รู้จัก "วันนั้นของเดือน"
ประจำเดือนเป็นสัญญาณเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือวัยที่สามารถมีลูกได้ รอบเดือนตามปกติจะกินเวลา 21-35 วัน (โดยเฉลี่ย 28 วัน) แต่ละครั้งใช้เวลา 2-8 วัน (ตามปกติ 4-6 วัน) รอบเดือนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเครียด อายุ น้ำหนักลดหรือเพิ่ม การมีบุตร
ผู้หญิงสมัยนี้มีประจำเดือนยาวนานกว่าผู้หญิงสมัยก่อน (400-500 ครั้งตลอดชีวิต) เนื่องจากเริ่มมีเร็วกว่า อายุยืนขึ้น และตั้งท้องน้อยลง
คำถามที่ต้องการคำตอบ
การนับรอบประจำเดือนทำยังไง? ต้องนับวันแรกของการมีประจำเดือนหรือนับวันสุดท้าย? แล้วจำเป็นต้องมีประจำเดือนตรงกันทุกเดือนมั้ย?
การที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนเป็นเรื่องที่ดีด้วยเหตุผลหลายอย่าง ประการแรก สะดวกต่อการเตรียมผ้าอนามัยพกพาติดตัวไปด้วยเวลาประจำเดือนใกล้มา จะได้ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนให้เสียอารมณ์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะจะได้ช่วยในการคำนวณเวลาไข่ตก (ซึ่งจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ง่าย) และรู้ว่าเมื่อไหร่ประจำเดือนครั้งต่อไปจะมา ทางที่ดีลองทำเครื่องหมาย "วันนั้นของเดือน" ไว้บนปฎิทินกันลืมไว้ด้วย
การนับรอบเดือนให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งนี้ไปจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งถัดไป จะกินเวลาอย่างเร็วก็ 25 วัน ส่วนอย่างช้าก็ 30 วัน รอบประจำเดือนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งความเครียด น้ำหนักขึ้นลง แม้แต่การใช้ยาคุมกำเนิด
ส่วนระยะเวลาไข่ตกหมายถึงช่วงเวลาที่มดลูกจะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน และมักเกิดขึ้นกลางรอบเดือน คนส่วนมากไม่รู้เวลาไข่ตกของตัวเอง เลยไม่นิยมการคุมกำเนิดแบบนับวันปลอดภัย ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อรู้กำหนดประจำเดือนที่แน่นอน
จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
สัปดาห์ที่ 1 ในแต่ละเดือนต่อพิทูอินารี่ในสมองจะส่งสัญญาณไปยังรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) และ luteinzing hormone (LH) ซึ่งกระตุ้นให้ไข่ตกอย่างน้อยหนึ่งใบ เพื่อเติบโตเป็นไข่สุกต่อไป เมื่อไข่สุก มันจะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา ทำให้ผนังของมดลูกหนาขึ้น
สัปดาห์ที่ 2 การตกไข่ - เมื่อไข่สุกเต็มที่จะถูกปล่อยออกมาจากช่องว่างในรังไข่ไปยังปลายท่อรังไข่ข้างหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายท่อ และเริ่มเคลื่อนตัวไปยังมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเมื่อไข่ตก แต่บางคนจะรู้สึกปวดท้องน้อยแปลบๆ ระยะนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดของเหลวออกมาทางช่องคลอด ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะถูกปล่อยออกมา เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงผนังมดลูก
สัปดาห์ที่ 3 หลังไข่ตก - ระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะสูงขึ้น ของเหลวที่ปล่อยออกมาทางช่องคลอดจะข้นขึ้นและน้อยลง (เกือบไม่มี) เมื่อสเปิร์มผสมกับไข่ระหว่างเคลื่อนไปที่ท่อรังไข่การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้น จากนั้นผนังมดลูกจะเตรียมพร้อมรองรับและบำรุงไข่ที่ได้รับการผสมนั้น ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมจากสเปิร์ม มันจะสลายและไหลออกมาทางช่องคลอด (ปกติจะเกิดก่อนการมีประจำเดือน) และช่องว่างในรังไข่จะเริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนน้อยลง ใช้เวลาประมาณ 12 วัน
สัปดาห์ที่ 4 (การเกิดประจำเดือน) เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง ผนังในมดลูกจะหยุดการหล่อเลี้ยงและลอกตัวออกมากลายเป็นประจำเดือนในที่สุด เมื่อเกิดประจำเดือนครั้งใหม่ วงจรทั้งหมดก็จะเริ่มต้นขึ้น
ทำไมต้องหงุดหงิด หรือสิวขึ้นมากทุกครั้งที่มีประจำเดือน
เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า "อาการก่อนมีประจำเดือน" ซึ่งมีมากมายหลายแบบ บางคนไม่เป็นอะไรเลย ขณะที่บางคนปวดท้อง บางคนรู้สึกระคายเคืองช่องคลอด การเกิดอาการเหล่านี้ไม่มีสาเหตุทางชีวภาพที่แน่นอนแต่ที่แน่ๆคือ ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนจะลดลงต่ำสุด จำกัดการบริโภคเกลือ น้ำตาล คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่เน้นผักและคาร์โบไฮเดรต อาการก่อนมีประจำเดือนนี้อาจเกิดต่อเนื่องในขณะมีประจำเดือนด้วย
อาการก่อนมีประจำเดือน
หดหู่ เครียด อารมณ์เสีย อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ วิตามินบีและแคลเซียมช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
บวม โซเดียมในเกลือทำให้เกิดน้ำขัง โดยเฉพาะที่ท้องและหน้าอก ทำให้บวมได้
อ่อนเพลียและปวดหัว พักผ่อนและกินยาบรรเทาปวดเพื่อลดอาการดังกล่าว
เป็นสิว ใช้วิธีการรักษาสิวตามปกติ
เจ็บหน้าอก หน้าอกจะเต่งขึ้นและรู้สึกเจ็บ (คัดหน้าอก)
ปวดหัว ปวดหลัง - โพรสทาแกลนดีส (เป็นชื่อของสารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน) คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน (เป็นสารชนิดเดียวกับที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูกด้วย) สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา การหดตัวนี้มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง บางครั้งอาจปวดเลยไปถึงบริเวณหลัง เป็นสาเหตุให้ปวดหลังด้วย ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารโพรสทาแกลนดีสได้ ดังนั้นจึงควรออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟินออกมา เป็นการระงับการปวดตามธรรมชาติ ทำใจให้สบาย และหายใจลึกๆ
ยังมีวิธีธรรมชาติอื่นๆที่ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ได้ผลเฉพาะบางคนเท่านั้น คือ จิบชาสมุนไพรร้อนๆ กินวิตามินซี แคลเซียม และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส การอาบน้ำอุ่นหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณท้องน้อยก็ช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน
เวลาเกิดอาการต่างๆก่อนมีประจำเดือน ต้องรู้จักดูแลตัวเอง ลองใช้วิธีรักษาหลายๆวิธี สังเกตดูว่าวิธีไหนใช้ได้ผล ถ้าหลังมีประจำเดือนแล้วอาการต่างๆยังไม่ทุเลาลง แต่กลับเป็นหนักขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
ประจำเดือนเป็นสัญญาณเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือวัยที่สามารถมีลูกได้ รอบเดือนตามปกติจะกินเวลา 21-35 วัน (โดยเฉลี่ย 28 วัน) แต่ละครั้งใช้เวลา 2-8 วัน (ตามปกติ 4-6 วัน) รอบเดือนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเครียด อายุ น้ำหนักลดหรือเพิ่ม การมีบุตร
ผู้หญิงสมัยนี้มีประจำเดือนยาวนานกว่าผู้หญิงสมัยก่อน (400-500 ครั้งตลอดชีวิต) เนื่องจากเริ่มมีเร็วกว่า อายุยืนขึ้น และตั้งท้องน้อยลง
คำถามที่ต้องการคำตอบ
การนับรอบประจำเดือนทำยังไง? ต้องนับวันแรกของการมีประจำเดือนหรือนับวันสุดท้าย? แล้วจำเป็นต้องมีประจำเดือนตรงกันทุกเดือนมั้ย?
