ยาเม็ดคุมกำเนิด ประกอบด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน ซึ่งออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ แม้ว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ค่อนข้างสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็อาจเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ ขึ้นได้ หากผู้ใช้ได้ทราบล่วงหน้าถึงสาเหตุ วิธีป้องกันและแก้ไขอาการเหล่านั้นแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ในการช่วยลดอาการข้างเคียง และลดความวิตกกังวลลงได้
อาการคลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุ
- มักเกิดในผู้ที่เริ่มใช้ยาแผงแรก ๆ โดยที่ร่างกายยังไม่ชินกับยา
- เกิดจาการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง
การป้องกันและแก้ไข
- รับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน
- ถ้าใช้ยา 2-3 แผงอาการยังไม่หาย ให้เปลี่ยนยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดต่ำ
- ถ้ามีอาการมากไม่ควรใช้เอสโตรเจน ให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผง 35 เม็ดแทน
================================================================================
อาการปวดศีรษะ (แบบไมเกรน)
สาเหตุ
- ฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิดโดยเฉพาะเอสโตรไจน อาจทำให้มีการคั่งของน้ำและเกลือ ทำให้เกิดการปวดศีรษะได้
การป้องกันและแก้ไข
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ที่เป็นไมเกรน
- อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เครียดลองหยุดยา 2 เดือน ถ้าอาการหาย พอรับประทานใหม่แล้วเป็นอีก แสดงว่าเป็นเพราะยาคุม เลือกใช้ยาเม็ดคุม- กำเนิดที่เอสโตรเจนต่ำๆ หรือใช้ชนิดแผงละ 35 เม็ดแทน หรือหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
- หากปวดศีรษะมาก มีอาการตาพร่าหรือมีอาการทางระบบประสาท และสมอง ต้องรีบไปพบแพทย์
================================================================================
หน้าเป็นฝ้า
สาเหตุ
- เกิดจากฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาเม็ด
การป้องกันและแก้ไข
- ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ำหรือเปลี่ยนเป็นชนิดแผง 35 เม็ดแทน
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
- ใช้ครีมป้องกันแสงแดดหรือแสงอุลตร้าไวโอเลต
================================================================================
หน้าเป็นสิว
สาเหตุ
- เกิดจากยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ของแอนโดรเจนต่ำ ให้รับประทานยาเตตร้าซัยคลิน วันละ 1 เม็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน
================================================================================
น้ำหนักตัวเพิ่ม
สาเหตุ
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เกิดการคั่งของน้ำและไขมันใต้ผิวหนัง
- ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น
การป้องกันและแก้ไข
- เลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนทั้งสองชนิดในขนาดต่ำลง ถ้าไม่ได้ผล เปลี่ยนเป็นชนิดแผงละ 35 เม็ด
- ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกิน 5 กก.ให้หยุดใช้ยา
================================================================================
มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน
สาเหตุ
- ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนไป มักเกิดกับผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแผงแรกๆ
- อาจเกิดจากการรับประทานยาไม่ถูกวิธี เช่น ไม่ตรงเวลา หรือลืมรับประทานยา
- อาจได้รับยาอื่นร่วมด้วย เช่น ยาต้านเชื้อ ยาแก้ชัก ยาระงับประสาท ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ
การป้องกันและแก้ไข
- รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวันและไม่ลืม
- หากรับประทานยาอื่นที่มีผลต่อยาเม็ดคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย
- หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอยเกิน 3 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแก้ไขที่สาเหตุอาการต่าง ๆ หรือพิจารณาเปลี่ยนยา
================================================================================
เลือดประจำเดือนมาน้อย
สาเหตุ
- รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดนานๆ หรือสตรีที่มีรอบเดือน ไม่สม่ำเสมออยู่ก่อน
การป้องกันและแก้ไข
- รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์เอสโตรเจนสูงขึ้น
================================================================================>
<เลือดประจำเดือนมามาก
สาเหตุ
- อาจเกิดจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือมีเอสโตรเจนมากเกินไป
- เกิดจากพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน
การป้องกันและแก้ไข
- ให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น หรือ
- ให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์เอสโตรเจนลดลง
- แนะนำให้พบแพทย์
================================================================================
ลือดประจำเดือนไม่มา
สาเหตุ
- ตั้งครรภ์เพราะลืมรับประทานยา
- ได้รับยาอื่นที่มีผลต่อยาคุม
- ได้รับเอสโตรเจนน้อยเกินไปทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญไม่เต็มที่
การป้องกันและแก้ไข
- ให้ตรวจสอบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ถ้าตั้งครรภ์ให้หยุดใช้ยาทันที
- ถ้าไม่ตั้งครรภ์ให้รับประทานต่อไปอีก 1 แผง ถ้าประจำเดือนไม่มาอีก ให้เปลี่ยนเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนสูงขึ้น
นอกจากนี้อาการข้างเคียงต่าง ๆ อย่างอื่นยังอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดประจำเดือน ปวดขา เส้นเลือดขอด เศร้าหมอง อ่อนเพลีย ความรู้สึกทางเพศลดลง อย่างไรก็ตามยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาขึ้นมากและลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มาก
ข้อมูลเบื้องต้น เป็นเพียงแนวทางการดูแลตนเองในเบื้องต้น หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ภ.ญ.พูลสุข จันทร์วัฒนเดชากุล