คงไม่ช้าเกินไปที่ ภาษาหมอ จะหยิบยกตัวยา Zanamivir ที่ใช้รักษาหวัดใหญ่ มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง!
ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา บันทึกไว้ว่า Zanamivir เป็นยาสำหรับไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ใช้รักษาโรคติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป แต่ใช้ ป้องกันการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
ตัวยา เป็นผงแห้งสำหรับสูดทางปาก ขนาดสำหรับการรักษา คือ 10 mg ใช้สูดเข้าทางปากวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยเริ่มให้ยาภายใน 2 วัน หลังจากอาการปรากฎ ที่สำคัญควรใช้ยาเป็นเวลาเดิมของทุกวัน
สำหรับสตรีมีครรภ์ คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐจัดให้ Zanamivir อยู่ใน Pregnancy Category C ซึ่งบ่งชี้ว่ายังไม่มีการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์ ดังนั้นการใช้ยานี้จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์รวมถึงเด็กที่เกิดมา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการหลอดลมตีบหรือมีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงไม่แนะนำ Zanamivir สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด หรือ โรคอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด ควรใช้ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็วชนิดสูดพ่นระหว่างที่ได้รับยา Zanamivir โดยใช้ยาขยายหลอดลมก่อนให้ใช้ Zanamivir ข้อควรระวัง! หากเกิดอาการแพ้ยา ได้แก่ ปาก คอหอย หรือหน้าบวม ให้หยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.yaandyou.net
Daily news
ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา บันทึกไว้ว่า Zanamivir เป็นยาสำหรับไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ใช้รักษาโรคติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป แต่ใช้ ป้องกันการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
ตัวยา เป็นผงแห้งสำหรับสูดทางปาก ขนาดสำหรับการรักษา คือ 10 mg ใช้สูดเข้าทางปากวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยเริ่มให้ยาภายใน 2 วัน หลังจากอาการปรากฎ ที่สำคัญควรใช้ยาเป็นเวลาเดิมของทุกวัน
สำหรับสตรีมีครรภ์ คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐจัดให้ Zanamivir อยู่ใน Pregnancy Category C ซึ่งบ่งชี้ว่ายังไม่มีการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์ ดังนั้นการใช้ยานี้จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์รวมถึงเด็กที่เกิดมา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการหลอดลมตีบหรือมีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงไม่แนะนำ Zanamivir สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด หรือ โรคอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด ควรใช้ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็วชนิดสูดพ่นระหว่างที่ได้รับยา Zanamivir โดยใช้ยาขยายหลอดลมก่อนให้ใช้ Zanamivir ข้อควรระวัง! หากเกิดอาการแพ้ยา ได้แก่ ปาก คอหอย หรือหน้าบวม ให้หยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.yaandyou.net
Daily news