สร้างสมองลูกให้เป็นอัจฉริยะในยุคดิจิตอล ด้วยสองมือแม่


พญ. จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ ในโลกยุคปัจจุบันที่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  เราต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เทคโนโลยี จนกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตไปแล้ว ในทางกลับกัน ขณะที่ยุคดิจิตอลกำลังรุ่งเรืองนั้น มีกระแสสร้างความตื่นเต้นให้กับสังคมไทยกับสถิติที่น่าวิตกกังวลใจที่มีงานวิจัยชี้ว่า “เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่าระดับสากล” จนทำให้กรมสุขภาพจิตต้องลุกขึ้นมาปลุกกระแสสร้างความตระหนักในการพัฒนาเด็กไทย เพื่อเน้นส่งเสริมระดับไอคิวของเด็กให้มากขึ้น คำถามคือ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร ที่จะพัฒนาสมองลูกได้อย่างเต็มศักยภาพให้ลูกมีระดับไอคิวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางกระแสการถกเถียงถึงข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีกับการเลี้ยงลูกในโลกแห่งดิจิตอลนี้ เราจะสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมองของลูกให้ถูกต้องได้อย่างไรบ้าง

ไอคิว ย่อมาจาก Intelligence Quotient  คือ ระดับสติปัญญา หรือความสามารถในการทำงานของสมองในการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา เด็กที่มีไอคิวสูง จะสามารถเรียนรู้และต่อยอดได้เร็ว แต่สำหรับเด็กที่มีไอคิวไม่สูง ก็ต้องทำซ้ำๆ  บ่อยๆ ซึ่งคนเราจะฉลาด มีไอคิวสูง มีความสามารถ หรือด้อยความสามารถนั้น ขึ้นกับการทำงานของสมองทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรหันมาใส่ใจและทำความเข้าใจกับการพัฒนาสมองให้มากขึ้น สมองของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเซลล์นับแสนล้านเซลล์ แต่ถ้าไม่ถูกใช้งาน เซลล์สมองจะค่อยๆ ถูกทำลายโดยธรรมชาติ คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ เพื่อให้เซลล์สมองส่วนต่างๆ เกิดการเชื่อมโยงให้ได้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เพราะเมื่อเซลล์สมองเชื่อมโยงเครือข่ายกันได้มาก ลูกก็จะเรียนรู้ได้มากขึ้น มีความสามารถมากขึ้น  ซึ่งการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเส้นใยสมองตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีและสื่อต่างๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก หากใช้ไม่ถูกทาง เช่น ปล่อยให้เด็กเล่นแต่คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือดูโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ ตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กขาดโอกาสฝึกฝนการสื่อสารพูดคุยออกเสียงหรือโต้ตอบ ขาดโอกาสในการฝึกฝนเรียนรู้ทักษะด้านอื่นๆ เพราะเด็กจะหลงใหลในภาพแสงสีเสียงที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบนหน้าจอ ทำให้เด็กสมัยนี้กลับมีพัฒนาการหลายๆด้านล่าช้ากว่าปกติ เช่น พูดช้า ทักษะทางสังคมบกพร่อง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และระดับสติปัญญาของเด็กในอนาคต

พญ. จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงการพัฒนาไอคิวของเด็กในยุคปัจจุบัน  “เด็กจะมีไอคิวสูงหรือต่ำ ถูกกำหนดโดยปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู  ถ้าพ่อแม่ฉลาด ลูกก็จะฉลาด ถ้าพ่อแม่ไม่ฉลาด ลูกก็จะไม่ฉลาดตามไปด้วย แต่การจัดสภาพแวดล้อมและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ลูกพัฒนาและมีความสามารถดีกว่าพ่อแม่ได้ มีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า การส่งเสริมพัฒนาการโดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ตามวัยของเด็กตั้งแต่เล็กๆ สามารถเพิ่มระดับไอคิวลูกได้ถึง 20-30 คะแนน ในทางตรงข้าม ถึงแม้พ่อแม่ฉลาด แต่ลูกถูกเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้สมองไม่พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีผลต่อระดับไอคิวได้” “นอกจากนี้การดูแลให้ลูกมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรค และได้รับโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยก็จะมีผลดีต่อพัฒนาการของสมองด้วย“  

โภชนาการที่ดีที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับเด็กทารกคือ นมแม่ และเมื่อลูกโตขึ้นคุณแม่ควรให้ลูกได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองอย่างครบถ้วน  พร้อมทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู  หูฟัง  ลิ้นรับรส จมูกรับกลิ่น กายรับสัมผัสที่อบอุ่น และการให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจะช่วยทำให้กระบวนการเรียนรู้ครบทุกมิติ เช่น นำผลแอปเปิ้ลมาให้เด็กได้เรียนรู้ เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ เรื่องสี ขนาด น้ำหนัก กลิ่น จนไปถึงการได้ชิมรสชาติ สมองของเด็กก็จะเกิดการพัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายเส้นใยสมองออกไปในหลายมิติ

Enfa Brain Expoพญ.จันท์ฑิตา แนะนำเทคนิคการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองเพื่อเสริมสร้างไอคิวว่า “คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกต ว่าในช่วงนั้นลูกมีพัฒนาอย่างไร เพื่อหาทางจัดกิจกรรมส่งเสริมให้หลากหลายและรอบด้าน เช่น การสื่อสารแบบสองทางจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดี การพูดคุย ยิ้ม สบตากับลูกบ่อยๆ จะช่วยเรื่องทักษะการฟังการเล่นเสียง เมื่อลูกเล่นเสียงควรล้อเสียงเด็ก ใช้โทนเสียงที่หลากหลายและพูดคำที่มีความหมาย การให้เด็กสบตา มองหน้า มองปากจะช่วยให้เด็กพูดชัดและเรียนรู้ภาษาท่าทาง เมื่อเด็กเริ่มพูดได้เป็นคำเดี่ยวๆ ก็ให้พ่อแม่เติมคำให้ยาวขึ้น พัฒนาการทางภาษามีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา ความฉลาด และแสดงถึงศักยภาพของสมอง เด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาเร็ว ช่างซักถามจะสามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้เร็ว การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือ ทัศนะศึกษา จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ ได้ประสบการณ์  เป็นต้น นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าลูกมีความถนัดด้านใด และหาทางสนับสนุนให้เต็มศักยภาพ”

สำหรับปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมองเด็กไทยในยุคดิจิตอลนั้น พญ. จันท์ฑิตา กล่าวเสริมอีกว่า “สื่อผ่านจอทุกประเภทเปรียบเหมือนดาบ 2 คม เพราะถ้าใช้เป็น ก็ถือเป็นคุณอนันต์ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย แต่ถ้าใช้ไม่เป็น ก็จะให้โทษมหันต์เช่นกัน  คุณพ่อคุณแม่อาจภูมิใจว่าลูกสามารถเล่นอุปกรณ์เหล่านี้ได้คล่องแคล่ว โดยอาจลืมไปว่า อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ ขาดทักษะการสื่อสาร 2 ทาง  ในปัจจุบันการดูทีวีและการใช้สื่อผ่านจอทุกประเภทเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก พ่อแม่จึงต้องรู้เท่าทันสื่อ รู้จักเลือกสรรรายการที่เป็นประโยชน์ และสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ลูกน้อยมากขึ้น พ่อแม่ควรให้คำชี้แนะอยู่ข้างๆ และต้องกำหนดเวลาการใช้สื่อเหล่านี้ให้ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง เพื่อจะได้เหลือเวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์เช่นกัน และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปียังไม่ควรดูทีวี” 

คุณพ่อคุณแม่คือคนสำคัญที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาความฉลาดหรือไอคิวของลูก นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความฉลาดผ่านทางพันธุกรรมแล้ว การส่งเสริมพัฒนาการและการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่กับลูกจะมีผลต่อพื้นฐานความฉลาดของเด็กในอนาคต เพราะอัจฉริยภาพแห่งสมอง เริ่มที่ 1,365 วันแรก ด้วยโภชนาการและความทุ่มเทของคุณ  ร่วมค้นพบมหัศจรรย์สมองครั้งแรกในประเทศไทย ในงาน “Enfa Brain Expo”  งานแสดงศักยภาพสมองเต็มรูปแบบ วันที่ 31 สิงหาคม – 9 กันยายน 2555 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์  และวันที่ 4-8 ตุลาคม 2555 ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัล ขอนแก่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 725 8700 หรืออ่านรายละเอียดที่
www.enfababy.com




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Quiz


Advertisement