เหตุผลที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่พลังแห่งรักแต่อย่างใด หากเป็นเพราะว่า ในยามออกไปรับประทานอาหารด้วยกันนั้น ทั้งสองฝ่ายก็จะรับประทานอาหารในปริมาณเท่า ๆ กันนั่นเอง เรียกว่าต่างคนต่างพยายามเป็นครึ่งหนึ่งของกันและกันอย่างที่สุด ส่งผลให้สาว ๆ ต้อง รับประทานอาหารในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนหนุ่ม ๆ นั้นกลับกลายเป็นรับประทานอาหารน้อยลง หรือเปลี่ยนรูปแบบอาหารที่เคยรับประทานมาเป็นอาหารสไตล์หญิง ๆ เช่น โยเกิร์ต หรือสลัด นั่นเอง
ฟิโอนา ฮันเตอร์ นักโภชนาการเสริมด้วยว่า คู่สามีภรรยาที่เตรียมอาหารรับประทานด้วยกันนั้นมักจะลืมคำนวณแคลอรีที่แต่ละฝ่ายควรจะได้รับ แต่กลับเน้นไปที่การทำเมนูเพียงเมนูเดียวแล้วก็แบ่งกันคนละครึ่ง (ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด) ซึ่งแนวคิด "เมนูเดียวแบ่งครึ่งสำหรับสองคน" อาจทำให้คู่สามีภรรยาเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นได้ เพราะผู้หญิงผู้ชายอาจมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ดี ข้อมูลนี้มาจากการสำรวจผู้บริโภคชาวอังกฤษทั้งหญิงและชายจำนวน 1,300 คนของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งหากมาสำรวจในประเทศไทย อาจได้ผลตรงกันข้ามก็เป็นได้ เพราะสามีภรรยาไทยหลายคู่ แต่งงานแล้ว ชวนกันกิน - พากันอ้วนก็มีให้เห็นกันได้บ่อย ๆ
เรียบเรียงจากเดลิเมล