อะไรอยู่ในเครื่องสำอาง



คุณผู้หญิงเคยรู้สึกงงๆ บ้างไหม เวลาที่คุณต้องอ่านฉลากแจกแจงราย-ละเอียดที่ติดอยู่บนขวดหรือกระปุกบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อความงามอันเป็นอมตะของผู้หญิงเรา คุณคงจะเคยนึกสงสัยบ้างว่า ครีมข้นๆ หรือน้ำใสๆ มหัศจรรย์พวกนี้    ปรุงแต่งมาจากวัตถุดิบหรือสารอะไรกัน สรรพคุณก็บรรยายเสียมากมาย แต่ทำไมเราไม่เข้าใจเลย

คุณไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกพิศวง งงงวยกับป้ายหรือฉลากพวกนั้นหรอก ถ้าคุณไม่ได้จบปริญญาสาขาเคมีมา คุณก็คงจะเป็นงงเหมือนกับคนอื่นๆ อีกมากมาย สาเหตุนั้นก็เป็นเพราะว่า การผลิตเครื่องสำอาง ทุกวันนี้ได้ขยับเข้าใกล้วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีชั้นสูงเข้าไปทุกที ตัวอย่าง เช่น บริษัทลอรีอัล ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องสำอางของฝรั่งเศส มีนักวิทยาศาสตร์ประจำการอยู่ตามศูนย์ทดลองของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน รวมแล้วกว่า 2,000 คน เป็นต้น

เนื่องจากยังไม่มีข้อบังคับหรือข้อตกลงระดับนานาชาติใดๆ ที่จะกำกับดูแลและสั่งการกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางได้ ว่าคำศัพท์คำใดใช้ได้หรือคำใด  ใช้ไม่ได้ ดังนั้น คำศัพท์ยากๆ ที่คุณเห็นแล้วเป็นงงนั้น บางครั้งก็ไม่ได้มีความ-หมายอะไรมากมาย หากเป็นเพียงลูกไม้ของบริษัทผลิตเครื่องสำอางท ี่เลือกใช้คำให้หวือหวา เพราะต้องการให้ลูกค้ารู้สึกทึ่งและประทับใจเท่านั้นเอง

คำที่เห็นกันบ่อยๆ แต่อาจจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างเพื่อเป็นความรู้ให้กับคุณๆ ดังต่อไปนี้


Antioxidant
รังสีจากดวงอาทิตย์ผสมกับมลพิษต่างๆ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ (free ra-dicals) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่โลดแล่นได้อย่างเสรีในร่างกายเราและทำอันตรายต่อเซลล์ของเรา ด้วยเหตุนี้บริษัทเครื่องสำอางจึงต้องเติม สารต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนตี้ออกซิแดนท์ เข้าไปในเครื่อง-สำอางเพื่อช่วยต่อสู้กับศัตรูตัวร้ายเหล่านั้น

ตัวอย่างวิตามินหรือสารต่างๆที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ไลโคปีน (lycopene) หรือกรดอัลฟ่า ลิโปอิค (alpha lipoic acid)  เป็นต้น สารเหล่านี้บางชนิดก็สังเคราะห์ในห้องแล็บได้ บางชนิดก็สกัดได้จากพืช เช่น จากชาเขียว เชอร์รี่ องุ่น เมล็ดแอปเปิ้ล ฯลฯ 

Clinically proven
หมายถึง ผ่านการทดสอบทางคลินิกแล้ว  คลินิกที่ว่าก็อยู่ในห้องแล็บของบริษัทเครื่องสำอางนั่นเอง ถึงอย่างไรเครื่องสำอางทุกตัวก็ต้องผ่านการทดสอบจากห้องแล็บของบริษัทผู้ผลิต ก่อนที่จะนำออกวางจำหน่ายอยู่แล้ว คำว่า proven ในที่นี้จึงไม่ได้มีความหมายพิเศษ อะไร แต่ประการใด

Non-comedogenic
โคมีโดน (Comedone) เป็นศัพท์ทางสาขาวิชาโรคผิวหนัง หมายถึงรูขุมขนอุดตัน หรือสิวหัวดำ ถ้าผลิตภัณฑ์ใดระบุว่า Non-comedogenic หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดรูขุมขนอุดตันได้ 

Dermatologist-tested
หมายความว่า ผลิตภัณฑ์นี้ผ่านการทดสอบจากแ พทย์ผิวหนังแล้ว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องแปลว่าแพทย์ผู้ทดสอบเห็นด้วยหรือให้การรับรองผลิตภัณฑ์ตัวนี้เสมอไป


Hypo-allergenic
หมายถึง มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ได้น้อย แต่ไม่ได้หมาย-ความว่าจะไม่ทำให้แพ้เลย  ถ้าผิวของคุณมักเกิดอาการแพ้ได้ง่าย ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Hypo-allergenic ก็คือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Peptides
เพปไทด์เป็นสายสั้นๆ ของ กรดอะมิโน (amino acids) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีน  เพปไทด์แต่ละชนิดทำหน้าที่แตก-ต่างกันไป หน้าที่อย่างหนึ่งก็คือ “การส่งสัญญาณ” เพปไทด์บางชนิดสามารถทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระตุ้นเซลล์ผิวหนังให้ผลิตคอลลาเจนเพิ่มขึ้น เมื่อผิวหนังผลิตคอล-ลาเจนมากขึ้น ผิวก็จะแข็งแรง แน่น กระชับ และดูอ่อนเยาว์ขึ้น เพปไทด์ในครีมบำรุงผิวก็มีหน้าที่กระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนนั่นเอง

Broad spectrum
พบได้ในผลิตภัณฑ์กันแดด ฉลากที่ระบุคำว่า Broad spectrum มีความหมายว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีบี (UVB ทำให้ผิวไหม้ได้) และรังสียูวีเอ (UVA ทำให้ผิวมีริ้วรอยเหี่ยวย่น)

ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ติดฉลากว่า SPF (Sun Protection Factor) จะช่วยกันรังสียูวีบี ค่า SPF ยิ่งสูง ก็ยิ่งปกป้องได้มากขึ้น ส่วนคำว่า PA++ จะช่วยกันรังสี ยูวีอ ยิ่งมีเครื่องหมาย + หลายตัว ก็ยิ่งปกป้องได้มากขึ้น ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ระบุทั้ง SPF และ PA ก็คือ Broad spectrum นั่นเอง

Oil-Free
 คำว่า oil-free ที่เห็นกันบ่อยๆหมายความว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศ-จากน้ำมันทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันที่ได้จากแร่ธาตุ พืช หรือสัตว์ น้ำมันที่อยู่ในเครื่องสำอางอาจจะอุดตันรูขุมขนและก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ออยล์ฟรีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้มีปัญหาข้อนี้.





แสดงความคิดเห็น






Insurance


Advertisement