โรคอ้วนเป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความสำ คัญอย่างมาก ในการทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ความ หมายของโรคอ้วน ได้แก่ผู้ที่มีน้ำหนักมากขึ้น จากการที่ร่างกายสะ สมไขมันไว้ในร่างกายเกิดกว่าที่ควรจะเป็น สำหรับการเปลี่ยนแปลง น้ำหนักของส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและอวัยวะ ภายในของคนอ้วนมีน้อยมาก ผู้ใดที่มีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น 20 % ถือว่าเป็นโรคอ้วน ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจสอบอยู่หลายวิธี
ตั้งแต่วิธีง่ายที่สุด คือการดูจากสายตา วิธีนี้ถ้าใครอ้วนมากๆ ก็ง่าย แต่ถ้าบางคนอ้วนไม่มากอาจบอกได้ไม่ ชัดเจน วิธีที่นิยมในปัจจุบันเพื่อบอกให้ชัดเจนว่าผู้ใดเป็นโรคอ้วนหรือไม่? เราใช้วิธีคำนวณหาดัชนีความ หนาของร่างกาย ค่าที่ได้ต้องมากกว่า 2.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป จึงจะบอกว่าเริ่มเป็นโรคอ้วน วิธีคำนวณหาดัชนีความหนาของร่างกายให้ท่าชั่งน้ำหนักสมมุติว่าได้ 60 กิโลกรัม และวัดส่วนสูงได้ 1 เมตร 50 เซนติเมตร ให้เอา 60 หารด้วย 1.5 ยกกำลังสองคำนวณออกมาได้เท่ากับ 26.66 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร แสดงว่าท่านเริ่มอ้วนแล้ว เพราะค่าปกติดัชนีความหนาของร่างกายอยู่ระหว่าง 20-24.9 กิโล กรัมต่อตารางเมตร นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์วัดไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านหลัง ซึ่งต้องให้คนอื่นมาช่วยวัดให้ กล่าวโดยสรุป ผู้ใดมีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น 20% ถือว่าเป็นโรคอ้วน สำหรับสูตรการคำนวณ ใช้วิธีหาดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งเท่ากับน้ำหนักชั่งเป็นกิโลกรัมหารด้วย ส่วนสูงวัดเป็นเมตรยกกำลัง สอง ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 25
โรคอ้วนเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่มีดัชนีความหนาของร่างกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป มี โอกาสตายก่อนวัยอันสมควร สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 30% เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนอ้วนมีโอกาส เป็นโรคต่อไปนี้ได้ง่ายนั่นเอง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคคอเลสเตอรอลสูงในเลือด
- โรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด
- โรคเบาหวาน
- โรคนิ่วในถุงน้ำดี
- กระดูกและข้อเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ
- ระบบทางเดินหายใจทำงานไม่สะดวก
- โรคที่เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจ
แต่ละโรคที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแล้วแต่มีความร้ายแรงและยากต่อการรักษาพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่าน ยังไม่อ้วนและสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้ตลอดเวลา ท่านจะมีโอกาสเกิด โรคดังกล่าวน้อยมาก ส่วนท่านที่อ้วนแล้ว ท่านจะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อค่อยๆ ลดน้ำหนักมาให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติให้ได้
การดูแลตนเองของผู้ที่อยู่ในข่ายของ "โรคอ้วน" ก่อนอื่นท่านที่มีน้ำหนักเกิน ท่านคงไม่ต้องคิดมาก ว่าทำไมจึงอ้วนเพราะส่วนใหญ่การที่คนใดคน หนึ่งจะอ้วน แสดงว่าคนนั้นได้รรับประทานอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายจะใช้หมด จึงมีการสะสมสิ่งที่ เหลือเป็นไขมันอยู่ตามร่างกาย ดังนั้นจึงมีเพียง 2 วิธีเท่านั้น ที่จะลดน้ำหนักลงได้ คือ
ข้อ 1. รับประทานอาหารให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ในแต่ละวัน หมายถึงกิจกรรมแต่ละวัน เหมือนเดิม แต่รับประทานให้น้อยลง
ข้อ 2. ออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานให้มากกว่าที่เข้าไปแต่ละวัน หมายถึงรับประทานอาหารเท่าเดิม แต่ออกกำลังกายให้มากขึ้น
การลดน้ำหนักของท่านอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะ โปรแกรมการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักจะลดในส่วนที่เป็นน้ำภายในร่างกาย และการจำกัดอา หารบางครั้งทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นพวกวิตามิน หรือโปรตีนที่จำเป็น ตลอดจนหากออกกำลังกาย อย่างมาก เพื่อพยายามลดน้ำหนักให้เต็มที่อย่างรวดเร็ว จะไม่อยู่ในวิสัยของคนทั่วไปที่จะทำได้ตลอดไป ดังนั้น น้ำหนักก็จะกลับขึ้นมาอีกหลังจากหมดโปรแกรมนั้นๆ แล้ว
สำหรับข้อที่ 1 การรับประทานให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ในแตละวันนั้น ท่านต้องพยายามตั้ง เป้าหมายในการลดน้ำหนักเอาไว้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วประมาณครึ่งถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ เริ่มต้นโดยค่อย ลดจำนวนอาหารที่รับประทานแต่ละครั้ง เช่น แทนที่จะ 1 จานเต็ม ก็เอาออกเสีย 1 ใน 5 ส่วน น้ำอัดลมที่ รับประทานประจำก็เปลี่ยนเป็นน้ำเปล่า ขนมหวานก็เปลี่ยนเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด ไม่รับประทานของจุก จิกระหว่างมื้อ การรับประทานแต่ละคำพยายามเคี้ยวให้ละเอียดอย่ารับประทานคำใหญ่ๆ และด้วยความรวดเร็ว การค่อยๆจำกัดอาหารที่มีทั้งไขมันและความหวานต่างๆ ท่านต้องทำควบคู่กันไปกับการออกกำลังกายที่เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพราะส่วนใหญ่คนอ้วนมักจะไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และถ้าหักโหมไป ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อได้ง่าย การออกกำลังกายจะต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ของตัวเราเองหรือไม่? กรณีสงสัย ท่านควรจะปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกกำลังกายเสีย ก่อน วิธีการออกกำลังกายมีตั้งแต่การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยานอยู่กับที่ การเดินหรือวิ่งบนลู่วิงที่บ้าน การยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ กระโดดเชือก การออกกำลังายแบบแอโรบิก ล้วนแล้วแต่เป็นการเผาผลาญพลังงาน ซึ่ง ในที่สุดก็จะต้องไปดึงเอาไขมันที่สะสมเป็นส่วนเกินอยู่ในร่างกายออกมา ทำให้น้ำหนักของท่านลดลงได้ และนอกเหนือจากลดน้ำหนักได้แล้ว สิ่งที่ท่านได้กำไรด้วยคือ ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันโรคอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
ตั้งแต่วิธีง่ายที่สุด คือการดูจากสายตา วิธีนี้ถ้าใครอ้วนมากๆ ก็ง่าย แต่ถ้าบางคนอ้วนไม่มากอาจบอกได้ไม่ ชัดเจน วิธีที่นิยมในปัจจุบันเพื่อบอกให้ชัดเจนว่าผู้ใดเป็นโรคอ้วนหรือไม่? เราใช้วิธีคำนวณหาดัชนีความ หนาของร่างกาย ค่าที่ได้ต้องมากกว่า 2.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป จึงจะบอกว่าเริ่มเป็นโรคอ้วน วิธีคำนวณหาดัชนีความหนาของร่างกายให้ท่าชั่งน้ำหนักสมมุติว่าได้ 60 กิโลกรัม และวัดส่วนสูงได้ 1 เมตร 50 เซนติเมตร ให้เอา 60 หารด้วย 1.5 ยกกำลังสองคำนวณออกมาได้เท่ากับ 26.66 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร แสดงว่าท่านเริ่มอ้วนแล้ว เพราะค่าปกติดัชนีความหนาของร่างกายอยู่ระหว่าง 20-24.9 กิโล กรัมต่อตารางเมตร นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์วัดไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านหลัง ซึ่งต้องให้คนอื่นมาช่วยวัดให้ กล่าวโดยสรุป ผู้ใดมีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น 20% ถือว่าเป็นโรคอ้วน สำหรับสูตรการคำนวณ ใช้วิธีหาดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งเท่ากับน้ำหนักชั่งเป็นกิโลกรัมหารด้วย ส่วนสูงวัดเป็นเมตรยกกำลัง สอง ค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 25
โรคอ้วนเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่มีดัชนีความหนาของร่างกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป มี โอกาสตายก่อนวัยอันสมควร สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 30% เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนอ้วนมีโอกาส เป็นโรคต่อไปนี้ได้ง่ายนั่นเอง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคคอเลสเตอรอลสูงในเลือด
- โรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด
- โรคเบาหวาน
- โรคนิ่วในถุงน้ำดี
- กระดูกและข้อเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ
- ระบบทางเดินหายใจทำงานไม่สะดวก
- โรคที่เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจ
แต่ละโรคที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแล้วแต่มีความร้ายแรงและยากต่อการรักษาพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าท่าน ยังไม่อ้วนและสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้ตลอดเวลา ท่านจะมีโอกาสเกิด โรคดังกล่าวน้อยมาก ส่วนท่านที่อ้วนแล้ว ท่านจะต้องตั้งใจอย่างแน่วแน่ เพื่อค่อยๆ ลดน้ำหนักมาให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติให้ได้
การดูแลตนเองของผู้ที่อยู่ในข่ายของ "โรคอ้วน" ก่อนอื่นท่านที่มีน้ำหนักเกิน ท่านคงไม่ต้องคิดมาก ว่าทำไมจึงอ้วนเพราะส่วนใหญ่การที่คนใดคน หนึ่งจะอ้วน แสดงว่าคนนั้นได้รรับประทานอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายจะใช้หมด จึงมีการสะสมสิ่งที่ เหลือเป็นไขมันอยู่ตามร่างกาย ดังนั้นจึงมีเพียง 2 วิธีเท่านั้น ที่จะลดน้ำหนักลงได้ คือ
ข้อ 1. รับประทานอาหารให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ในแต่ละวัน หมายถึงกิจกรรมแต่ละวัน เหมือนเดิม แต่รับประทานให้น้อยลง
ข้อ 2. ออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานให้มากกว่าที่เข้าไปแต่ละวัน หมายถึงรับประทานอาหารเท่าเดิม แต่ออกกำลังกายให้มากขึ้น
การลดน้ำหนักของท่านอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะ โปรแกรมการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักจะลดในส่วนที่เป็นน้ำภายในร่างกาย และการจำกัดอา หารบางครั้งทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นพวกวิตามิน หรือโปรตีนที่จำเป็น ตลอดจนหากออกกำลังกาย อย่างมาก เพื่อพยายามลดน้ำหนักให้เต็มที่อย่างรวดเร็ว จะไม่อยู่ในวิสัยของคนทั่วไปที่จะทำได้ตลอดไป ดังนั้น น้ำหนักก็จะกลับขึ้นมาอีกหลังจากหมดโปรแกรมนั้นๆ แล้ว
สำหรับข้อที่ 1 การรับประทานให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ในแตละวันนั้น ท่านต้องพยายามตั้ง เป้าหมายในการลดน้ำหนักเอาไว้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วประมาณครึ่งถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ เริ่มต้นโดยค่อย ลดจำนวนอาหารที่รับประทานแต่ละครั้ง เช่น แทนที่จะ 1 จานเต็ม ก็เอาออกเสีย 1 ใน 5 ส่วน น้ำอัดลมที่ รับประทานประจำก็เปลี่ยนเป็นน้ำเปล่า ขนมหวานก็เปลี่ยนเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด ไม่รับประทานของจุก จิกระหว่างมื้อ การรับประทานแต่ละคำพยายามเคี้ยวให้ละเอียดอย่ารับประทานคำใหญ่ๆ และด้วยความรวดเร็ว การค่อยๆจำกัดอาหารที่มีทั้งไขมันและความหวานต่างๆ ท่านต้องทำควบคู่กันไปกับการออกกำลังกายที่เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เพราะส่วนใหญ่คนอ้วนมักจะไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และถ้าหักโหมไป ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อได้ง่าย การออกกำลังกายจะต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ของตัวเราเองหรือไม่? กรณีสงสัย ท่านควรจะปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกกำลังกายเสีย ก่อน วิธีการออกกำลังกายมีตั้งแต่การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยานอยู่กับที่ การเดินหรือวิ่งบนลู่วิงที่บ้าน การยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ กระโดดเชือก การออกกำลังายแบบแอโรบิก ล้วนแล้วแต่เป็นการเผาผลาญพลังงาน ซึ่ง ในที่สุดก็จะต้องไปดึงเอาไขมันที่สะสมเป็นส่วนเกินอยู่ในร่างกายออกมา ทำให้น้ำหนักของท่านลดลงได้ และนอกเหนือจากลดน้ำหนักได้แล้ว สิ่งที่ท่านได้กำไรด้วยคือ ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ได้แก่ หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันโรคอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี