ชวนวัยทำงานเช็กอาการเสี่ยง ‘ข้อเข่าเสื่อม’ รู้ทัน รู้ไว ช่วยเซฟสุขภาพข้อเข่า


ชวนวัยทำงานเช็กอาการเสี่ยง ‘ข้อเข่าเสื่อม’ รู้ทัน รู้ไว ช่วยเซฟสุขภาพข้อเข่า


  
อาการปวดขาและปวดข้อเข่า เป็นอาการยอดฮิตที่พบได้ในคนวัยทำงาน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงานหลายคนมักจะมีพฤติกรรมการที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง บ้างก็นั่งทำงานหลังขด หลังแข็งอยู่กับคอมพิวเตอร์แทบตลอดทั้งวัน บ้างก็ต้องเดินไปติดต่องานตามแผนกและสถานที่อื่นๆ แทบตลอดเวลา ไม่รวมการใช้ร่างกายไปกับการเดินทาง และกิจกรรมผาดโผนในช่วงวันพักผ่อนอีก แล้วพอนานวันเข้าก็เริ่มจะรู้สึกเสียวแปลบๆ ตึงๆ ที่หัวเข่า ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้ดั่งใจเหมือนเดิม ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด! เพราะหากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ล่าช้า อาจทำให้ต้องเผชิญกับ ‘โรคข้อเข่าเสื่อม’ ที่ส่งผลให้ข้อเข่าเราผิดรูป ข้อฝืด เดินลำบาก หรือเดินแบบปกติไม่ได้เลยก็ได้ แล้วอาการปวดขาและปวดเข่าแบบไหนที่บ่งบอกว่าวัยทำงานกำลังเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมล่ะ? ในบทความนี้ เราได้รวบรวมลิสต์อาการสำคัญ ให้คนวัยทำงานได้เช็ก เพื่อช่วยเซฟสุขภาพข้อเข่ามาฝากแล้ว!

รวมอาการเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม
1) ลงบันไดแล้วเจ็บเข่า
ลงบันไดแล้วเจ็บเข่า เป็นอาการในช่วงเริ่มต้นของข้อเข่าเสื่อมที่สังเกตได้ง่ายมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากำลังของกล้ามเนื้อข้อเข่าไม่แข็งแรงพอที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าได้อย่างมั่นคง เมื่อต้องลงน้ำหนักที่ปลายเท้าไปพร้อมๆ กับการงอเข่าเพื่อก้าวขึ้นบันได ข้อเข่ามักจะตึงจนรู้สึกเจ็บแปลบขึ้นมานั่นเอง ชาววัยทำงานที่ต้องขึ้น-ลงสะพายลอย หรือบันไดที่ทำงาน หากจู่ๆ มีอาการลงบันไดแล้วเจ็บเข่าขึ้นมา ก็ให้สงสัยตนเองไว้ในระดับหนึ่งได้เลยว่าเราอาจกำลังเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมแล้ว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงบันไดไม่ให้ข้อเข่าได้รับการกระทบกระเทือนหนักกว่าเดิมด้วย 

2) เคลื่อนไหวข้อเข่าแล้วได้ยินเสียงดังในข้อเข่า
อาการถัดมาคือ ขณะเคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่ว่าจะนั่งเปลี่ยนท่าทำงาน ออกกำลังกายในท่าที่ใช้เข่า เดิน หรือวิ่ง หากรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังลั่นในข้อ มาพร้อมกับอาการเจ็บร้าว เสียวหัวเข่า ก็เป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าเรากำลังเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นเดียวกัน 

3) มีอาการข้อเข่าฝืด 
อาการข้อเข่าฝืด มักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือในขณะที่ไม่ได้ขยับข้อเข่าเป็นเวลานานๆ พอเปลี่ยนการเคลื่อนไหว เช่น เหยียดขา งอเข่า หรือลุกขึ้นยืนก็มักจะรู้สึกว่าติดขัดเวลาต้องเคลื่อนไหวข้อเข่า ข้อเข่าฝืด ต้องใช้เวลายืดและคลายข้อเข่าสักพัก จึงจะเริ่มเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ปกติ โดยสาเหตุของอาการนี้ คือ เกิดจากการที่น้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง 
 
4) ปวดเข่าในช่วงเวลากลางคืน
หากอาการเริ่มรุนแรงขึ้น วัยทำงานหลายคนอาจเผชิญกับอาการปวดข้อเข่ารุนแรงในเวลากลางคืนด้วย และยังอาจคลำเจอส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ โดยเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาแบบเต็มที่จะมีอาการปวดเสียวแปลบๆ ที่บริเวณกระดูกสะบ้า วัยทำงานที่นอนหลับได้ไม่สนิท เพราะมีอาการปวดข้อเข่าต้องรีบปรึกษาแพทย์มากประสบการณ์โดยด่วน เพราะนี่ถือเป็นอาการขั้นรุนแรงที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 

5) ข้อเข่าบวม ปวดร้อน
อีกหนึ่งอาการรุนแรงที่สามารถสังเกตได้จากอาการภายนอกและความรู้สึก คืออาการข้อเข่าบวมและปวดร้อน ซึ่งเป็นอาการอักเสบของข้อเข่า ทำให้เราไม่สามารถเหงียด หรืองอข้อเข่าได้สุด หรือไม่เต็มที่ ยิ่งหากใครมีอาการข้อเข่าเสื่อมมานานและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีด้วยแล้ว อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเริ่มลีบ ข้อเข่าโก่ง หัวเข่าหลวม ตลอดจนบิดเบี้ยวผิดรูป ซึ่งจะทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากนั่นเอง

โรคข้อเข่าเสื่อมรักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
วัยทำงานที่เผชิญอยู่กับโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่สามารถรักษาให้มีอาการที่ดีขึ้นได้ ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมตามที่แพทย์มากประสบการณ์วินิจฉัย สำหรับวิธีหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีดังนี้เลย  

1) การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงข้อเข่า 
การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงข้อเข่าเป็นวิธีการรักษาที่เบสิกที่สุด และช่วยให้อาการข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มต้นดีขึ้นได้ แถมป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า จะทำให้ข้อเข่าสามารถพยุงข้อเข่าได้ดีขึ้น ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไป ลดอาการลงบันไดแล้วเจ็บเข่า เน้นการออกกำลังกายประเภทที่ไม่สร้างแรงกระทบกระเทือนต่อข้อเข่า อาทิ ว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ โยคะ หรือการเต้นแอโรบิกเบาๆ นอกจากนี้วัยทำงานควรปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้ข้อเข่าบาดเจ็บ เช่น การวิ่ง หรือทำกิจกรรมผาดโผน การกระโดด การนั่งทำงานที่ผิดวิธี เป็นต้น

2) การรักษาด้วยยา 
ในเคสที่วัยทำงานหรือคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวด เจ็บแปลบที่ข้อเข่าจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์มากประสบการณ์อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ และ/หรือยาบำรุงข้อเข่าแก่ผู้ป่วย อาทิ Paracetamo, Glucosamine หรือ Diacerein ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบการรับประทานแบบเม็ด หรือผ่านการฉีดยาก็ได้ ทั้งนี้ในบางเคสอาจมีการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ และจะอยู่ในความดูแลของแพทย์มากประสบการณ์ทุกๆ ขั้นตอน 

3) การทำกายภาพบำบัด  
การทำกายภาพบำบัดช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและเจ็บแปลบบริเวณข้อเข่าได้ แพทย์มากประสบการณ์อาจมีการใช้อัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์รักษา การรักษาด้วยคลื่นสั้น การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า การประคบด้วยแผ่นร้อนและแผ่นเย็น รวมไปถึงการเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าร่วมด้วย 

4) การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน และไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ขึ้นอยู่กับอาการข้อเข่าเสื่อมและอายุของผู้เป็น ได้แก่ การผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  และการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 
- การผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
จะเป็นเทคนิคการผ่าตัดลดอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม โดยที่ยังไม่ต้องเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งจะเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่อายุน้อย หรือมีอายุต่ำกว่า 60 ปี หลังผ่าตัดสามารถกลับไปใช้งานข้อเข่าได้เป็นปกติในระยะเวลาสั้นๆ อยู่ที่ประมาณ 3 เดือน สามารถผ่าตัดทั้งแบบข้างเดียว หรือการผ่าตัดพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้เช่นกัน 
- การผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
ส่วนการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า คือ การผ่าตัดเพื่อนำกระดูกผิวข้อเข่าที่มีความเสื่อมออก พร้อมทดแทนโดยการใส่อุปกรณ์ข้อเข่าเทียมเข้าไปใหม่ ซึ่งจะสามารถช่วยลดอาการปวด แก้ไขลักษณะข้อเข่าผิดรูปได้ แก้ไขอาการเจ็บปวด ติดขัด ขาโก่งผิดรูปที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลางถึงรุนแรงได้อย่างชัดเจน โดยการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจะเหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

เพราะวัยทำงานเป็นวัยที่ใช้งานร่างกายอย่างหนัก พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งหลาย ไม่ว่าจะการนั่งทำงาน การเดิน การวิ่ง รวมถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างก็อาจส่งผลกระทบต่อเข่าและข้อเข่า ที่เป็นอวัยวะสำคัญในการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักตัวของวัยทำงานหลายๆ คน จนทำให้มีอาการเจ็บแปลบ ปวดที่ข้อเข่าขึ้นมาได้ ใครที่มีอาการตามลิสต์ที่เรานำมาฝากในบทความนี้ ยิ่งต้องเฝ้าระวังและควรรีบปรึกษาแพทย์มากประสบการณ์ด่วนๆ เพราะนี่คืออาการกลุ่มเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำข้อเข่าเราผิดรูป ข้อฝืด เดินลำบาก และอาจส่งผลต่อการใช้งานข้อเข่าในระยะยาวได้เลย

สำหรับวัยทำงานคนไหนกำลังสงสัยว่าตนเองกำลังเผชิญกับปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ โดยเริ่มมีอาการขึ้นลงบันไดแล้วเจ็บเข่า เคลื่อนไหวเข่าแล้วได้ยินเสียงดังขึ้นมา ปวดเข่า ข้อเข่าฝืด ตลอดจนมีอาการข้อเข่าบวม และปวดร้อน ที่ KDMS Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข เรามีโปรแกรมตรวจสุขภาพกระดูกและกล้ามเนื้อที่ครบครัน สามารถขอคำปรึกษาและวางแผนแนวทางการรักษาไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าโดยแพทย์มากประสบการณ์ได้ที่ KDMS Hospital ติดต่อสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม https://kdmshospital.com/ หรือ โทร. 02-080-8999 


Tag :




แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement