PCOS ภัยเงียบใกล้ตัวสตรีมีบุตรยาก


 


PCOS ภัยเงียบใกล้ตัวสตรีมีบุตรยาก


ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) คือ ภาวะที่มีถุงน้ำขนาดเล็ก หรือถุงหุ้มไข่ (follicle) จำนวนมากกระจุกในรังไข่หลายใบ อาจพบได้ในรังไข่ทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง ภาวะนี้จะส่งผลให้ท้องยาก เพราะไข่ไม่โตตามเกณฑ์ ด้อยคุณภาพ  และส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า หรือ ขาดหาย จากสถิติที่มีการเก็บข้อมูลของ Office on Women' s Health, U.S. Department of Health & Human Services พบว่าผู้หญิงกว่า 5 ล้านคนทั่วโลกเผชิญกับภาวะ PCOS และส่งผลให้ "มีบุตรยาก" ขณะเดียวกันในประเทศไทยพบผู้ป่วย PCOS มากถึงร้อยละ 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็น PCOS  หรือไม่ 

ในเรื่องนี้  ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาด้านผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจbabyandmom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษางานวิจัยถึงภาวะ PCOS  กล่าวว่า สาเหตุของภาวะ PCOS มีความซับซ้อน และอาการที่แสดงออกของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน มีงานวิจัยศึกษาภาวะนี้มากมายและสรุปได้ว่า PCOS เป็นภาวะที่ "ฮอร์โมนไม่สมดุล" ซึ่งเกี่ยวพันกับระบบหลายระบบในร่างกาย และสามารถสังเกตอาการบ่งชี้ได้ ดังนี้



1. ประจำเดือนมาช้า  หรือ ขาดหาย มีบุตรยาก
ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนสมดุลประจำเดือนจะมาทุกๆ รอบ 28 วันของเดือน แต่หากขาดหายยาวนานถึง 35 วันต่อ 1 รอบเดือน หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน หรือมีรอบเดือนน้อยกว่า 10 รอบเดือนใน 1 ปี เป็นข้อบ่งชี้ถึงฮอร์โมนที่ไม่สมดุลและอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็น PCOS ความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลต่อรอบเดือนและการตกไข่ เนื่องจากการตั้งครรภ์ต้องอาศัยการตกไข่ ซึ่งสตรีที่มีภาวะ PCOS บางราย อาจมีภาวะไข่ไม่ตกในบางเดือน หรือบางรายไข่อาจไม่ตกเลย จึงส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก

2. มีฮอร์โมนเพศชายสูง ขนดก เป็นสิว ผมร่วง
ร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ส่วนใหญ่พบว่ามีฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน (Hypoandrogenism) หมายรวมถึง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone), DHEA และ แอนโดสเตอนิไดโอน (Androstenedione) ซึ่งผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง จะแสดงออกทางร่างกาย คือ ขนขึ้นบริเวณใบหน้า, หน้อก, หลัง , ริมฝีปาก,ต้นแขน , ต้นขา จำนวนมาก รวมถึงใบหน้ามีความมัน และเป็นสิวง่าย ผมร่วง เป็นต้น

3. มีน้ำหนักเกินและเสี่ยงต่อภาวะดื้อต่ออินซูลิน

โดยมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25กิโลกรัมและเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งระดับอินซูลินในร่างกายหากสูงกว่าปกติจะทำให้รังไข่ถูกกระตุ้นและผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย โดยผลกระทบสำคัญ คือ กระบวนการตกไข่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ นอกจากนี้ ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดการสะสมไขมัน และอ้วนง่าย


 
“ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็น PCOS ดังกล่าว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด  อันดับแรก ต้องจดจำรายละเอียดถึงรอบประจำเดือน การขาดหายของประจำเดือน โดยแพทย์จะทำการการตรวจร่างกายประเมินอาการการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมนเพศ ระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจหาภาวะดื้ออินซูลิน รวมถึงตรวจวัดระดับไขมันในเลือด การตรวจภายใน หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่ามีถุงน้ำในรังไข่หลายใบหรือไม่” ครูก้อย กล่าว

โภชนาการที่ถูกต้องสามารถช่วยเยียวยาภาวะ PCOS ได้
ครูก้อย ยังกล่าวด้วยว่ามีงานวิจัยหลายฉบับที่ออกมารายงานถึงโภชนาการที่ช่วยเยียวยาภาวะ PCOS ได้ โดยครูก้อยได้ยกตัวอย่างรูปแบบการกินอารหารแบบ Dietary Approaches to Stop Hypertension หรือ DASH Diet ที่มีผลในการเยียวยาอาการของภาวะ PCOS ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายอักเสบ และเหนี่ยวนำฮอร์โมนเพศชายให้สูงขึ้น และยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ซึ่งส่งผลดีต่อการเยียวยา PCOS ดังนี้
 


1.ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
 ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชถั่วต่างๆ งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด อาหารที่ควรเลี่ยง คือ ของหวานทุกชนิด คาร์บขัดขาว พวกข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังขาว เพราะเมื่อทานเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากำจัดน้ำตาลส่วนเกิน หากน้ำตาลพุ่ง อินซูลินค้าง เหนี่ยวนำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเป็นสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา ไข่ไม่ตก   โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Obesity and weight lost therapy เมื่อปี 2015 ที่ศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดแป้งและลดอาหารจากผลิตภัณฑ์จากนมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ส่งผลให้น้ำหนักลด ช่วยรักษาอาการดื้ออินซูลินและช่วยลดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงที่อยู่ในภาวะ PCOS ได้  

2.งดของหวานเด็ดขาด
น้ำตาลเป็นตัวร้ายต่อภาวะ PCOS เพราะการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นและที่ร้ายไปกว่านั้นมันสามารถทำลายเซลล์ไข่ได้เลย น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ก่อนวัยอันควร

3.ทานโปรตีนจากพืช
 ได้แก่ ถั่วเหลือง งาดำ อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ควินัว มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชช่วยลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50% และยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาพบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ได้ ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น ปลาแซลมอน อกไก่ ไข่ไก่ เพราะการทานเนื้อสัตว์ติดมัน อาจมีความเสี่ยงเรื่องสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้าง ทำให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบในร่างกายส่งผลให้ภาวะ PCOS แย่ลงกว่าเดิม เช่นเดียวกันการทานอาหารพวกของมัน ของทอด ของหวาน น้ำตาล เหล่านี้ทำให้ร่างกายอักเสบทั้งสิ้น

4. ทานกรดไขมันดี

ไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 ที่มีในปลาทะเล มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016ศึกษาพบว่าการรับประทานการรับประทานโอเมก้า 3 ช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่มีคุณภาพ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่การทำเด็กหลอดแก้ว การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย โดยแหล่งอาหารที่อุดมด้วยไขมันดี ได้แก่ ปลาทะเล อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำออแกนิคคั่วเตาถ่าน (Pure Black) แฟล็กซีดและอัลมอนด์จากธัญพืชบด (Good Grain) เมล็ดฟักทองออแกนิค (Pure Seed) น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย หรือทานน้ำมันปลา (Fish oil) เสริมจากการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้กรดไขมันดีที่เพียงพอต่อความต้องการต่อวัน

5. ทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น
การทานผักผลไม้สดเป็นการเพิ่มใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้สมบูรณ์ และใยอาหารยังช่วยดักจับคอเลสเตอรอลอีกด้วย นอกจากนี้ในผักผลไม้หลากสีนอกจากมีวิตามินหลากหลายแล้ว ยังให้สารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ทำให้ระบบสืบพันธุ์และสมดุลฮอร์โมนเป็นปกติ โดยควรเน้นทาน ผักใบเขียว ผักผลไม้หลากสี ผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเบอร์รี่ และน้ำมะกรูดคั้นสด เนื่องจากมีสารเควอซิทินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ เพราะการอักเสบจะส่งผลต่อการตกไข่ การสร้างฮอร์โมน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เนื่องจากอาหารกระป๋องมีโซเดียมสูง

6. ทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
วิตามินที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและเป็นวิตามินที่คลินิกผู้มีบุตรยากใช้ในการรักษา PCOS คือ อิโนซิทอล(Inositol) และ โฟลิก (Folic)  โดย อิโนซิทอล มีสรรพคุณโดดเด่นในการบำรุงไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพ ตัวอ่อนเติบโตเป็นปกติ คลินิกผู้มีบุตรยากจะแนะนำให้ทาน อิโนซิทอล ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Turkish-German Gynecological Association เมื่อปี 2018 ได้รวบรวมผลการศึกษาการเยียวยาผู้หญิงที่มี ภาวะ PCOS โดยการให้ทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมร่วมกับอิโนซิทอล ทดลองกับผู้หญิง 92 คนที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนขาด ประจำเดือน มาน้อย หรือมาห่างกันเกิน 35 วัน (oligomenorrhea) และมีภาวะ PCOS โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม และ อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า มีอัตราไข่ตกเพิ่มขึ้น น้ำหนักลดลง ฟองไข่เจริญเติบโตดีขึ้น

นอกจากนี้ “อิโนซิทอล” ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ไข่ตกสม่ำเสมอ เป็นการเยียวยาภาวะ PCOS เพิ่มโอกาสท้องธรรมชาติอีกด้วย ส่วน "โฟลิก”ต้องได้รับก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3  เดือนเพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ป้องกันทารกพิการ

จากการรวบรวมการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ PCOS ที่ยกมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทานอาหารให้ถูกหลัก โภชนาการ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเยียวยา PCOS ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดยอาหารที่รับประทาน เข้าไปเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ลดการอักเสบ ส่งผลให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ไข่ตกเป็นปกติ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์  ซึ่งสตรีที่มีปัญหา PCOS สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก รายการ Research Talk Ep.1 เรื่อง การทานอาหารแบบ DASH Diet ที่มีผลในการเยียวยาอาการของภาวะ PCOS  และปรึกษา ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ได้ที่เฟซบุ๊กเพจ และไลน์แอดภายใต้ชื่อเดียวกันที่ babyandmom.co.th





Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement