ก่อนที่จะพูดถึงปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารต่างๆ ควรอ่านบทความเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลสักนิด เพื่อความรู้และความเข้าใจนะคะ
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงคอเลสเตอรอลหลายคนอาจนึกถึงไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคหัวใจ และโรคอ้วน ซึ่งจริงๆแล้วถึงแม้คอเลสเตอรอลจะเป็นหนึ่งในไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายของคนเรา แต่คอเลสเตอรอลก็ไม่ใช่จะมีแต่โทษ และหาใช่จะเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่เฉพาะในเซลล์ไขมันเท่านั้น เพราะอันที่จริงแล้วคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของเซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์สมอง เซลล์ประสาท เซลล์อสุจิ และเซลล์ไข่ จึงอาจกล่าวได้ว่าคอลเสเตอรอลครอบคลุมไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย
คอเลสเตอรอลมีบทบาทอย่างไร
คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปในเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังเซลล์หรือเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายของเรา คือ ส่วนสำคัญที่คอเลสเตอรอลเข้าไปมีบทบาท โดยคอเลสเตอรอลจะไปช่วยทำหน้าที่เสริมสร้างความยืดหยุ่นและแข็งแรงให้กับผนังหรือเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้นคอเลสเตอรอลยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนคอร์ติซอนซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำ เกลือแร่และน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้น การผลิตกรดน้ำดี เซลล์ประสาท ระบบภูมิต้านทานเชื้อโรค วิตามินดี ไปจนถึงระบบต่อต้านกับเซลล์ที่แบ่งตัวผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง ก็ล้วนแล้วแต่มีคอเลสเตอรอลเข้าไปเกี่ยวข้องและมีบทบาทอยู่ด้วยทั้งสิ้น
สาเหตุที่นำไปสู่การอุดตันของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
คอเลสเตอรอลจะเริ่มเป็นภัยต่อสุขภาพก็ต่อเมื่อร่างกายของคนคนนั้น มีระดับของคอเลสเตอรอลอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป โดยปกติไขมันจำพวกคอเลสเตอรอลจะมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำไม่สามารถอยู่ในกระแสเลือดได้ ด้วยเหตุนี้มันจึงต้องเปลี่ยนสภาพด้วยตัวเองเป็นสารตัวใหม่ที่มีชื่อว่า ไลโปโปรตีน ซึ่งสามารถละลายในน้ำรวมถึงเลือดได้ง่าย และมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ LDL, HDL, VLDL และไคโลมีครอน ทั้ง 4 ชนิดนี้มีตัวที่อันตรายอยู่ตัวหนึ่ง นั่นคือ LDL ทั้งนี้เนื่องจาก LDL มักจะเข้าไปติดอยู่ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งหากติดสะสมมากๆก็จะทำให้หลอดเลือดอุดตัน ตรงกันข้ามกับ HDL ซึ่งถือว่าเป็นคอเลสเตอรอลร้ายอย่าง LDL ออกจากผนังหลอดเลือดได้ แต่ถ้าหากระดับของ LDL มีมากเกินไป HDL ก็เก็บกวาดไม่ไหวเหมือนกัน ในที่สุดก็ต้องปล่อยให้ LDL อุดตันในหลอดเลือด หลังจากนั้นก็จะทำให้ให้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
ค่าของระดับคอเลสเตอรอลที่เหมาะสม
ปกติแล้วค่าของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่แพทย์ตรวจวัดให้ จะเป็นคอเลสเตอรอลโดยรวม คือมีทั้งคอเลสเตอรอลดีและร้ายทั้ง 4 ชนิดรวมกัน โดยจะไม่มีการมาแยกแยะว่า คุณมีคอเลสเตอรอลชนิดใดในปริมาณเท่าไร คุณสามารถให้แพทย์ตรวจเช็คให้ อย่างไรก็ตามหากระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมขึ้นสูง ค่าของ LDL ก็มักจะสูงขึ้นตามเพราะกว่าครึ่งหนึ่งของค่าคอเลสเตอรอลรวมจะเป็น LDL
สำหรับคนหนุ่มสาวที่ถือว่ามีระดับของคอเลสเตอรอลรวมในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติจะอยู่ที่ 160 มิลลิกรัมต่อเลือดหนึ่งเดซิลิตร อย่างไรก็ดีหากสูงวัยมากกว่านี้ระดับของคอเลสเตอรอลก็อาจจะสูงขึ้นได้ตามวัยที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวก็อย่างเช่น เป็นโรคเบาหวาน น้ำหนักตัวที่มากเกินขนาด ระดับความดันโลหิตสูง การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รวมถึงการสูบบุหรี่จัดและความเครียด ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ ระดับ LDL ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นสูง แต่ไม่ว่าปัจจัยเสี่ยงจะมีมากน้อยแค่ไหนหากระดับของ LDLยังไม่สูงเกิน 130 มิลลิกรัม ต่อหนึ่งเดซิลิตร ก็ถือว่าไม่เป็นอันตราย
ส่วนค่าของ HDL สำหรับผู้หญิงไม่ควรอยู่ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือดหนึ่งเดซิลิตร และสำหรับผู้ชายไม่ควรอยู่ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเลือดหนึ่งเดซิลิตร นั่นหมายความว่าสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง LDL กับ HDL ควรจะอยู่ที่LDL 3 ส่วน ต่อ HDL 1 ส่วน ตราบใดที่สัดส่วนนี้คงอยู่ในระดับของคอเลสเตอรอลรวม สุขภาพของคุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล
โภชนาการที่ได้สัดส่วนมีส่วนช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลได้อย่างไร
การทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกันและรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด
1. สำหรับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติในแต่ละวันไม่ควรรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลเกิน 300 มก.
2. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20.0 - 24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง เช่นน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.5 เมตร จะได้ดัชนีความหนาของร่างกาย = 50x (1.5)2 = 22.2 กิโลกรัม/ตารางเมตร แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างเช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ นื้อสัตว์ติดมัน และที่สำคัญในช่วงหน้านี้ก็คือทุเรียน เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงมาก จึงสามารถทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดขึ้นสูงได้อย่างรวดเร็ว
4. รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกอย่างสม่ำเสมอ เพราะกรดไขมันชนิดนี้สามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล LDL ได้ แหล่งอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกสูงได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจากสาเหตุอื่นๆเช่น กรรมพันธุ์ หรือป่วยเป็นโรคบางชนิด นอกจากต้องควบคุมเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษแล้ว อาจจะต้องรับประทานยาช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลด้วย
ตารางปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารต่างๆ
ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารที่นำมาเสนอในตารางต่อไปนี้มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักของอาหารใน 100 กรัมเท่ากัน
ไข่ นม เนย ขนม |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
ไข่ไก่ดิบ |
2 ฟองใหญ่ |
548 |
ไข่เป็ด |
2 ฟองกลาง |
884 |
ไข่แดง |
6 ฟองใหญ่ |
1,281 |
ไข่นกกระทา |
11 ฟองใหญ่ |
844 |
ไข่ปลาดิบ |
10 ช้อนชา |
374 |
ขนมปังขาว |
6 แผ่น |
1 |
คุกกี้ธรรมดา |
1 ชิ้นละ 7 กรัม 14 ชิ้น |
117 |
เค้กเนย |
1ชิ้นของขนาด 1 ปอนด์ตัด 5 ชิ้น |
221 |
เค้กชอคโกแลต |
1 ชิ้นของขนาด 1 ปอนด์ตัด 5 ชิ้น |
58 |
นมวัวสด |
100 มิลลิลิตร |
14 |
นมพร่องไขมัน |
100 มิลลิลิตร |
2 |
นมเปรี้ยว |
100 มิลลิลิตร |
6 |
เนย |
7 ช้อนโต๊ะ |
219 |
มายองเนส |
6.5 ช้อนโต๊ะ |
26 |
โยเกิร์ตธรรมดา |
6.5 ช้อนโต๊ะ |
13 |
โยเกิร์ตพร่องไข่มัน |
6.5 ช้อนโต๊ะ |
2 |
ไอศกรีมชอคโกแลต |
12 ช้อนโต๊ะ |
34 |
ไอศกรีมวานิลลา |
12 ช้อนโต๊ะ |
45 |
ไอศกรีมสตรอเบอร์รี่ |
12 ช้อนโต๊ะ |
29 |
ไอศกรีมรสส้ม |
12 ช้อนโต๊ะ |
7 |
|
|
|
เครื่องในสัตว์ |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
กระเพาะหมูสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
276 |
ตับหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
355 |
ไตหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
480 |
ปอดหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
387 |
ม้ามหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
504 |
ลิ้นหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
146 |
สมองหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
2,552 |
ไส้หมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
143 |
หัวใจหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
221 |
หูหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
90 |
ตับไก่ |
10 ช้อนโต๊ะ |
631 |
กึ๋นไก่ |
8 ช้อนโต๊ะ |
171 |
ตับเป็ดสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
740 |
ตับวัวสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
389 |
|
|
|
เนื้อสัตว์ |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
เนื้อหมูล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
93 |
เนื้อไก่ล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
89 |
เนื้อเป็ดล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
89 |
เนื้อห่านล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
96 |
เนื้อวัวล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
86 |
เนื้อแกะล้วนสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
92 |
|
|
|
น้ำมัน มันสัตว์ |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
น้ำมันหมู |
8 ช้อนโต๊ะ |
95 |
มันหมูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
91 |
หมูสามชั้น |
7 ช้อนโต๊ะ |
72 |
หนังไก่ทอด |
2.5 ช้อนโต๊ะ |
74 |
หนังหมูทอด |
2.5 ช้อนโต๊ะ |
95 |
|
|
|
สัตว์น้ำ |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
กุ้งลวกสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
195 |
กุ้งล็อบสเตอร์สุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
90 |
ทูน่าในน้ำมัน |
7 ช้อนโต๊ะ |
31 |
เนื้อปูสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
100 |
ปลากระบอกสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
60 |
ปลากระพงขาวสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
50 |
ปลากระพงแดงสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
45 |
ปลาเก๋าสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
47 |
ปลาช่อนสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
47 |
ปลาซาร์ดีนในซอสมะเชือเทศ |
8 ช้อนโต๊ะ |
61 |
ปลาแซลมอนสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
70 |
ปลาดุกสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
58 |
ปลาทูสุก |
8 ช้อนโต๊ะ |
57 |
ปลาเล็กปลาน้อย |
8 ช้อนโต๊ะ |
73 |
ปลาหมึกกระดองสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
224 |
ปลาหมึกกล้วยสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
260 |
ปลาอินทรีสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
93 |
ปลาโอสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
46 |
หอยแครงสุก |
15 ตัวขนาดกลาง |
67 |
หอยเชลล์สุก |
7 ตัวขนาดกลาง |
61 |
หอยนางรมสุก |
4 ตัวขนาดกลาง |
100 |
หอยแมลงภู่สุก |
15 ตัวขนาดกลาง |
56 |
หูฉลามสุก |
10 ช้อนโต๊ะ |
59 |
|
|
|
อาหารแปรรูปจากสัตว์ |
ปริมาณของอาหารใน 100 กรัม |
ปริมาณคอเลสเตอรอล(มก.) |
กุนเชียงหมู |
10 ช้อนโต๊ะ |
93 |
เบคอน |
10 ช้อนโต๊ะ |
85 |
ลูกชิ้นเนื้อ |
15 ลูกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. |
18 |
ลูกชิ้นหมู |
15 ลูกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. |
14 |
ลูกชิ้นปลา |
15 ลูกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. |
10 |
ไส้กรอกไก่ |
20 ชิ้นขนาด 4 ซม. |
101 |
ไส้กรอกหมูรมควัน |
20 ชิ้นขนาด 4 ซม. |
68 |
ไส้กรอกหมู |
20 ชิ้นขนาด 4 ซม. |
83 |
แฮม |
10 ช้อนโต๊ะ |
59 |
Pooyingnaka.com