การที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนเป็นเรื่องที่ดีด้วยเหตุผลหลายอย่าง ประการแรก สะดวกต่อการเตรียมผ้าอนามัยพกพาติดตัวไปด้วยเวลาประจำเดือนใกล้มา จะได้ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนให้เสียอารมณ์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะจะได้ช่วยในการคำนวณเวลาไข่ตก (ซึ่งจะทำให้ตั้งครรภ์ได้ง่าย) และรู้ว่าเมื่อไหร่ประจำเดือนครั้งต่อไปจะมา ทางที่ดีลองทำเครื่องหมาย "วันนั้นของเดือน" ไว้บนปฎิทินกันลืมไว้ด้วย
การนับรอบเดือนให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งนี้ไปจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งถัดไป จะกินเวลาอย่างเร็วก็ 25 วัน ส่วนอย่างช้าก็ 30 วัน รอบประจำเดือนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งความเครียด น้ำหนักขึ้นลง แม้แต่การใช้ยาคุมกำเนิด
ส่วนระยะเวลาไข่ตกหมายถึงช่วงเวลาที่มดลูกจะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน และมักเกิดขึ้นกลางรอบเดือน คนส่วนมากไม่รู้เวลาไข่ตกของตัวเอง เลยไม่นิยมการคุมกำเนิดแบบนับวันปลอดภัย ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อรู้กำหนดประจำเดือนที่แน่นอน
จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
สัปดาห์ที่ 1 ในแต่ละเดือนต่อพิทูอินารี่ในสมองจะส่งสัญญาณไปยังรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) และ luteinzing hormone (LH) ซึ่งกระตุ้นให้ไข่ตกอย่างน้อยหนึ่งใบ เพื่อเติบโตเป็นไข่สุกต่อไป เมื่อไข่สุก มันจะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา ทำให้ผนังของมดลูกหนาขึ้น
สัปดาห์ที่ 2 การตกไข่ - เมื่อไข่สุกเต็มที่จะถูกปล่อยออกมาจากช่องว่างในรังไข่ไปยังปลายท่อรังไข่ข้างหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายท่อ และเริ่มเคลื่อนตัวไปยังมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเมื่อไข่ตก แต่บางคนจะรู้สึกปวดท้องน้อยแปลบๆ ระยะนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงขึ้น ทำให้เกิดของเหลวออกมาทางช่องคลอด ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะถูกปล่อยออกมา เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงผนังมดลูก
สัปดาห์ที่ 3 หลังไข่ตก - ระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะสูงขึ้น ของเหลวที่ปล่อยออกมาทางช่องคลอดจะข้นขึ้นและน้อยลง (เกือบไม่มี) เมื่อสเปิร์มผสมกับไข่ระหว่างเคลื่อนไปที่ท่อรังไข่การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้น จากนั้นผนังมดลูกจะเตรียมพร้อมรองรับและบำรุงไข่ที่ได้รับการผสมนั้น ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมจากสเปิร์ม มันจะสลายและไหลออกมาทางช่องคลอด (ปกติจะเกิดก่อนการมีประจำเดือน) และช่องว่างในรังไข่จะเริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนน้อยลง ใช้เวลาประมาณ 12 วัน
สัปดาห์ที่ 4 (การเกิดประจำเดือน) เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง ผนังในมดลูกจะหยุดการหล่อเลี้ยงและลอกตัวออกมากลายเป็นประจำเดือนในที่สุด เมื่อเกิดประจำเดือนครั้งใหม่ วงจรทั้งหมดก็จะเริ่มต้นขึ้น
ทำไมต้องหงุดหงิด หรือสิวขึ้นมากทุกครั้งที่มีประจำเดือน
เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า "อาการก่อนมีประจำเดือน" ซึ่งมีมากมายหลายแบบ บางคนไม่เป็นอะไรเลย ขณะที่บางคนปวดท้อง บางคนรู้สึกระคายเคืองช่องคลอด การเกิดอาการเหล่านี้ไม่มีสาเหตุทางชีวภาพที่แน่นอนแต่ที่แน่ๆคือ ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนจะลดลงต่ำสุด จำกัดการบริโภคเกลือ น้ำตาล คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่เน้นผักและคาร์โบไฮเดรต อาการก่อนมีประจำเดือนนี้อาจเกิดต่อเนื่องในขณะมีประจำเดือนด้วย
อาการก่อนมีประจำเดือน
หดหู่ เครียด อารมณ์เสีย อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ วิตามินบีและแคลเซียมช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
บวม โซเดียมในเกลือทำให้เกิดน้ำขัง โดยเฉพาะที่ท้องและหน้าอก ทำให้บวมได้
อ่อนเพลียและปวดหัว พักผ่อนและกินยาบรรเทาปวดเพื่อลดอาการดังกล่าว
เป็นสิว ใช้วิธีการรักษาสิวตามปกติ
เจ็บหน้าอก หน้าอกจะเต่งขึ้นและรู้สึกเจ็บ (คัดหน้าอก)
ปวดหัว ปวดหลัง - โพรสทาแกลนดีส (เป็นชื่อของสารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน) คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน (เป็นสารชนิดเดียวกับที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูกด้วย) สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา การหดตัวนี้มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง บางครั้งอาจปวดเลยไปถึงบริเวณหลัง เป็นสาเหตุให้ปวดหลังด้วย ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารโพรสทาแกลนดีสได้ ดังนั้นจึงควรออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟินออกมา เป็นการระงับการปวดตามธรรมชาติ ทำใจให้สบาย และหายใจลึกๆ
ยังมีวิธีธรรมชาติอื่นๆที่ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ได้ผลเฉพาะบางคนเท่านั้น คือ จิบชาสมุนไพรร้อนๆ กินวิตามินซี แคลเซียม และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส การอาบน้ำอุ่นหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณท้องน้อยก็ช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน
เวลาเกิดอาการต่างๆก่อนมีประจำเดือน ต้องรู้จักดูแลตัวเอง ลองใช้วิธีรักษาหลายๆวิธี สังเกตดูว่าวิธีไหนใช้ได้ผล ถ้าหลังมีประจำเดือนแล้วอาการต่างๆยังไม่ทุเลาลง แต่กลับเป็นหนักขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