สายด่วนปรับทุกข์สู้โควิด! เช็คอาการและสุขภาพจิตของคุณก่อนจะสายเกินไป




สายด่วนปรับทุกข์สู้โควิด! เช็คอาการและสุขภาพจิตของคุณก่อนจะสายเกินไป

ในนาทีนี้เชื่อว่าแทบทุกคน ไม่ว่าจะกลุ่มที่สู้อยู่แนวหน้า กลุ่มคนที่ต้องออกไปทำงาน หรือกลุ่มที่กักตัวอยู่ในบ้านก็ตาม ต่างได้รับผลกระทบเรื่องความเครียดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กันหมด โดยสาเหตุเกิดได้จากเหตุเหล่านี้
• กลัวและกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก
• การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการนอนหรือรับประทานอาหาร
• ไม่มีสมาธิหรือนอนหลับยากขึ้น
• ปัญหาสุขภาพเรื้อรังแย่ลงในขณะที่การบริการด้านต่างๆขาดแคลนหรือถูกระงับชั่วคราวอยู่
• ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น

โดยหากใครไม่แน่ใจ สามารถสำรวจระดับความเครียดของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ เครียด, กังวล และ ซึมเศร้า แต่ละภาวะมีลักษณะต่างกันตามนี้

ภาวะเครียด

ความเครียดเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ผิดปกติ แท้จริงแล้วความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่ช่วยให้ร่างกายของเราปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ต่างๆทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เช่น คลอดบุตร, แต่งงาน, ตกงาน ฯลฯ ความเครียดมักเกิดขึ้นและหมดไปด้วยตนเองตามธรรมชาติ

ภาวะวิตกกังวล
หากความกลัวเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่รู้ชัดเจน เช่น กลัวจิ้งจก กลัวผี ฯลฯ ความวิตกกังวลก็คือการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดจากสิ่งที่ไม่รู้จัก คลุมเครือ อธิบายไม่ได้ เช่น ไวรัสนี้  ซึ่งแม้ไม่เข้าใจแต่เราสามารถคาดการณ์ถึงเหตุร้ายหรือเรื่องไม่ดีที่อาจจะตามมา

ภาวะซึมเศร้า
เป็นสถานะขั้นกว่าของความรู้สึกอ่อนเพลีย ท้อ และเศร้า จนส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ

หากคิดว่าตัวเองมีอาการเข้าข่าย สิ่งที่เราสามารถทำได้เบื้องต้นด้วยตนเอง คือ
• หยุดพักชั่วคราวจากการดู อ่าน หรือฟังข่าว รวมถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
• ออกกำลังกายเพื่อคลายความเครียด ทำสมาธิ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และนอนหลับให้เพียงพอ
• หาเวลาทำกิจกรรมอื่นเพื่อผ่อนคลาย
• เลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ระวังข่าวปลอม (Fake news) ที่จะทำให้ไม่สบายใจและเครียดยิ่งขึ้น
• มีปฏิสัมพันธ์และพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจ แสดงออกถึงข้อกังวลและความรู้สึกต่างๆ

เมื่อไรคือสัญญาณเตือนจากร่างกายและควรขอความช่วยเหลือ?
โดยทั่วไปการเอาชนะความเครียดต่างๆด้วยตนเองนั้นเป็นไปได้ แม้จะใช้ระยะเวลาต่างกันไป ตั้งแต่หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แต่หากมีสัญญาณเหล่านี้และมีท่าทีที่จะแย่ลงจนลำพังตัวคุณเองจัดการไม่ไหว อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือ เพราะมนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดที่ไม่เท่ากัน และความสามารถในการรับมือกับความเครียดยังต่างไปในแต่ละวันอีก การขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพจึงเป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้าง โดยท่านสามารถรับบริการผ่านแอปพลิเคชั่น Meet and Chill ซึ่งร่วมรณรงค์กับ บ.อินนิตี้ ให้ท่านปรึกษาสุขภาพจิตฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพราะเราเชื่อว่าการรับฟัง คือการช่วยเหลือที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด มาร่วมกันทำสังคมให้ดีขึ้นและช่วยเหลือทุกคนให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน

ที่มา:
1. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/managing-stress-anxiety.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Fcoronavirus%2F2019-ncov%2Fprepare%2Fmanaging-stress-anxiety.html
2. https://www.quebec.ca/en/health/health-issues/a-z/2019-coronavirus/stress-anxiety-and-depression-associated-with-the-coronavirus-covid-19-disease/




Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement