คนที่กินเจ จะงดเนื้อสัตว์ นม และไข่ รวมทั้งผักที่มีกลิ่นฉุนบางชนิด ได้แก่ หอม กระเทียม หลักเกียว (ผักคล้ายกระเทียมขนาดเล็ก) กุยช่าย ผักชี เครื่องเทศที่เผ็ดร้อน และใบยาสูบ โดยเชื่อว่าผักเหล่านี้เป็นของคาวที่เพิ่มความกำหนัด บ้างก็เชื่อว่า พืชผักกลุ่มนี้เกิดมาจากเลือดของสัตว์
ผักต้องห้ามเหล่านี้ ถือกันว่า กระเทียมทำลายธาตุไฟ ทำให้เกิดปัญหากับหัวใจ หัวหอมทำลายธาตุน้ำ ก่อปัญหากับไต หลักเกียวทำลายธาตุดิน สร้างปัญหาให้กับม้าม กุยช่ายทำลายธาตุไม้ สร้างปัญหาให้ตับ และใบยาสูบทำลายธาตุโลหะ สร้างปัญหาให้กับปอด
ประโยชน์จากการกินเจมีค่อนข้างมาก ในทางอ้อม ถือว่าได้ทำบุญ เพราะไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ และมีโอกาสทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม (กรณีนี้ไม่น่าจะนับรวมพวกที่กินอาหารเจที่ทำเลียนแบบของคาว ที่ดูยังไงก็ไม่น่าจะได้บุญ แถมยังจะไปเพิ่มกิเลสอีกต่างหาก)
ประโยชน์ทางตรงของการกินเจ ได้จากการลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ ได้สารต้านออกซิเดชั่น และสารอาหารจากพืชผัก ช่วยลดปัญหาโรคหัวใจ เบาหวาน เกาต์ และอีกสารพัดโรค การกินเจเพียงไม่กี่วันในช่วงเทศกาลกินเจ ไม่น่าจะเกิดปัญหาขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อควรปฏิบัติในการกินเจ
1. ผักและผลไม้ นอกจากผักสดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว คนกินเจควรกินผลไม้สดหลังอาหารทุกมื้อ การกินผักผลไม้ในแต่ละวัน ควรจัดให้ได้ครบตามสีของธาตุทั้ง 5 ดังนี้
- สีแดง (แดง ส้ม แสด ชมพู) สัญลักษณ์ ธาตุไฟ
- สีดำ (น้ำเงิน ม่วง) สัญลักษณ์ ธาตุน้ำ
- สีเหลือง (เหลืองแก่ เหลืองอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุดิน
- สีเขียว (เขียวเข้ม เขียวอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุไม้
- สีขาว (ขาวนวล ขาวสะอาด) สัญลักษณ์ ธาตุโลหะ
บ้านเราอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักผลไม้หลากหลายชนิดอยู่แล้ว สามารถหามาบริโภคได้ไม่ขาดแคลนตลอดทั้งปี จึงไม่ยากที่จะเลือกซื้อมาปรุงและบริโภคให้ครบทั้ง 5 สี โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้แต่ละวันไม่ซ้ำกัน และไม่ควรเลือกกินเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตัวเองชอบ เพื่อความอร่อยเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์
2. เมล็ดธัญพืช นอกจากผักผลไม้ที่ต้องกินให้ครบทุกสีเป็นประจำแล้ว เมล็ดธัญพืช ได้แก่ ถั่ว ถั่วเปลือกแข็งทุกประเภท พืชที่เป็นหัวในดิน เช่น เผือก มัน กลอย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยเฉพาะเมล็ดถั่ว มีสารอาหารครบทุกหมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต คือแป้งและน้ำตาล โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิด คนที่กินเจควรกินถั่วทั้ง 5 สีเป็นประจำ ซึ่งให้คุณประโยชน์ต่ออวัยวะหลักภายใน ดังนี้
- ถั่วแดง (RED BEANS) ให้คุณต่อหัวใจ
- ถั่วดำ (BLACK BEANS) ให้คุณต่อไต
- ถั่วเหลือง (SOY BEANS) ให้คุณต่อม้าม
- ถั่วเขียว (GREEN BEANS) ให้คุณต่อตับ
- ถั่วขาว (WHITE BEANS) ให้คุณต่อปอด
สำหรับถั่วขาวอาจหายากสักหน่อย แต่ก็สามารถรับประทานถั่วลิสงซึ่งให้ประโยชน์ทดแทนกันได้ หากกินถั่วดังกล่าวหมุนเวียนไปให้ครบทุกสี จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์และช่วยเสริมให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทำงานได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เนื้อเมล็ดในของพืชผัก ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม มันฮ่อ เป็นของขบเคี้ยวที่คนกินเจรู้จักดี เนื้อในของเมล็ดพืชดังกล่าว เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมายหลายชนิด ซึ่งทรงคุณค่าทางโภชนาการเช่นกัน
3. สาหร่ายทะเล นำมาปรุงอาหารพร้อมกับเกลือทะเล ทั้ง 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี
4. งาขาวและงาดำ ในอาหารและขนมเจ มักใช้งาเป็นส่วนผสมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาขาวหรืองาดำเพราะในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิค ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายมาก แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
สำหรับผู้ที่ทำอาหารเจรับประทานเอง ให้นำงาขาวมาล้างเอาผงฝุ่นออกจนสะอาดดี ตักใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้หมาด แล้วใช้ไฟอ่อน ๆ คั่วในกระทะจนสุกเหลืองพอเย็น จึงนำมาโขลกหรือปั่นให้แตกด้วยเครื่อง จะทำให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดดียิ่งขึ้น งาที่บดแล้วจะมีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารและขนมได้ทุกประเภท ทำให้มีรสชาติดี และมีกลิ่นน่ารับประทาน โดยปกติผู้ที่กินเจ กินงาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
5. ผู้ที่กินเจ ไม่ควรรับประทานรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด ขมจัด รสชาติที่จัดมาก ๆ จะส่งผลไปถึงอวัยวะหลัก ดังนี้ รสขมส่งผลต่อหัวใจ รสเค็มส่งผลต่อไต รสหวานส่งผลต่อม้าม รสเปรี้ยวส่งผลต่อตับ รสเผ็ดส่งผลต่อปอด
6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป หันมากินอาหารสดที่ปรุงใหม่ ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
7. เครื่องดื่ม คนกินเจควรดื่มน้ำผลไม้สด ๆ ตามธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายและผิวพรรณสดชื่นเปล่งปลั่ง ควรงดน้ำหวานที่ปรุงแต่งรสและเจือสีสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสิ่งปลอมปน นอกจากน้ำผลไม้สดแล้ว ก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ
หากทำได้อย่างนี้ คุณก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการกินเจค่ะ
ผักต้องห้ามเหล่านี้ ถือกันว่า กระเทียมทำลายธาตุไฟ ทำให้เกิดปัญหากับหัวใจ หัวหอมทำลายธาตุน้ำ ก่อปัญหากับไต หลักเกียวทำลายธาตุดิน สร้างปัญหาให้กับม้าม กุยช่ายทำลายธาตุไม้ สร้างปัญหาให้ตับ และใบยาสูบทำลายธาตุโลหะ สร้างปัญหาให้กับปอด
ประโยชน์จากการกินเจมีค่อนข้างมาก ในทางอ้อม ถือว่าได้ทำบุญ เพราะไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ และมีโอกาสทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม (กรณีนี้ไม่น่าจะนับรวมพวกที่กินอาหารเจที่ทำเลียนแบบของคาว ที่ดูยังไงก็ไม่น่าจะได้บุญ แถมยังจะไปเพิ่มกิเลสอีกต่างหาก)
ประโยชน์ทางตรงของการกินเจ ได้จากการลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ ได้สารต้านออกซิเดชั่น และสารอาหารจากพืชผัก ช่วยลดปัญหาโรคหัวใจ เบาหวาน เกาต์ และอีกสารพัดโรค การกินเจเพียงไม่กี่วันในช่วงเทศกาลกินเจ ไม่น่าจะเกิดปัญหาขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อควรปฏิบัติในการกินเจ
1. ผักและผลไม้ นอกจากผักสดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว คนกินเจควรกินผลไม้สดหลังอาหารทุกมื้อ การกินผักผลไม้ในแต่ละวัน ควรจัดให้ได้ครบตามสีของธาตุทั้ง 5 ดังนี้
- สีแดง (แดง ส้ม แสด ชมพู) สัญลักษณ์ ธาตุไฟ
- สีดำ (น้ำเงิน ม่วง) สัญลักษณ์ ธาตุน้ำ
- สีเหลือง (เหลืองแก่ เหลืองอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุดิน
- สีเขียว (เขียวเข้ม เขียวอ่อน) สัญลักษณ์ ธาตุไม้
- สีขาว (ขาวนวล ขาวสะอาด) สัญลักษณ์ ธาตุโลหะ
บ้านเราอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักผลไม้หลากหลายชนิดอยู่แล้ว สามารถหามาบริโภคได้ไม่ขาดแคลนตลอดทั้งปี จึงไม่ยากที่จะเลือกซื้อมาปรุงและบริโภคให้ครบทั้ง 5 สี โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้แต่ละวันไม่ซ้ำกัน และไม่ควรเลือกกินเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตัวเองชอบ เพื่อความอร่อยเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์
2. เมล็ดธัญพืช นอกจากผักผลไม้ที่ต้องกินให้ครบทุกสีเป็นประจำแล้ว เมล็ดธัญพืช ได้แก่ ถั่ว ถั่วเปลือกแข็งทุกประเภท พืชที่เป็นหัวในดิน เช่น เผือก มัน กลอย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยเฉพาะเมล็ดถั่ว มีสารอาหารครบทุกหมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต คือแป้งและน้ำตาล โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิด คนที่กินเจควรกินถั่วทั้ง 5 สีเป็นประจำ ซึ่งให้คุณประโยชน์ต่ออวัยวะหลักภายใน ดังนี้
- ถั่วแดง (RED BEANS) ให้คุณต่อหัวใจ
- ถั่วดำ (BLACK BEANS) ให้คุณต่อไต
- ถั่วเหลือง (SOY BEANS) ให้คุณต่อม้าม
- ถั่วเขียว (GREEN BEANS) ให้คุณต่อตับ
- ถั่วขาว (WHITE BEANS) ให้คุณต่อปอด
สำหรับถั่วขาวอาจหายากสักหน่อย แต่ก็สามารถรับประทานถั่วลิสงซึ่งให้ประโยชน์ทดแทนกันได้ หากกินถั่วดังกล่าวหมุนเวียนไปให้ครบทุกสี จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์และช่วยเสริมให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทำงานได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เนื้อเมล็ดในของพืชผัก ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม มันฮ่อ เป็นของขบเคี้ยวที่คนกินเจรู้จักดี เนื้อในของเมล็ดพืชดังกล่าว เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมายหลายชนิด ซึ่งทรงคุณค่าทางโภชนาการเช่นกัน
3. สาหร่ายทะเล นำมาปรุงอาหารพร้อมกับเกลือทะเล ทั้ง 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี
4. งาขาวและงาดำ ในอาหารและขนมเจ มักใช้งาเป็นส่วนผสมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาขาวหรืองาดำเพราะในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิค ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายมาก แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
สำหรับผู้ที่ทำอาหารเจรับประทานเอง ให้นำงาขาวมาล้างเอาผงฝุ่นออกจนสะอาดดี ตักใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้หมาด แล้วใช้ไฟอ่อน ๆ คั่วในกระทะจนสุกเหลืองพอเย็น จึงนำมาโขลกหรือปั่นให้แตกด้วยเครื่อง จะทำให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดดียิ่งขึ้น งาที่บดแล้วจะมีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารและขนมได้ทุกประเภท ทำให้มีรสชาติดี และมีกลิ่นน่ารับประทาน โดยปกติผู้ที่กินเจ กินงาวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
5. ผู้ที่กินเจ ไม่ควรรับประทานรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด ขมจัด รสชาติที่จัดมาก ๆ จะส่งผลไปถึงอวัยวะหลัก ดังนี้ รสขมส่งผลต่อหัวใจ รสเค็มส่งผลต่อไต รสหวานส่งผลต่อม้าม รสเปรี้ยวส่งผลต่อตับ รสเผ็ดส่งผลต่อปอด
6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป หันมากินอาหารสดที่ปรุงใหม่ ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
7. เครื่องดื่ม คนกินเจควรดื่มน้ำผลไม้สด ๆ ตามธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายและผิวพรรณสดชื่นเปล่งปลั่ง ควรงดน้ำหวานที่ปรุงแต่งรสและเจือสีสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสิ่งปลอมปน นอกจากน้ำผลไม้สดแล้ว ก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ
หากทำได้อย่างนี้ คุณก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการกินเจค่ะ