พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเปิดงานวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2554 ล่าสุดมีคนไทยสูบบุหรี่กว่า 10.9 ล้านคน เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละกว่า 4 หมื่นราย
วันนี้ (31 พ.ค.54) เวลา 15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จ ณ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กทม. ทรงตัดแถบแพรเปิดงาน วันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2554โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เฝ้ารับเสด็จ
นายจุรินทร์ ได้กราบทูลรายงานว่า สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก และขอความร่วมมือไปยังนานาประเทศในการจัดกิจกรรมรณรง ค์ให้ประชาชนตระหนักถึง พิษภัยบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ที่สามารถป้องกันได้ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยว ข้องกับการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 5 ล้านคน โดยหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งเพียงพอ ในอีก 20 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากกา รสูบบุหรี่เพิ่มเป็นปี ละประมาณ 8 ล้านคน
ในการจัดงานรณรงค์วันงดสูบบุหรี่ ประจำปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอก ชน กำหนดคำขวัญรณรงค์ว่า พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่ (The WHO Framework Convention on Tobacco Control : WHO FCTC) เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้ พร้อมเตือนภัยเกี่ยวกับพิษภัยและผลกระทบจากการสูบบุห รี่ สร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่สูบบุหรี่แก่เด็กและเยาวชน ประการสำคัญเป็นการกระตุ้นเตือนพิทักษ์สิทธิ์ให้ประช าชนที่ไม่สูบบุหรี่ให้ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ไม่ปนเปื้อนมลพิษจากควันบุหรี่ ที่มีสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพกว่า 4,000 ชนิด และมีสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกว่า 40 ชนิด โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะ รวมทั้งให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
อนึ่ง ในวันนี้พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้ประทานรางวัลขององค์การอนามัยโลกหรือเวิร์ล โน โทแบคโค เดย์ อวอร์ด (World No Tobacco Day Awards ) ประจำปี 2554 ซึ่งเป็นรางวัลที่รับรองความสำเร็จในระดับนานาชาติใน การต่อสู้กับอันตรายของ การสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ โดยจะมอบให้ผู้ที่อุทิศตนดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างเข้มแข็งและมีป ระสิทธิภาพทุกปี ปีละไม่เกิน 6 ราย โดยในส่วนของประเทศไทย ผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในปีนี้คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากการผลักดันเชิงนโยบาย ในการดำเนินการควบคุมยาสูบของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ดำเนินการ ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ และตามอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ได้ผลักดันให้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ผลักดันให้มี การพัฒนา แก้ไข และออกกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 หลายฉบับ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้มีคลินิกเลิกบุหรี่ในสถาน บริการสาธารณสุข ทุกระดับ โดยเฉพาะสถานบริการสาธารณสุขในระดับตำบล และเป็นผู้นำในการสร้างกระแส รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดการปฏิบัติ ตามกฎหมายควบคุมยาสูบ ในวง กว้าง /และ ......
และ ประทานรางวัลฮู เวิร์ล โน โทแบคโคเดย์ รีคอกนิชั่น อวอร์ด (WHO World No TobaccoDay Recognition Award) แก่รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์กรองจิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษาวิชาการด้านส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นรางวัลพิเศษจากผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภ ูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ มอบให้ผู้มีผลงานเด่นในการสนับสนุนการควบคุมยาสูบในร ะดับภูมิภาค และได้ประทานโล่ประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานและบุคคล ผู้กระทำคุณประโยชน์ ผู้ให้การสนับสนุน และผู้มีผลงานดีเด่นด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ จำนวน 32 คนด้วย
ประเทศไทย มีคนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละกว่า 42,000 ราย และต้องเข้ารับการรักษาโดยเฉพาะโรคมะเร็งไม่ต่ำกว่าป ีละ 100,000 คน บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิตของคนไทยอันดับ 2 รองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย สถานการณ์การบริโภคยาสูบของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปล่าสุดในปี 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจพบคนไทยสูบบุหรี่ 10.9 ล้านคน เป็นชาย 10.3 ล้านคน หญิง 5.4 แสนคน โดยในกลุ่มอายุ 15-18 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.25 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 7.62 ในปี 2552 และในกลุ่มอายุ 19-24 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังก ล่าวเช่นกันจากร้อยละ 21.27 เป็นร้อยละ 22.19
ในปี 2552 เยาวชนชายและหญิงอายุ 13-15 ปี ร้อยละ 19 เคยสูบบุหรี่ครั้งแรกเมื่ออายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่มีสูบร้อยละ 17 สาเหตุที่เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เพราะอยากทดลองสูบร้อย ละ 56 ส่วนใหญ่ซื้อมาสูบเองแบบเป็นมวน/แบ่งมวนขายร้อยละ 68 โดยส่วนใหญ่ซื้อจากร้ายขายของชำร้อยละ 91 ทั้งนี้ มีการขายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ผู้ขายไม่เคยขอบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจสอบก่ อนขาย ร้อยละ 94 และประชาชนร้อยละ 39 คนสัมผัสควันบุหรี่ในตัวบ้าน