เรื่องราวของรอยสัก


 “ในคอลเลคชั่นของผม ต้องมีลายทางกลาสีตลอด แล้วก็ยังมีคอร์เซ็ท ชุดรัดทรง กับรอยสักอยู่เสมอ” ฌอง ปอล โกลติเยร์
สำหรับฤดูร้อน 2011 ผลงานน้ำหอม Classique และ Le Male รุ่นจำกัดจำนวนเฉพาะฤดูร้อน อาศัยงานสักลวดลายเป็นการตกแต่งสำคัญ จากขวดน้ำหอมไปจนถึงถุงบรรจุ และกระป๋องโลหะ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องสมเหตุสมผลอย่างยิ่งในโลกของฌอง ปอล โกลติเยร์ รอยสัก เป็นลูกเล่นที่สื่อความหมายต่างๆ ได้มากมาย เป็นทั้งสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเจ้าของ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการแหวกวงล้อมกฎเกณฑ์ รอยสัก ยังเป็นเครื่องหมายเอกสิทธิ์ และเป็นอาวุธในเกมเย้ายวนรัญจวนเสน่หา สำหรับราชันย์กับราชินีแห่งเวทีประลองรัก สำหรับกลาสีโรแมนติก และหนุ่มร้ายหัวใจทอง

จากเทวาสู่ราชันย์ ระหว่างมนตรากับการครอบครอง
ประวัติความเป็นมาของงานสักลวดลาย หรือรอยสักนั้น เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความขัดแย้ง ในแง่หนึ่ง รอยสัก เป็นเรื่องราวของชนชั้นทาส และพวกที่ถูกเนรเทศ ในยุคโบรารณ คนกลุ่มนี้จะถูกใช้กำลังบังคับสักลายลงไป ส่วนในอีกด้าน ลวดลายสักเป็นเรื่องราวของราชันย์กับเทพเจ้า อย่างยุคอียิปต์โบราณ ฟาโรห์อะเคนาตันกับพระนางเนเฟอร์ตีติ ราชินีในพระองค์ ได้ทำการสักลายเทพเอตันเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสูงสุดดุจทวยเทพของทั้งสองพระองค์ ในขณะที่อารยธรรมโบราณโพลีนีเซียน ซึ่งกินอาณาเขตจากฮาวายไล่ลงมาถึงเกาะคู่ (Sandwich Isles) ผ่านนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะเมารี รอยสัก เป็นเครื่องหมายของวงศ์ตระกูล หรือชนเผ่า ซึ่งก็สืบเนื่องกับความสูงส่ง เริ่มต้นคือการสักลายลงบนเรือนกายของนักรบหนุ่มกะทง ก่อนเพิ่มเติมรอยสักให้มากขึ้นตามลำดับยศทางการทหาร นักรบผู้กล้าจนถึงขีดคั่นของผู้นำ ที่มีความอาจหาญอย่างที่สุด จะมีการลงรอยสักไล่ไปจนถึงศีรษะ เป็นรูปบัลลังก์แห่งมานา หรือแท่นฐานของอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ด้วยลวดลายสีดำ ที่ดูเป็นสากล สันนิษฐานว่า ในการเดินทางสำรวจครั้งแรกของกัปตันคุก ได้มีการนำคำตาฮิเตียนว่า “ตอว์ตอว์” (taw taw) มาใช้ในปีค.ศ. 1772 และกลายเป็น “แท็ตทู” (tattoo) เมื่อปีค.ศ. 1778 ลูกเรือบางคนของกัปตันคุก ได้ทำการสักลายบนเกาะที่พวกเขาไปสำรวจพบ และถือเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่นำรอยสักกลับมายังยุโรป ก่อให้เกิดธรรมเนียมปฏิบัติใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ บรรดาลูกเรือ, กลาสี และทหารทั้งหลาย จะใช้รอยสักเป็นเครื่องหมายไว้จดจำ พวกเขาจะสักลายเป็นตราประจำหน่วยกรมกองของตน และเหล่าช่างสักลายก็พากันตั้งร้านขึ้นตามท่าเรือน ความนิยมสักลายแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อปีค.ศ. 1891 ซามูเอล โอ.พี. ไรลีย์ (Samuel O.P. Reilly) ได้ประดิษฐ์เครื่องสักลายขึ้นเป็นเครื่องแรก ประมาณกันว่า ในตอนเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 ทหารถึง 90% ในหน่วยราชนาวีอังกฤษล้วนมีรอยสัก กระทั่งเจ้าชายทั้งหลาย ต่างได้เผชิญหน้ากับเข็มสักลายกันถ้วนทั่ว อย่างมกุฎราชกุมารอังฟองส์ที่ 13 สักลายเป็นรูปกางเขนซานติเอโก้ ซึ่งถือเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสเปน ส่วนซาร์ นิโคลัสที่ 2, กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 และจอร์จที่ 5 ล้วนทำการสักลายระหว่างเดินทางไปญี่ปุ่นโดยศิลปินดาวสักลายแห่งยุค นั่นคือโฮริ ชิโยะ ส่วนพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาของราชินีมาร์เกร็ธ ได้ทรงถอดฉลองพระองค์ออกเพื่ออวดรอยสักมังกรบนพระพาหา ซึ่งสามารถรับชมได้ใน surprising video (
www.youtube.com/watch?v=gSEdpKUtFmQ)   เป้าหมายของราชนิกูลเหล่านี้น่ะหรือ? ก็จะได้มีรอยสักเหมือนกลาสี และทหารในราชอาณาจักรของตน...


เสน่ห์ยวนใจในตัวหนุ่มร้าย จากเครื่องหมายให้จดจำ ไปสู่สัญลักษณ์แห่งการแหวกกฎเกณฑ์
งานสักลายตามท่าเรือ หาได้ต่างอะไรจากที่ผู้หญิงกลางคืนใช้นามสกุลของชายชู้ผู้คุ้มครองการทำมาหากินของพวกเธอ บรรดากลาสีลงรอยสักไว้ทั่วลำแขน และแผงอกของตนด้วยลวดลายสำคัญ เป็นที่รู้จักกันดี อย่างเช่น รูปเรือกางใบเต็มที่เพื่อป้องกันไม่ให้จมน้ำ บ้างก็เป็นรูปเหล่านักบุญ กับพระคริสต์พื่อช่วยดูแล รักษาจิตวิญญาณ ไม่ก็เป็นรูปไม้กางเขนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกฉลามกิน มีการสักรูปนางเงือกเพื่อประนาม ประชดหญิงทรยศหลายใจ รูปหัวใจ และชื่อมีไว้เพื่อจดจำ ในขณะที่รูปผู้หญิงสวยมีไว้เพื่อจะลืม...
ยังมีสัญลักษณ์ให้พบเจอหลังซี่ลูกกรง สถานที่ ซึ่งรอยสักเป็นวิธีให้รับรู้ว่า นี่คือเพื่อน หรือศัตรู นักโทษปาปิญง รับบทโดยสตีฟ แม็คควีนบนจอภาพยนตร์ ได้ฉายานี้มาจากรอยสักรูปผีเสื้อ (papillon – ผีเสื้อ) รอยสัก 3 จุดตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ บ่งบอกว่าเป็นสมาชิกของแก๊งค์ death to the pigs ในขณะที่สักห้าจุดเรียงเป็นรูปดาวระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ เป็นสัญลักษณ์ของแก๊งค์ฮิสปานิค (Hispanic) ส่วนสมาชิกของแก๊งค์ซาลวาดอเรียน (Salvadorian) จะสักลายเป็นตัวหนังสือ และรูปทรงต่างๆ ไว้จนทั่วใบหน้า...ส่วนพวกยากูซ่า กลับนำลวดลายบันชินตามขนบโบราณดั้งเดิมมาใช้ได้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เพราะสมัยก่อน จะสักลวดลายบันชินหลากสีสันลงบนร่างกายเพื่อใช้ยกย่องความเป็นเลิศให้แก่เหล่าวีรบุรุษในตำนาน ทว่าลายบันชินถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบอาชญากรรม เพราะในศตวรรษที่ 17 อาชญากรในญี่ปุ่นจะถูกบังคับให้สักลาย

ยุโรปทศวรรษที่ 60 ธรรมชาติวิสัยของรอยสักได้เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นวิธีที่จะใช้ดูแคลน หยันเหยียดความสำเร็จของเหล่าชนชั้นกลางระดับสูง พวกขาร็อค ซึ่งรวมถึงกลุ่มเทพโลกันตร์ (Hell’s Angels) สักลายต่างๆ ที่ตนเลือกไว้ทั่วแขนของพวกเขา เหล่าสกินเฮ้ดจะสักลายทั่วกะโหลก และร่างกายของตนด้วยสโลแกนต่างๆ อย่างคำว่า destroy (ทำลายล้าง), hate (เกลียดชัง) และ no future (ไร้อนาคต) ซึ่งถือเป็นเรื่องปรกติในโลกตะวันตก ที่บรรดาผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง และศาสนา จะมีความสัมพันธ์อันกำกวม น่าเคลือบแคลงกับศิลปะของหนุ่มร้ายแบบนี้ โดยจะเห็นได้จากข้อมูลความจริงที่ว่า ศาสนจักรประกาศห้ามการสักลายในกลุ่มไนซีน ครีด (Nicene Creed) เมื่อปีค.ศ. 787 ก่อนจะให้ยกเลิกการใช้ปืนใหญ่ในเวลาต่อมา กระนั้น บรรดาผู้จาริกแสวงบุญไนซีน ครีดก็ยังมีรอยสักรูปไม้กางเขนไว้เพื่อให้คนรู้จักได้อย่างง่ายดายว่าตนเป็นคริสเตียน...ในกาลต่อมา พวกมิชชันนารีที่มีรอยสักในโพลีนีเซีย จะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกลู่นอกทาง “เล่นคุณไสย” และตามมาด้วยการประกอบพิธีกรรมป่าเถื่อน นอกศาสนา...

จากเรือนกายประดับรอยสักสู่ความหรูหรา...
ธรรมเนียมการสักลายบนเรือนร่าง หาได้ถูกสงวนไว้เพียงเพื่อหนุ่มร้ายชายแรงเท่านั้น หากยังเป็นพิธีกรรมของหญิงชาวมาดากัสการ์ก่อนกลุ่มเยซูอิตจะค้นพบดินแดนที่แห่งนี้ โดยพวกเธอจะสักลายเป็นรูปวงล้อสุริยันอยู่ระหว่างทรวงอกของพวกเธอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกรัญจวนอารมณ์มากที่สุด ในโลกตะวันตกเมื่อศตวรรษที่ 20 การสักลายบนเรือนร่าง กลายเป็นงานออกแบบลวดลายเพื่อประดับประดา จากออสเตรเลีย ซินดี้ เรย์ ผู้สักลายทั่วตัวเป็นรูปเหล่าวีรสตรีถูกมัดติดกับต้นปาล์ม และรูปผู้หญิงปีกผีเสื้อ ไปสู่อดีตนักโทษ และดาราละครสัตว์คณะบานัม จอร์จ คอนสแตนติน เจ้าของสมญาเจ้าชายอัลบาเนียน สักลายทั่วตัวจากศีรษะจรดปลายเท้าเป็นรูปสฟิงซ์, มังกร และสัตว์ต่างๆ ในเทพนิยาย จนถึงทีมอเมริกัน รัสตี้ ฟิลด์ จะเห็นได้ว่า รอยสัก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการประดับประดาเรือนกาย แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์อันน่ารังเกียจ ถึงแม้รอยสักจะยังคง “ช็อค” กลุ่มชนชั้นกลางระดับสูงได้อยู่เรื่อยๆ นักสักลายชื่อดังในปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปิน จากเอ็ด ฮาร์ดี้ จนถึงสก๊อต แคมพ์เบล พวกเขาเป็นที่ต้องการของบุคคลชื่อดังสุดๆ ในแวดวงแห่งความหรูหรา ผู้ที่คลั่งไคล้ในการสักลายชั่วคราว หรือพิมพ์รอยสักสำหรับงานออกแบบคอลเลคชั่นเสื้อผ้า และงานแสดงแบบเสื้อบนเวที และในบางครั้ง ก็รวมถึงตัวนางแบบเอง อย่างริค จีเนสต์ ที่สักลายไว้ทั่วทั้งใบหน้า และลำตัว

ฌอง ปอล โกลติเยร์ แผ้วถางหนทางให้รอยสักด้วยความกล้า ท้าทาย แน่นอน การใช้รอยสัก ศิลปะแห่งเรือนกายยอดนิยมในงานแฟชั่น, เสื้อผ้าชั้นสูง และน้ำหอม ถือเป็นการแหวกกฎเกณฑ์ดั้งเดิม ในฐานะเด็กชายตัวร้ายแห่งวงการแฟชั่น ฌอง ปอล โกลติเยร์ ใช้ลูกเล่นของการอยู่คู่กันระหว่างขั้วขัดแย้งได้ตลอดเวลา โดยไม่ใยดีว่าจะเป็นที่นิยมหรือไม่ ในคอลเลคชั่นของเขา ทั้งการสักลายเล็กๆกระจิ๋ว ไปจนถึงสักลายพรายพร้อยทั่วทั้งตัวอย่างเต็มที่

งานพิมพ์ลายรอยสัก จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องหมายประจำตัวของนักออกแบบแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์ของการเป็น “ครอบครัว” ของเขา
ในแง่ของแฟชั่น งานพิมพ์ลายรอยสัก กำลังมีบทบาทสำคัญ และนางแบบส่วนใหญ่บนรันเวย์ของฌอง ปอล โกลติเยร์ ล้วนมีการสักลาย

จากการแสดงแบบเสื้อประจำฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน 1994 ที่ชื่อคอลเลคชั่น tattoo จนถึงการแสดงแบบเสื้อประจำฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน 2009/10 คอลเลคชั่น la vida loca ซึ่งเหล่านางแบบประดับรอยสัก Gaultier บนแขนของพวกเธอ และสักลายเป็นชื่อของตัวเองไว้บนหน้าผากเหมือนสมาชิกของแก๊งค์ลาติโน่
รอยสัก หาได้ต่างอะไรจากงานปักฝีมือที่แสนเลอค่า กลายมาเป็นงานพิมพ์ลวดลาย เป็นผิวที่สอง แนวคิดของงานสักลาย ดำเนินไปตามการชี้นำของศิลปินนักสักลายชื่อดัง แต็ง แต็ง เพื่อถ่ายทอดรอยสักวงล้อสุริยันของหญิงมาลากาซีแห่งมาดากัสการ์ และเส้นโค้งแบบเมารี หลังฌอง ปอล โกลติเยร์สัมผัสหมู่เกาะโพลีนีเซีย

ในส่วนของน้ำหอม Le Male ใช้รอยสักในงานโฆษณาที่ปรากฏครั้งแรกเมื่อปี 1995 และสำหรับน้ำหอมรุ่นพิเศษ ขวดจะตกแต่งด้วยลวดลายรอยสักที่เหมาะกับบรรดาหนุ่มร้าย หัวใจทอง
และบางครั้งก็แยกกัน บางครั้งก็ร่วมกัน น้ำหอม Le Male และ Classique บางครั้งก็ใช้รอยสักลวดลายชนเผ่าเมารี บางคราวก็เป็นลายของชนเผ่ามาไซ ซึ่งพาเราไปสู่ดินแดนอันไกลโพ้น





แสดงความคิดเห็น






Pooyingnaka Wellness


Advertisement