วัยไหนๆก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้




ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยทำงาน วัยสูงอายุหรือวัยใดๆ ต่างก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งสิ้นเนื่องจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มักไม่เอาใจใส่ดูแลสุขภาพกันเท่าที่ควร ทั้งเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงความเครียด ทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต) เพิ่มมากขึ้นทุกที

โรงพยาบาลนนทเวชฝากเตือนทุกวัยโดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานอายุต่ำกว่า 40 ปีเพราะจากผลการเฝ้าระวังตลอดปี 2551 กระทรวงสาธารณสุขพบว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด 148,206 รายและ 107,709 ราย เป็นโรคหลอดเลือดสมอง จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศ พบมากในกลุ่มวัยทำงานอายุน้อยกว่า 40 ปี ดังนั้นควรรู้ทันเพื่อรับมือกับโรคหัวใจและหลอดเลือดดีกว่า

รับมือ...โรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือด คือ ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือหยุดชะงัก อันเนื่องจากมีการตีบหรืออุดตันในหลอดเลือดแดง (Coronary Artery) แล้วใช้ชีวิตอย่างไรจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด เราก็ต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากแค่ไหน โดยอาจเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรืออาจเป็นปัจจัยอื่นที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ เพศ กรรมพันธุ์ เป็นต้น

สัญญาณเตือน...โรคหัวใจขาดเลือด
หลายคนคงสัยสัยว่าอาการเจ็บหน้าอก หลังจากออกกำลังกายหรือยกของหนักหนักแต่นั่งพักแล้วก็หาย ใช่สัญญาณเตือนอันตรายหรือไม่ เราลองมาเช็คอาการอาการที่สำคัญ ของภาวะหัวใจขาดเลือดกันดีกว่า
1. เจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก คล้ายมีอะไรมาทับ บีบเค้นที่ยอดอก หายใจไม่ออก
2. อาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน
3. หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย โดยในเฉพาะเวลาออกกำลังกาย
4.ใจสั่น เหงื่อออกมาก
5.หน้ามืด เวียนศีรษะ

บางรายก็ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น โดยอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือที่เรียกว่า Heart Attack ซึ่งผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม 

รู้ได้อย่างไร...เข้าข่ายโรคหัวใจขาดเลือด
ปัจจุบันเราสามารถตรวจสุขภาพเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดได้โดยการตรวจสุภาพ โดยแพทย์จะซัก ประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG), ตรวจสมรรถภาพหัวใจ ขณะออกกำลัง (EXERCISE STRESS TEST), การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO), เครื่องบันทึกคลื่นหัวใจที่พกติดตัวได้ (HOLTER ONITORING) หรือการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ จากนั้นแพทย์จะนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ดูว่ามีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากน้อยเพียงใด

ทำไมเมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ต้องรีบมาถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
เพราะวินาทีแห่งชีวิตมีความสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดการตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายภายใน 6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะวิกฤติและอาการอาจเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนภายหลังได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนจะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดี 

เคล็ด(ไม่)ลับ....บำรุงหัวใจและหลอดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันได้ถ้าไม่ต้องการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่ปราศจากไขมัน เน้นทานผัก ผลไม้ให้มากๆ บริหารอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดสะสม ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถป้องกันสุขภาพร่างกายห่างไกลจากโรคหัวใจ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างปลอดภัย

ขอบคุณ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลนนทเวช 





แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement