ประโยชน์ของผักตามฤดูกาล 12 เดือน


     มกราคม

   แครอท กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ปวยเล้ง

  • แครอท มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงและชะลอความเสื่อมของดวงตา เป็นแหล่งรวมเกลือแร่และวิตามินอีกมากมาย
  • กะหล่ำดอก มีโพแทสเซียมสูง ควบคุมการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิต และสารต้านการเกิดมะเร็ง น้ำผักสด ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง เรื้อนกวาง เวลารับประทานไม่ควรปรุงให้สุกมากนัก เพราะจะทำให้สรรพคุณทางยาหายไป
  • ผักกาดขาว กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ดับกระหาย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ และลดการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • ผักกาดเขียวปลี(ผักโสภณ) เป็นพืชตระกูลกระหล่ำ นิยมนำไปทำเป็นผักดอง อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด
  • ปวยเล้ง(ผักโขม) ชื่อภาษาอังกฤษว่า Spinach แต่ส่วนใหญ่ผักโขมที่คนไทยนำมาปรุงอาหารหรือผัดน้ำมันหอย จะไม่ใช่พันธุ์นี้ ปวยเล้งมีสรรพคุณบำรุงเลือด รักษาอาการเลือดกำเดา โลหิตจาง แก้ท้องผูก

 

 

 

 

     กุมภาพันธ์

   มะเขือเทศ ผักโขม แตงกวา

  • มะเขือเทศ มีวิตามินซีและเอ เบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัสสูง ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้อาการความดันโลหิตสูง รักษาโรคลักปิกลักเปิด ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น
  • ผักโขม มีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เป็นผักบำรุงน้ำนมสำหรับแม่ลูกอ่อน เป็นผักใบเขียวที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
  • แตงกวา อุดมไปด้วยวิตามินซี แคลเซียม ซิลิก้า โพแทสเซียม มีคุณสมบัติขจัดแบคทีเรีย ลดการอักเสบของผิวที่โดนแดด และคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว ขับปัสสาวะ

 

 

 

 

     มีนาคม

   ผักกวางตุ้ง เห็ดฟาง ถั่วฝักยาว หอมใหญ่ คะน้า

  • ผักกวางตุ้ง มีวิตามินซี แคลเซียม และเบต้าแคโรทีนสูง สรรพคุณช่วยบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ผักกวางตุ้งมีคาร์โบไฮเดรต และมีกากใยซึ่งช่วยในการขับถ่าย
  • เห็ดฟาง มีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันอุดตันเส้นเลือดและโรคหัวใจ
  • ถั่วฝักยาว มีโปรตีน วิตามินเอ เหล็ก ฟอสฟอรัส สรรพคุณลดอาการจุกเสียดแน่น เรอเปรี้ยว บำรุงม้าม ไต ปัสสาวะกระปิดกระปรอย และตกขาว
  • หอมใหญ่ เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ขับสารพิษจำพวกโลหะหนักและขับพยาธิ ลดคลอเรสเตอรอล ความดันเลือด และสามารถละลายลิ่มเลือด ช่วยเม็ดเลือดขาวทำลายย่อยสลายไวรัส
  • คะน้า มีวิตามินหลากหลายชนิด และเบต้าแคโรทีน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง วิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น บำรุงผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ มีโฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

 

 

 

     เมษายน

   หอมใหญ่ ถั่วฝักยาว เห็ดฟาง

  • หอมใหญ่ เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ขับสารพิษจำพวกโลหะหนักและขับพยาธิ ลดคลอเรสเตอรอล ความดันเลือด และสามารถละลายลิ่มเลือด ช่วยเม็ดเลือดขาวทำลายย่อยสลายไวรัส
  • ถั่วฝักยาว มีโปรตีน วิตามินเอ เหล็ก ฟอสฟอรัส สรรพคุณลดอาการจุกเสียดแน่น เรอเปรี้ยว บำรุงม้าม ไต ปัสสาวะกระปิดกระปรอย และตกขาว
  • เห็ดฟาง มีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันอุดตันเส้นเลือดและโรคหัวใจ

 

 

     พฤษภาคม

   ถั่วพู หอมใหญ่ มะละกอดิบ

  • ถั่วพู มีกากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย บำรุงร่างกายอ่อนเพลีย แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ ลมพิษกำเริบ
  • หอมใหญ่ เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ขับสารพิษจำพวกโลหะหนักและขับพยาธิ ลดคลอเรสเตอรอล ความดันเลือด และสามารถละลายลิ่มเลือด ช่วยเม็ดเลือดขาวทำลายย่อยสลายไวรัส
  • มะละกอดิบ แก้อาการขัดเบา ขับปัสสาวะ ยางของผลดิบเป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิ เป็นยาระบาย

 

 

     มิถุนายน

   ดอกกุยช่าย คะน้า เห็ด

  • ดอกกุยช่าย แก้โรคนิ่ว แก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ท้องอืด มีใยอาหารมากจึงกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ได้ดี แม่ลูกอ่อนควรรับประทานเพราะช่วยบำรุงน้ำนม
  • คะน้า มีวิตามินหลากหลายชนิด และเบต้าแคโรทีน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง วิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น บำรุงผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ มีโฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • เห็ด เป็นแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย

 

 

  

     กรกฎาคม

   ยอดตำลึง ผักบุ้งไทย

 

 

  • ยอดตำลึง กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้เริม งูสวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ผักบุ้งไทย มีวิตามินสูง ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฟางหรือโรคตาบอดกลางคืนได้ดี รักษาอาการตาแห้ง ลดอาการปวดของกระบอกตา

 

     สิงหาคม

   ผักกระเฉด หัวปลี ข้าวโพด

  • ผักกระเฉด ช่วยบำรุงร่างกาย ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้พิษไข้ ช่วยขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดหัวและถอนพิษยาเบื่อยาเมาได้
  • หัวปลี มีแร่ธาตุ ธาตุเหล็ก เป็นอาหารบำรุงน้ำนมของผู้หญิงที่กำลังมีบุตร ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจากการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ
  • ข้าวโพด กระตุ้นการเจริญอาหาร บำรุงปอด กระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ

 

     กันยายน

   ผักกระเฉด กวางตุ้ง บวบ

  • ผักกระเฉด ช่วยบำรุงร่างกาย ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้พิษไข้ ช่วยขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดหัวและถอนพิษยาเบื่อยาเมาได้
  • กวางตุ้ง มีวิตามินซี แคลเซียม และเบต้าแคโรทีนสูง สรรพคุณช่วยบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ผักกวางตุ้งมีคาร์โบไฮเดรต และมีกากใยซึ่งช่วยในการขับถ่าย
  • บวบ เป็นผักที่มีน้ำเยอะ บำรุงเม็ดเลือด เสริมสร้างกระดูกและฟัน เป็นยาแก้ร้อนใน ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด

 

 

     ตุลาคม

   มะระ ถั่วพู สายบัว ผักกระเฉด

  • มะระ แก้อาการคอแหบแห้งเนื่องจากหวัด บรรเทาอาการร้อนใน บำรุงสายตา บำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ถั่วพู มีกากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย บำรุงร่างกายอ่อนเพลีย แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ ลมพิษกำเริบ
  • สายบัว มีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหาร บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีเบต้าแคโรทีนที่ต้านโรคมะเร็งลำไส้ บรรเทาความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • ผักกระเฉด ช่วยบำรุงร่างกาย ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้พิษไข้ ช่วยขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดหัวและถอนพิษยาเบื่อยาเมาได้

 

     พฤศจิกายน

   ผักกาดขาว สายบัว

  • ผักกาดขาว กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ดับกระหาย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ และลดการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • สายบัว มีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหาร บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีเบต้าแคโรทีนที่ต้านโรคมะเร็งลำไส้ บรรเทาความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน

 

     ธันวาคม

   ถั่วแระ ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี

  • ถั่วแระ อุดมไปด้วยโปรตีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการวัยทอง มีใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการสูง
  • ถั่วลันเตา ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ถอนพิษ มักใช้บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นตะคริว เหน็บชา ปัสสาวะขัด
  • กะหล่ำปลี สามารถรักษาโรคกระเพาะอาหาร มีสารต้านมะเร็ง หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ มีการวิจัยพบว่า กะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดอาการปวดนมคัดหลังคลอดได้

 

 

 

บทความโดย Fineday

Pooyingnaka.com





แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement