จากความรู้ในเรื่องของสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของแมลงที่มีชื่อเรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) ที่เราได้ทำความรู้จักกันไปในสัปดาห์ที่แล้วในที่สุดเราก็พบว่า แมลงหลายชนิดมีการใช้ฟีโรโมนในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน บางชนิดใช้เพื่อการเจริญพันธุ์ บ้างก็เพื่อป้องกันรังของมัน และบางชนิดก็เพื่อบ่งบอกทิศทางแหล่งอาหารให้กับเพื่อนของมัน
แต่เรื่องราวของฟีโรโมนกับแมลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือ มันจะมีบทบาทอย่างมากต่อแมลงที่มีการใช้ชีวิตอยู่เป็นกลุ่ม หรือแมลงสังคมที่มีประชากรในรังมากมายนับพันนับหมื่นตัว ในขณะที่แมลงแต่ละตัวก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งเลี้ยงดูตัวอ่อน ขยายพันธุ์ หาอาหาร หนึ่งในตัวอย่างของแมลงสังคมที่เราจะทำความรู้จักกันในวันนี้คือ แมลงตัวน้อยที่แข็งแรงอย่าบอกใคร บอกใบ้ให้สักนิดว่า ตัวของมันเล็กนิดเดียว แต่สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวของมันได้ถึง 10 เท่า
คำตอบของเรื่องราวในวันนี้ก็คือ มดตัวน้อยตัวนิดนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมดตัวแค่นี้ปล่อยฟีโรโมน สารเคมีที่มีอยู่ในร่างกาย เราลองมาหาคำตอบกันดีกว่า
มดในโลกใบนี้มีจำนวนมากมายถึง 1 หมื่นชนิด สำหรับประเทศไทยเองก็คาดว่าจะมีอยู่นับพันชนิด แม้ว่าเราอาจรู้จักมดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มดแดง มดคันไฟ มดตะนอย มดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดุไม่ใช่ย่อย กัดเจ็บอีกต่างหาก แล้วรู้หรือไม่ละว่าในรังของมดมีประชากรอยู่มากมายมหาศาล นอกจากนั้น มดยังเป็นแมลงสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งวรรณะในการทำงาน ทั้งมดงาน มดนางพญา และมดตัวผู้ แต่สำหรับเรื่องราวในวันนี้พระเอกของเรื่องต้องยกให้กับมดประเภทเดียวนั่นก็คือ มดงาน
หลายคนอาจบอกว่าไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะชื่นชอบเจ้าแมลงตัวนี้สักเท่าไร นอกจากจะสร้างความน่ารำคาญแล้ว บางชนิดยังกัดเจ็บ สร้างความแสบคันอีกต่างหาก แต่หากเราลองศึกษาพฤติกรรมของมดงานกันแล้วละก็ น่าตื่นเต้น และไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย!
เมื่อเราทำขนมตกบนพื้นในห้องครัว เพียงไม่กี่นาทีต่อมาขบวนมดแถวยาวเหยียดก็เดินทางมาถึง และพร้อมแล้วที่จะแบกขนมให้หายไปในพริบตา แต่รู้ไหมละว่าขั้นตอนก่อนที่มดน้อยจะมาถึงนั้น มีขั้นตอนมากมายในการติดต่อสื่อสารกัน
เมื่อมดงานเพียง 23 ตัวเดินทางมาพบเศษขนม มดงานจะทำอย่างไรเพื่อบอกกับเพื่อนมดให้เดินทางมายังอาหารแหล่งนี้
สิ่งแรกที่มดงานตัวที่พบอาหารจะทำก็คือ ปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจากต่อมดูฟอร์ (Dufoues Gland) ซึ่งเป็นสารที่มดงานทุกตัวมีอยู่ในร่างกาย สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมานี้ก็คือ ฟีโรโมนประเภทกรดฟอร์มิก (หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า กรดมด) ซึ่งฟีโรโมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการสื่อสารกันของมด นอกเหนือจากการใช้หนวดสัมผัสกัน
จากการสังเกตพฤติกรรมในการเดินของมด ก็อดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมมดจึงเดินเรียงแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยมากถึงขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในรังของมดเองก็ออกจะเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มดแต่ละตัวแทบจะเดินชนปีนป่ายตามตัวกัน
คำตอบของความเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่มดตัวหน้าปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้ มดตัวที่เดินติดตามไปก็จะปล่อยฟีโรโมนเรื่อยไป ดังนั้นตามเส้นทางที่มดเดินก็จะมีแต่กลิ่นของฟีโรโมน เรียกได้ว่าหากมดตัวไหนชักช้าไม่ทันเพื่อนก็ยังสามารถเดินไปยังอาหารได้ไม่หลงทาง
ถ้าหากว่ามีอาหารหลายแหล่งในพื้นที่เดียวกันละ มดจะสับสนหรือเปล่าว่าต้องเดินไปทางไหนดี แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น?
ข้อดีของฟีโรโมนอย่างหนึ่งก็คือ สามารถระเหยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที ดังนั้นเมื่อมดงานค้นพบแหล่งอาหารหลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มดจึงไม่เกิดความสับสนว่าจะเดินไปยังแหล่งใด แต่มดจะเลือกแหล่งอาหารที่มีกลิ่นฟีโรโมนแรงที่สุด ซึ่งนั่นก็หมายถึงแหล่งอาหารแหล่งใหม่ที่สุดด้วยนั่นเอง
ลองมาดูการศึกษาถึงพฤติกรรมอันแสนฉลาดของมดกันต่อ จากการศึกษาพฤติกรรมการเดินตามกลิ่นฟีโรโมนของมด ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากเอาสิ่งของมากั้นระหว่างทางเดินเพื่อให้มดเหล่านั้นเดินอ้อมไป ความน่าจะเป็นไปได้ก็คือ มดน่าจะแบ่งแยกทางเดินกลุ่มหนึ่งเดินไปทางซ้าย และอีกกลุ่มหนึ่งเดินไปทางขวาเพื่อข้ามสิ่งกีดขวาง แล้วกลับมาเรียงแถวเดียวกันตามเดิมเพื่อเดินไปยังแหล่งอาหาร
แต่เมื่อ Beckers และคณะของเขาได้ทำการทดลองก็ต้องแปลกใจ เมื่อพบว่าเจ้ามดงานเหล่านั้นเลือกเดินไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามดเลือกเดินทิศทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดไปยังแหล่งอาหาร นี่ก็เป็นความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์ของมด สงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า มดรู้ได้อย่างไรว่าระยะทางไหนสั้น ระยะทางไหนยาวไกลกว่ากัน ความจริงแล้วมดไม่ได้คิดเองได้หรอก แต่เป็นเพราะกลิ่นฟีโรโมนจากแหล่งอาหารที่มดงานตัวแรกทิ้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าหากระยะทางที่ไปยังอาหารก้อนนั้นสั้นก็จะได้กลิ่นฟีโรโมนที่แรงมากกว่าระยะทางยาวไกลที่มีกลิ่นเจือจาง
ในที่สุดเราก็รู้ว่าฟีโรโมนของมดช่วยทำให้เรื่องใหญ่โตอย่างเรื่องของอาหาร กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ไร้ปัญหาได้อย่างไม่น่าเชื่อ
แต่เรื่องราวของฟีโรโมนกับแมลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือ มันจะมีบทบาทอย่างมากต่อแมลงที่มีการใช้ชีวิตอยู่เป็นกลุ่ม หรือแมลงสังคมที่มีประชากรในรังมากมายนับพันนับหมื่นตัว ในขณะที่แมลงแต่ละตัวก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งเลี้ยงดูตัวอ่อน ขยายพันธุ์ หาอาหาร หนึ่งในตัวอย่างของแมลงสังคมที่เราจะทำความรู้จักกันในวันนี้คือ แมลงตัวน้อยที่แข็งแรงอย่าบอกใคร บอกใบ้ให้สักนิดว่า ตัวของมันเล็กนิดเดียว แต่สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวของมันได้ถึง 10 เท่า
คำตอบของเรื่องราวในวันนี้ก็คือ มดตัวน้อยตัวนิดนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมดตัวแค่นี้ปล่อยฟีโรโมน สารเคมีที่มีอยู่ในร่างกาย เราลองมาหาคำตอบกันดีกว่า
มดในโลกใบนี้มีจำนวนมากมายถึง 1 หมื่นชนิด สำหรับประเทศไทยเองก็คาดว่าจะมีอยู่นับพันชนิด แม้ว่าเราอาจรู้จักมดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มดแดง มดคันไฟ มดตะนอย มดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดุไม่ใช่ย่อย กัดเจ็บอีกต่างหาก แล้วรู้หรือไม่ละว่าในรังของมดมีประชากรอยู่มากมายมหาศาล นอกจากนั้น มดยังเป็นแมลงสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งวรรณะในการทำงาน ทั้งมดงาน มดนางพญา และมดตัวผู้ แต่สำหรับเรื่องราวในวันนี้พระเอกของเรื่องต้องยกให้กับมดประเภทเดียวนั่นก็คือ มดงาน
หลายคนอาจบอกว่าไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะชื่นชอบเจ้าแมลงตัวนี้สักเท่าไร นอกจากจะสร้างความน่ารำคาญแล้ว บางชนิดยังกัดเจ็บ สร้างความแสบคันอีกต่างหาก แต่หากเราลองศึกษาพฤติกรรมของมดงานกันแล้วละก็ น่าตื่นเต้น และไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย!
เมื่อเราทำขนมตกบนพื้นในห้องครัว เพียงไม่กี่นาทีต่อมาขบวนมดแถวยาวเหยียดก็เดินทางมาถึง และพร้อมแล้วที่จะแบกขนมให้หายไปในพริบตา แต่รู้ไหมละว่าขั้นตอนก่อนที่มดน้อยจะมาถึงนั้น มีขั้นตอนมากมายในการติดต่อสื่อสารกัน
เมื่อมดงานเพียง 23 ตัวเดินทางมาพบเศษขนม มดงานจะทำอย่างไรเพื่อบอกกับเพื่อนมดให้เดินทางมายังอาหารแหล่งนี้
สิ่งแรกที่มดงานตัวที่พบอาหารจะทำก็คือ ปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจากต่อมดูฟอร์ (Dufoues Gland) ซึ่งเป็นสารที่มดงานทุกตัวมีอยู่ในร่างกาย สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมานี้ก็คือ ฟีโรโมนประเภทกรดฟอร์มิก (หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า กรดมด) ซึ่งฟีโรโมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการสื่อสารกันของมด นอกเหนือจากการใช้หนวดสัมผัสกัน
จากการสังเกตพฤติกรรมในการเดินของมด ก็อดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมมดจึงเดินเรียงแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยมากถึงขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในรังของมดเองก็ออกจะเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มดแต่ละตัวแทบจะเดินชนปีนป่ายตามตัวกัน
คำตอบของความเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่มดตัวหน้าปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้ มดตัวที่เดินติดตามไปก็จะปล่อยฟีโรโมนเรื่อยไป ดังนั้นตามเส้นทางที่มดเดินก็จะมีแต่กลิ่นของฟีโรโมน เรียกได้ว่าหากมดตัวไหนชักช้าไม่ทันเพื่อนก็ยังสามารถเดินไปยังอาหารได้ไม่หลงทาง
ถ้าหากว่ามีอาหารหลายแหล่งในพื้นที่เดียวกันละ มดจะสับสนหรือเปล่าว่าต้องเดินไปทางไหนดี แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น?
ข้อดีของฟีโรโมนอย่างหนึ่งก็คือ สามารถระเหยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที ดังนั้นเมื่อมดงานค้นพบแหล่งอาหารหลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มดจึงไม่เกิดความสับสนว่าจะเดินไปยังแหล่งใด แต่มดจะเลือกแหล่งอาหารที่มีกลิ่นฟีโรโมนแรงที่สุด ซึ่งนั่นก็หมายถึงแหล่งอาหารแหล่งใหม่ที่สุดด้วยนั่นเอง
ลองมาดูการศึกษาถึงพฤติกรรมอันแสนฉลาดของมดกันต่อ จากการศึกษาพฤติกรรมการเดินตามกลิ่นฟีโรโมนของมด ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากเอาสิ่งของมากั้นระหว่างทางเดินเพื่อให้มดเหล่านั้นเดินอ้อมไป ความน่าจะเป็นไปได้ก็คือ มดน่าจะแบ่งแยกทางเดินกลุ่มหนึ่งเดินไปทางซ้าย และอีกกลุ่มหนึ่งเดินไปทางขวาเพื่อข้ามสิ่งกีดขวาง แล้วกลับมาเรียงแถวเดียวกันตามเดิมเพื่อเดินไปยังแหล่งอาหาร
แต่เมื่อ Beckers และคณะของเขาได้ทำการทดลองก็ต้องแปลกใจ เมื่อพบว่าเจ้ามดงานเหล่านั้นเลือกเดินไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามดเลือกเดินทิศทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดไปยังแหล่งอาหาร นี่ก็เป็นความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์ของมด สงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า มดรู้ได้อย่างไรว่าระยะทางไหนสั้น ระยะทางไหนยาวไกลกว่ากัน ความจริงแล้วมดไม่ได้คิดเองได้หรอก แต่เป็นเพราะกลิ่นฟีโรโมนจากแหล่งอาหารที่มดงานตัวแรกทิ้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าหากระยะทางที่ไปยังอาหารก้อนนั้นสั้นก็จะได้กลิ่นฟีโรโมนที่แรงมากกว่าระยะทางยาวไกลที่มีกลิ่นเจือจาง
ในที่สุดเราก็รู้ว่าฟีโรโมนของมดช่วยทำให้เรื่องใหญ่โตอย่างเรื่องของอาหาร กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ไร้ปัญหาได้อย่างไม่น่าเชื่อ