หูฟัง หูพัง!


       อันตรายจาก "หูฟัง" เกิดจากการฟังระดับเสียงที่ดังเกินไป ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่อายุระหว่าง 23-25 ปี ว่าการฟังเพลงด้วยความดัง 80% ของความสามารถของตัวเครื่องเล่น MP3 และอื่นๆ นานเป็นเวลา 90 นาทีต่อวัน จะส่งผลกระทบต่อระบบโสตประสาท ซึ่งอาการจะเริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด มีเสียงก้องในหูทำให้ต้องเร่งความดังอีก และทำให้เกิดอาการหูหนวกถาวรได้

       หูฟังส่วนใหญ่นั้นมีค่าตอบสนองต่อสัญญาณหรือที่เรียกว่า Sensitivity เป็นค่าที่บอกถึงระดับความดังเป็นเดซิเบล บางรุ่นมีค่าสูงถึง 110 เดซิเบล เมื่อเร่งเสียง เสียงจึงดังขึ้นไปมาก หูฟังแบบอุดเข้าไปในหูจึงต้องระวังเป็นพิเศษ ควรที่จะเปิดฟังเป็นเวลาที่ไม่นานเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และเปิดเสียงที่ระดับไม่เกิน 40 - 50 % หรือในระดับที่คิดว่าเสียงนั้นเบาพอดีและได้ยินชัดเจนแล้ว การใช้หูฟังนั้นควรมีการหยุดพักบ้างเพื่อให้ประสาทรับรับเสียงของหูได้หยุดพัก และควรใช้หูฟังที่มีลักษณะครอบทั้งใบหูจะช่วยลดอาการหูอื้อและหูตึงได้

       หูฟังที่ใช้อยู่ปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ

   1. In-Ear หรือ Ear - Plug แบบใส่เข้าไปในหู เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะได้ยินเสียงชัดเจน แต่มีผลกระทบต่อประสาทการได้ยินมากกว่าการใช้หูฟังชนิดอื่น เนื่องจากตัวลำโพงจะอยู่ใกล้กับประสาทรับเสียงในหูมากที่สุด

   2. แบบแปะหรือสวมแนบพอดีหู

   3. แบบครอบที่ใบหู

       ข้อควรระวังในการใช้หูฟัง

   1. อย่าใส่หูฟังนานเกินความจำเป็น หรือถ้ามีความจำเป็นให้ปรับระดับเสียงที่ดังพอได้ยิน ไม่ดังจนเกินไป

   2. พยายามอย่าฟังเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล คือ ดังประมาณคน 2 คน ยืนห่างกัน 1 เมตร ตะโกนคุยกัน หรือถ้าใช้หูฟังแล้วไม่ได้ยินเสียงรอบตัว ก็แสดงว่าคุณฟังเสียงดังไปแล้วนะคะ

   3. ไม่สวมหูฟังขณะอยู่ในที่สาธารณะ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น สถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งเดินอยู่ตามถนน

   4. อย่าใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่น ป้องกันการติดเชื้อโรคจากหูฟังที่ไม่สะอาด ทั้งยังมีคราบเหงื่อไคล เช่น ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่จะมีหูฟังไว้บริการ แต่เพื่อสุขอนามัย ควรพกหูฟังไปใช้ส่วนตัว

       อันตรายจากการใช้หูฟัง

       - ไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และการรับฟังข้อมูลลดลง เพราะสมาธิจดจ่ออยู่กับเสียงในหูมากกว่า 

       - การสื่อสารบกพร่อง หรืออาจไม่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือน เชื่องช้าต่อการตอบสนอง จนเกิดอุบัติเหตุได้ เคยมีข่าวกรณีนักศึกษาสาวใส่หูฟังเดินข้ามทางรถไฟ รถไฟที่วิ่งมาด้วยความเร็ว พยายามกดสัญญาณเตือนแต่เธอไม่ได้ยิน รถไฟจึงพุ่งชนร่างของเธอ  

       - รบกวนการนอนหลับ มีเสียงรบกวน ทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนเพลีย

       - เสียงดังจะเร้าอารมณ์ ให้สร้างความรุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว เคยมีงานวิจัยการฟังเพลงขณะขับรถ จะทำให้คุณขับรถเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว

 

 

 

บทความโดย Fineday

Pooyingnaka.com





แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Quiz


Advertisement