อมูลว่า มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดจากชายสู่หญิง หญิงสู่ชายไม่ได้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมแต่อย่างใด และเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน พบได้ในกลุ่มอายุ 15-59 ปี มีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อฮิวแมนแพปปิลโลมาไวรัส (HPV: Human Papilloma Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้โดยทั่วไป และมีกว่าร้อยชนิด โดยแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือชนิดที่ก่อมะเร็ง และชนิดที่ไม่ก่อมะเร็ง ชนิดที่ก่อมะเร็ง สายพันธุ์หลักคือ HPV ชนิด 16 และ 18 ซึ่งเป็นเชื้อชนิดก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 70 และยังก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้แก่ มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก และ อีกกลุ่มคือชนิดที่ไม่ก่อมะเร็ง สายพันธุ์หลักคือ เอช พี วี ชนิด 6 และ 11 ซึ่งเป็นชนิดที่ทำให้เกิดโรคหูดของอวัยวะเพศ (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหูดหงอนไก่) ถึงร้อยละ 90
สำหรับการป้องกันแล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ได้ตั้งแต่อาย 9 ปี หรือในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็สามารถไปฉีดได้เช่นกันแม้อายุจะมากกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม และสำหรับสาวๆที่ไปตรวจเป็นประจำทุกปี และติดต่อกัน 3 ปีที่ไม่พบว่ามีเชื้อ HPV ก็สามารถฉีดได้เช่นกันค่ะ ซึ่งจริงๆแล้วคุณหมอบอกว่า ฉีดได้จนอายุ 70 ปีเลยค่ะ แต่ก็ต้องตรวจด้วยนะคะ
จากการได้พูดคุยกับคุณหมอ ทำให้ทราบว่า ผู้ชายก็มีเชื้อ HPV เช่นกัน เพียงแต่เชื้อถ้าอยู่ที่ตัวผู้ชายจะไม่เปลี่ยนให้เป็นมะเร็ง แต่จะเห็นหูดหงอนไก่ (ต้องใช้ระยะเวลารักษาถึง 4-6 สัปดาห์) ซึ่งก็ติดผู้หญิงได้เช่นกัน ฉะนั้นผู้หญิงจะมีสิทธิ์เป็นทั้งมะเร็งปากมดลูกและหูดหงอนไก่ด้วย หลายๆคนอาจจะคิดว่า เราสมารถใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันได้ แต่คุณหมอได้กล่าวว่า ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเชื้อที่อยู่รอบๆและถุงยางก็ไม่คลุมถึงบริเวณนั้น
สำหรับการฉีดนั้น จะฉีดบริเวณต้นแขน จำนวน 3 เข็ม ด้วยกัน โดยหลังจากฉีดเข็มแรก ก็จะเว้น 2 เดือน จึงฉีดเข็มที่สอง จากนั้นเว้นระยะห่าง 4 เดือนก็จะเป็นเข็มสุดท้าย โดยการฉีดเข็มแรกก็สามารถสร้างภูมิได้แล้ว และการฉีดเข็มที่ 2-3 เพื่อกระตุ้นให้ภูมินั้นสูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อ HPV รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูกบางประการ เช่น ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทุกชนิด ก็น่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเพราะความจริงแล้วการแพร่หรือติดเชื้อ HPV นั้นเกิดขึ้นได้โดยเพียงการสัมผัส ฉะนั้นหนึ่งในวิธีการป้องกันเชื้อ HPV รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูกที่นอกเหนือการรับวัคซีน คือ การรักเดียวใจเดียวไม่เปลี่ยน หรือ มีคู่นอนบ่อยๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ แพทย์หญิงเพชรรัตน์ กล่าวเสริมท้าย
ความเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้ติดเชื้อไวรัส HPV คือ
ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์, มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย,คนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีน
ปัจจุบันวัคซีนมีการเก็บผลการศึกษาประสิทธิภาพในระยะยาวมากกว่า 7 ปี ในประเทศแถบแสกนดิเนเวียน พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง ในหลายประเทศเช่น อังกฤษ อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปานามา และ มาเลเซีย ได้บรรจุการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส เป็นวัคซีนพื้นฐานและฉีดฟรีให้เด็กหญิงอายุ 12-13 ปีทุกคน พบว่าทำให้อัตราระบาดลดลง นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำแนะนำให้พิจารณาการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็น national immunization
เกี่ยวกับโรงพยาบาลเซนต์หลยุส์
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร เปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยทั่วไปทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทุกสาขาและพยาบาลที่คอย ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเน้นให้ความ สำคัญแก่ ผู้ป่วย เป็นหลัก พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ ในการ วินิจฉัยโรคและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีห้องพักผู้ป่วยเป็นห้อง ปรับอากาศ ทั้งหมด และจัดให้เป็นสัดส่วนเพื่อความสะดวก สบายแต่ยังคงความ ปลอดภัยด้วย ระบบติดตามความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลาที่ศูนย์กลาง นอกจากนี้ห้องผ่าตัดยังเป็นห้องผ่าตัดสำเร็จรูปจากประเทศเยอรมัน ที่สามารถ ควบคุมการปลอดเชื้อ ขณะผ่าตัด ที่ได้มาตรฐานของระดับโรงพยาบาลชั้นนำ ของโลก ที่พร้อมจะให้บริการ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง