เท้าอาจเป็นอวัยวะหนึ่งที่เคยถูกมองข้าม แต่ในวันนี้หลายคนมองเห็นความสำคัญของเท้ามากขึ้น
คงเพราะผลพวงของกระแส การบำบัดร่างกาย (อโรมาเธราพี) หรือศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั่นเองที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ว่าเป็น จุดศูนย์รวมของร่างกาย เลยก็ว่าได้ และนี่ก็เป็นการบำบัดฝ่าเท้าแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องไปพึ่งใครให้เสียเงินและเวลา
1. ล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ติดขัด โดยระหว่างการทาโลชั่นให้คุณกดน้ำหนักลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
2. ใช้มือจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้
3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้งเท้า
4. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม่เท้าขึ้นและลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
5. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
6. ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้ง 2 ด้าน
7. นวดบริเวณส้นเท้าแล้วค่อย ๆ เลื่อนขึ้นมาจนถึงข้อเท้า จำไว้ว่าให้นวดไปในทิศทางเดียว คือนวดขึ้น
8. ปิดท้ายการนวดด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
ผู้รู้บอกว่าช่วงแรกคุณอาจไม่ค่อยคล่องนัก แต่ถ้าฝึกไปเรื่อย ๆ จะรู้เองว่าควรกดน้ำหนักแค่ไหนตรงจุดไหน วิธีการนวดแบบนี้คุณสามารถจะนวดได้บ่อยเท่าที่ต้องการเลยค่ะ นอกจากจะช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อยที่เกิดจากการใช้งานเท้าที่มากเกินไปแล้ว ยังช่วยให้เลือดลมคุณดีขึ้นอีกด้วย
คงเพราะผลพวงของกระแส การบำบัดร่างกาย (อโรมาเธราพี) หรือศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั่นเองที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ว่าเป็น จุดศูนย์รวมของร่างกาย เลยก็ว่าได้ และนี่ก็เป็นการบำบัดฝ่าเท้าแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องไปพึ่งใครให้เสียเงินและเวลา
1. ล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ติดขัด โดยระหว่างการทาโลชั่นให้คุณกดน้ำหนักลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
2. ใช้มือจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้
3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้งเท้า
4. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม่เท้าขึ้นและลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
5. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
6. ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้ง 2 ด้าน
7. นวดบริเวณส้นเท้าแล้วค่อย ๆ เลื่อนขึ้นมาจนถึงข้อเท้า จำไว้ว่าให้นวดไปในทิศทางเดียว คือนวดขึ้น
8. ปิดท้ายการนวดด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
ผู้รู้บอกว่าช่วงแรกคุณอาจไม่ค่อยคล่องนัก แต่ถ้าฝึกไปเรื่อย ๆ จะรู้เองว่าควรกดน้ำหนักแค่ไหนตรงจุดไหน วิธีการนวดแบบนี้คุณสามารถจะนวดได้บ่อยเท่าที่ต้องการเลยค่ะ นอกจากจะช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อยที่เกิดจากการใช้งานเท้าที่มากเกินไปแล้ว ยังช่วยให้เลือดลมคุณดีขึ้นอีกด้วย