เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยและเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อย อาหารจึงมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการโดยรวม ในแต่ละเดือนคุณแม่จะมีอาการที่แตกต่างกันไปบ้าง และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ก็ต่างกันไปในแต่ละเดือน สำหรับคุณแม่แล้ว การทานอาหารที่มีประโยชน์นอกจากจะช่วยพัฒนาลูกน้อยในครรภ์แล้ว ยังช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วยนะคะ
อายุครรภ์ เดือนที่ 1
- ควรดื่มน้ำผลไม้สด หรือนมวันละ 1 แก้ว หากแพ้ท้องควรงดดื่มนมไว้ก่อนค่ะ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีโฟเลต ( ถั่วลันเตา คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หน่อไม้ฝรั่ง และบร็อกโคลี ) และอาหารประเภทปลาทะเลที่มีดีเอชเอ เช่นปลาทูน่า ปลาแซลมอน
อายุครรภ์ เดือนที่ 2
- หากมีอาการแพ้ท้องควรรับประทานอาหารอ่อนๆและย่อยง่าย เช่นข้าวต้มหรือโจ๊ก
- เลือกผลไม้สดเป็นอาหารว่าง
อายุครรภ์ เดือนที่ 3
- คุณแม่บางท่านเริ่มมีอาการท้องผูก ควรดื่มน้ำให้มากๆ และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มเส้นใย
อายุครรภ์ เดือนที่ 4
- คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว เน้นทานโปรตีนและธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะอยู่ในตับ ไข่แดง นม ใบตำลึง และใบขี้เหล็ก รวมไปถึงผักใบเขียวต่างๆ ช่วงนี้ทารกในครรภ์เริ่มมีการสร้างกระดูกและฟันแล้วค่ะ
อายุครรภ์ เดือนที่ 5
- สมองและระบบประสาทของลูกน้อยยังเจริญเติบโต คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ได้แก่ ดีเอชเอ โฟเลต สังกะสี และวิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
อายุครรภ์ เดือนที่ 6
- คุณแม่อาจเป็นตะคริวบ่อยครั้ง ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินสูง เช่น นม ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ไข่ ถั่วลิสงและเครื่องในสัตว์
อายุครรภ์ เดือนที่ 7
- คุณแม่ต้องการพลังงานจากาสารอาหารมากขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เนื้อปลา ปลาตัวเล็ก ผักและผลไม้ เพื่อสะสมสารอาหารที่จำเป็นไว้สำหรับเตรียมให้น้ำนมกับลูกหลังคลอด
อายุครรภ์ เดือนที่ 8
- ลูกน้อยเริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และมีการสร้างอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยในการพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
อายุครรภ์ เดือนที่ 9
- เป็นระยะใกล้คอลด ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้เพียงพอหลังคลอด และควรรับประทานธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว งา ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตที่จะต้องสูญเสียในขณะคลอด
โดยสรุปแล้วในแต่ละเดือนควรทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดื่มนมวันละ 1-2 กล่อง เลี่ยงอาหารหวาน ขนมหวาน อาหารทอดและอาหารที่มีไขมันเยอะ เน้นทานผัก ผลไม้ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการเสียดท้อง ควรทานอาหารที่ย่อยง่าย เน้นอาหารประเภทเนื้อปลาค่ะ
เรียบเรียงข้อมูลจาก คู่มือเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกน้อย EnfaMama A+
- เลือกผลไม้สดเป็นอาหารว่าง
อายุครรภ์ เดือนที่ 3
- คุณแม่บางท่านเริ่มมีอาการท้องผูก ควรดื่มน้ำให้มากๆ และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มเส้นใย
อายุครรภ์ เดือนที่ 4
- คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว เน้นทานโปรตีนและธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะอยู่ในตับ ไข่แดง นม ใบตำลึง และใบขี้เหล็ก รวมไปถึงผักใบเขียวต่างๆ ช่วงนี้ทารกในครรภ์เริ่มมีการสร้างกระดูกและฟันแล้วค่ะ
อายุครรภ์ เดือนที่ 5
- สมองและระบบประสาทของลูกน้อยยังเจริญเติบโต คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ได้แก่ ดีเอชเอ โฟเลต สังกะสี และวิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
อายุครรภ์ เดือนที่ 6
- คุณแม่อาจเป็นตะคริวบ่อยครั้ง ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินสูง เช่น นม ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ไข่ ถั่วลิสงและเครื่องในสัตว์
อายุครรภ์ เดือนที่ 7
- คุณแม่ต้องการพลังงานจากาสารอาหารมากขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เนื้อปลา ปลาตัวเล็ก ผักและผลไม้ เพื่อสะสมสารอาหารที่จำเป็นไว้สำหรับเตรียมให้น้ำนมกับลูกหลังคลอด
อายุครรภ์ เดือนที่ 8
- ลูกน้อยเริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และมีการสร้างอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยในการพัฒนาสมอง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
อายุครรภ์ เดือนที่ 9
- เป็นระยะใกล้คอลด ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้เพียงพอหลังคลอด และควรรับประทานธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว งา ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตที่จะต้องสูญเสียในขณะคลอด
โดยสรุปแล้วในแต่ละเดือนควรทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดื่มนมวันละ 1-2 กล่อง เลี่ยงอาหารหวาน ขนมหวาน อาหารทอดและอาหารที่มีไขมันเยอะ เน้นทานผัก ผลไม้ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการเสียดท้อง ควรทานอาหารที่ย่อยง่าย เน้นอาหารประเภทเนื้อปลาค่ะ
เรียบเรียงข้อมูลจาก คู่มือเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งพัฒนาการลูกน้อย EnfaMama A+