กันแดด ทำงานอย่างไร?
ส่วนผสมในกันแดดจะทำหน้าที่ปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับหรือสะท้อนกลับ เป็นการป้องกัน UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง กันแดดที่ดีที่สุด คือ กันแดดที่สามารถป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ(ขึ้นอยู่กับความแรงของแสง) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรทากันแดดก่อนเผชิญแสงแดด 30 นาที
ค่า SPF คืออะไร?
SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor ซึ่งค่าของการปกป้องแสงแดดถูกกำหนดด้วยระบบของ SPF ส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB
ตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด เช่น SPF15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า เช่น คุณเผชิญแดดโดยไม่ได้ทากันแดดแล้วผิวไหม้ภายใน 20 นาที ถ้าหากทากันแดด SPF15 จะทำให้ถูกแสงแดดทำลายผิวให้ไหม้นั้น ต้องใช้เวลา เป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือประมาณ 300 นาที(5 ชั่วโมง)
ส่วนค่า SPF ที่มีตัวเลขต่อท้าย อาทิ SPF10, SPF15, SPF 60 สามารถนำมาคำนวณระยะเวลาในการปกป้องผิวจากยูวีบี โดยนำตัวเลขส่วนท้ายคูณด้วย 30 ผลลัพธ์ที่ได้หมายถึงจำนวนนาทีที่ครีมกันแดดชนิดนั้นจะป้องกันยูวีบีได้ เช่น SPF10 นำ 10x30 เท่ากับ 300 นาที
ค่า SPF ดูตามลักษณะของสีผิว
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนง่าย ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช้ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแทน ใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช้ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้ยากมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
ค่า SPF สูง ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป
กันแดดประมาณ SPF15 ก็เพียงพอสำหรับแสงแดดทั่วๆไป แต่สำหรับแสงแดดแรงๆหน้าร้อนและคนที่ผิวไวต่อแดดง่าย สามารถใช้ SPF30 ได้ แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ ก็ควรระวังเรื่องอาการแพ้หรือระคายเคืองที่จะเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับคนที่มีกิจกรรมกลางแจ้ง ก็ควรเพิ่มค่าSPFและมีคุณสมบัติกันน้ำ ตามความเหมาะสม
1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนังจากการทำลายของแสงแดด นั่นคือ กันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว
2. ปริมาณของการใช้กันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร แต่คนทั่วไป มักจะทากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น
กันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อย(กันน้ำ) ได้แก่
- Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
- Waterproof (=very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที
PA+ คืออะไร?
PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซึมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ
ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+, PA++ และ PA+++
- PA+ สำหรับผู้ที่ต้องการปกปกแสงแดด จากกิจกรรมทั่วๆไป
- PA+++ นั้นสำหรับผู้ที่ต้องการ การปกป้องสูง(เจอกับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน)