ถ้าพูดถึงเรื่องความสวยความงาม ก็คงจะบอกได้ว่า ผู้หญิงหลายๆคนหันมาใส่ใจดูแลร่างกายและผิวพรรณกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่เชื่อไหมคะว่า ผลงานการวิจัย(Dove Global Research 2010) พบว่ามีเพียง 4% ของผู้หญิงทั่วโลกเท่านั้น ที่พิจารณาว่าตนเองสวย และที่แย่ไปกว่านั้น ผลวิจัยพบผู้หญิงไทยเพียง 1% กล้าพูดว่าตนเองสวยและดูดี นั่นหมายความว่ามีผู้หญิงไทยมากถึง 99% ที่มีความไม่มั่นใจที่จะพูดถึงความสวยของตนเอง ทั้งที่ความเป็นจริงหญิงไทยไม่ได้ดูแย่ขนาดนั้น จริงไหมคะ?
สิ่งสำคัญที่ทำลายความเชื่อมั่นในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกของผู้หญิงก็คือ คำวิจารณ์ของตนเอง* ทัศนคติของตนเองที่มีต่อรูปร่างหน้าตาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำลายความเชื่อมั่นในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งผู้หญิงไทยถึง 66% มีความกดดันและกังวลในรูปลักษณ์ภายนอกของตนเอง แม้ว่าผู้หญิงไทยจะใช้เวลาในการดูแลเรื่องความงามในแต่ละวันนานถึง 24 นาที ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เวลาราว 19 นาที แต่ก็มีเพียง 1% ของผู้หญิงไทยที่มีความมั่นใจในความสวยงามของตนเองและกล้านิยามว่าตนเองดูดี ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่น้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ค่าเฉลี่ย 3%) และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วโลกที่ 4%**
*ที่มา: Dove Research 2013: The Real Truth About Beauty: Revisited
**Dove Global Research 2010
ทีนี้เรามาดูภาพยนตร์สั้นออนไลน์ "Real Beauty Sketches" ที่มีนักร่างภาพผู้ต้องสงสัยจากเอฟบีไอ ชี้ถึงอุปสรรคของผู้หญิงในการมองเห็นความงามในแบบของตนเอง พร้อมพิสูจน์ความแตกต่างอย่างสุดขั้วระหว่างความสวยของตนเองที่ผู้หญิงมองเห็นกับสิ่งที่คนอื่นมองเห็น
ภาพยนตร์สั้นชุด Real Beauty Sketches ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกิล ซาโมรา (Gil Samora) นักร่างภาพผู้ต้องสงสัยที่ได้รับการฝึกฝนจากสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) สำหรับภารกิจในครั้งนี้คือการร่างภาพตามคำบอกเล่าของผู้หญิง 7 คนที่บรรยายถึงรูปลักษณ์ของตนเองอยู่ภายหลังม่าน โดยก่อนหน้านั้นผู้หญิงแต่ละคนได้ถูกจับคู่ให้พบกับคนแปลกหน้าที่พวกเธอไม่รู้จักมาก่อนเป็นระยะสั้นๆ เพื่อให้กิล ซาโมราได้ร่างภาพที่ 2 ของพวกเธอผ่านคำบอกเล่าของคู่สนทนาแปลกหน้าเหล่านั้น เป็นที่น่าแปลกใจว่า ภาพร่างที่ร่างจากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นล้วนแล้วออกมาสวยงามมากกว่า ดูเป็นผู้หญิงที่มีความสุขมากกว่า และมักจะเป็นภาพที่ใกล้เคียงกับรูปลักษณ์ที่แท้จริงมากกว่า เมื่อเทียบกับภาพร่างที่ร่างจากคำบรรยายของตนเอง การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าความกดดันเรื่องรูปลักษณ์ที่หนักหนาที่สุดคือทัศนคติที่ผู้หญิงแต่ละวิพากษ์วิจารณ์รูปลักษณ์และความสวยของตัวเอง
ตอนที่ผมได้รับการทาบทามให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ ผมนึกไม่ออกเลยว่าภาพร่าง 2 ภาพที่ร่างจากคำบรรยายของคนสองคนจะต่างกันได้อย่างไร กิล ซาโมรา นักร่างภาพผู้ต้องสงสัยกล่าว
สิ่งที่ยังคงติดตาและอยู่ในความทรงจำผมคือปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้หญิงแต่ละคนเมื่อเขาได้มองไปที่ภาพร่างทั้ง 2 ภาพที่ถูกแขวนอยู่ข้างกัน ผมคิดว่าผู้หญิงทุกคนตระหนักได้ว่าเขาได้บิดเบือนความนึกคิดของภาพลักษณ์ของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างมาก
ภาพยนตร์สั้นเรื่องดังกล่าวบันทึกปฏิกิริยาของผู้หญิงแต่ละคนต่อรูปลักษณ์ของตนเอง และช่วงเวลาที่พวกเธอตระหนักว่าระดับความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) นั้นลดต่ำลงไปเพียงไร และได้ส่งผลต่อชีวิตของพวกเธออย่างไรบ้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงให้แรงบันดาลใจทั้งกับผู้หญิงที่ปรากฏในภาพยนตร์และผู้ชมทุกๆ คนในเรื่องการมองเห็นความงามในแบบตนเอง
ผลสรุปการวิจัย ทัศนคติและความมั่นใจต่อความงามของผู้หญิงไทยในปัจจุบัน
จัดทำโดยโดฟ บริษัทยูนิลีเวอร์
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้หญิงไทยอายุระหว่าง 18-64 ปี
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง: 301
ค่าความคลาดเคลื่อน: +/- 5.6%
วิธีการเก็บข้อมูล: ออนไลน์
ระยะเวลาการเก็บข้อมูล: 11-19 มีนาคม 2556
สรุปประเด็นสำคัญจากผลสำรวจ
ระดับความมั่นใจในรูปร่างและความสวยงามของผู้หญิงไทยสามารถเพิ่มขึ้นได้หากได้ทำสิ่งที่ตนเองรัก โดยผลการวิจัยพบว่าการได้ดูแลปรนนิบัติตนเอง การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง และการมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงกระฉับกระเฉง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้หญิงมั่นใจในความสวยงามของตนเองและมีความสุข อย่างไรก็ตามผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในความสวยงามของตัวเอง และรู้สึกกดดันที่จะต้องปรับปรุงรูปร่างหน้าตาของตนเองให้ดูดีขึ้น โดยตัวการสำคัญที่สุดเกิดจากคำวิจารณ์จากตนเองไม่ใช่จากบุคคลรอบข้าง นอกจากนี้ผู้หญิงไทยส่วนมากยังไม่กล้าที่จะบรรยายถึงรูปร่างหน้าตาตนเองว่าสวยและดูดี แต่เลือกที่จะพูดว่ารูปร่างหน้าตาอยู่ในระดับธรรมดาทั่วๆ ไป
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากระบุว่ากำลังมองหาทางออกที่จะทำให้ตนเองรู้สึกสวยและดูดีขึ้น อย่างไรก็ตามผู้หญิงไทยมองว่าความสวยงามเป็นเรื่องเหนือกาลเวลา โดยเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนมีความงามในแบบตนเอง อายุไม่ใช่เรื่องสำคัญที่จะทำให้ความงามลดลง แต่รูปลักษณ์ภายนอกต่างหากที่จะบ่งบอกว่าผู้หญิงคนไหนที่ดูดี ทั้งนี้ผู้หญิงไทยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเอง และรู้สึกดีเมื่อได้เอาใจใส่และดูแลตัวเองให้ดูดี อย่างไรก็ดีผู้หญิงไทยยอมรับว่ายังไม่ได้ดูแลและปรนนิบัติตนเองดีเท่าที่ควร แม้จะรู้ว่าการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยยกระดับความงามได้มากขึ้น
คำนิยามต่อรูปร่างหน้าตาตนเอง
มีผู้หญิงไทยเพียง 1% เท่านั้นที่กล้านิยามว่าตนเองสวยและดูดี;
o ผู้หญิงส่วนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลือกที่จะนิยามถึงรูปร่างหน้าตาตนเองอย่างถ่อมตน โดยจะเลือกใช้คำว่า ธรรมชาติ (31%) และ ธรรมดา (31%)
โดย 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าตนเองยังสามารถสวยและดูดีกว่าปัจจุบัน หากแต่ยังไม่ได้ดูแลตนเองอย่างเต็มที่;
o อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจในประเทศไทยระบุว่า การได้ดูแลความงามของตนเองเป็นอย่างดี เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดลำดับ 2 ในการสร้างความรู้สึกมั่นใจในความงามของตนเอง(65%) รองลงมาจากปัจจัยลำดับแรกคือการได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก (66%)
o ความสวยงามไม่จำกัดเฉพาะรูปร่างหน้าตาเพียงอย่างเดียว โดยจากผลสำรวจระบุว่า ผู้หญิง 79% มั่นใจว่าผู้หญิงทุกคนมีส่วนที่ดูดีอยู่ในตนเอง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงความงามของตนเองเท่ากับที่เป็นจริง
o ทั้งนี้ ผู้หญิงจำนวน 64% เชื่อว่าบางครั้งความสวยงามก็ไม่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก โดย 63% ระบุว่าจะรู้สึกว่าตนเองดูสวยที่สุดในเวลาที่มีความสุขและสมหวัง
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีรูปลักษณ์จากภายนอกที่ดูดี จะช่วยให้ผู้หญิงรู้สึกดีต่อตนเองขึ้นจากภายใน โดย 59% ของกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่าหากได้ดูแลความงามของตนเองในยามเช้าจะช่วยให้วันนั้นรู้สึกดีขึ้นทั้งกับตนเองและสิ่งรอบข้าง
ในประเทศไทย ผู้หญิง 70% ยอมรับว่าความมั่นใจในรูปลักษณ์ของตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตัวเองมีความสุข
การมีความสัมพันธ์ดีที่กับบุคคลใกล้ชิดและมีรูปร่างหน้าตาที่ดูดี เป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงไทยมีความสุข (79% ทั้งสองปัจจัย)
ความพึงพอใจในชีวิต
ผู้หญิงไทย 60% รู้สึกพอใจเมื่อพิจารณาถึงชีวิตและความเป็นอยู่โดยรวม แต่ 8% ยังไม่พอใจกับสภาพชีวิตโดยรวมของตน
มีเพียง 12% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยที่ระบุว่า พอใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อชีวิตและความเป็นอยู่โดยรวม
ผู้หญิงไทยมีความมั่นใจในรูปร่างและความงามของตนเองน้อยกว่าที่พอใจในภาพรวมของชีวิตและความเป็นอยู่ในปัจจุบัน (36% และ 55% ตามลำดับ)
o ความมั่นใจนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อได้ดูแลปรนนิบัติตัวเองอย่างดีขึ้น ผู้หญิงไทย 59% เผยว่าหากได้ดูแลรูปลักษณ์ตัวเองให้ดูดีตลอดวันจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น
o ความมั่นใจในรูปลักษณ์จะช่วยทำให้ผู้หญิงรู้สึกดีขึ้นต่อตนเองและการดำเนินชีวิตในภาพรวม
ความกดดันในรูปลักษณ์และความสวยงาม
ผู้หญิงไทยมากกว่าครึ่งยอมรับว่ากำลังรู้สึกกดดันว่าต้องมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม (66%).
ความกดดันต่อรูปร่างและความงามเป็นผลกระทบจากความไม่มั่นใจภายใน โดย 21% ของผู้หญิงไทยระบุว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้รู้สึกกดดันต่อรูปลักษณ์ตนเองคือคำวิจารณ์จากตนเอง ซึ่งมีผลกระทบมากกว่าคำวิจารณ์จากเพื่อนและครอบครัว (20%) จากสังคม (19%) และจากกระแสสื่อมวลชน (6%)
20% ของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพูดถึงเรื่องรูปร่างหน้าตา คำวิจารณ์ที่แย่ที่สุดมักจะมาจากตนเองไม่ใช่จากบุคคลอื่น
ความกดดันเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดูแลความงามของผู้หญิงไทย;
o 67% กำลังมองหาวิธีการที่จะปรับปรุงรูปร่างหน้าตาตนเองให้ดูดีขึ้น
o แต่ส่วนใหญ่แล้วจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ โดยผู้หญิงไทย 56% มีความเห็นว่าเมื่อตนเองดูแลปรนนิบัติตัวเองจะเกิดความพอใจในรูปร่างหน้าตาตนเองมากขึ้น และเป็นความรู้สึกดีที่เกิดจากภายใน
o ผู้หญิงไทยมากกว่าครึ่ง (55%) รู้สึกพอใจกับระยะเวลาและกรรมวิธีดูแลความงามในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงไทยเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาเฉลี่ยในการดูแลปรนนิบัติความงามในแต่ละวันนานที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (24 นาที เทียบกับทั่วภูมิภาคเฉลี่ย 19 นาที)
88% ของผู้หญิงไทยมีส่วนของร่างกายที่ตนเองยังไม่พอใจ และโดยทั่วไปผู้หญิงไทยไม่พอใจในรูปร่างของตนเองมากที่สุด สำหรับที่ชอบมากที่สุดคือส่วนที่สามารถเสริมแต่งได้ง่าย
o รอยยิ้ม (39%) และตา (38%) ของตนเองคือส่วนที่ผู้หญิงไทยพึงพอใจมากที่สุด โดยระบุว่าสามารถใช้การแต่งหน้าทำให้ตาสวยขึ้นได้ ส่วนรอยยิ้มก็สามารถทำให้ดูสดใสขึ้นโดยการเข้าคอร์สฟอกสีฟันหรือทาลิปสติก
o ผู้หญิงไทยจำนวน 28% ไม่พอใจในหน้าท้องของตนเอง ลำดับรองลงมาคือเรียวขา (19%) และสะโพก (16%) ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถมองเห็นได้ง่ายและมักถูกสังเกตเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่แก้ไขยาก
ข้อมูลอ้างอิง:
- Dove Research 2013: The Real Truth About Beauty: Revisited
- Dove Global Research 2010