เรื่องที่ถูกมองข้ามเกี่ยวกับ “น้ำ”




คุณรู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของน้ำถึงเกือบร้อยละ 70  ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเลยว่า ถ้าหากเรามีปริมาณน้ำในร่างกายอย่างเหมาะสมน้ำก็จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี เพราะว่าร่างกายของคนเราต้องการ “น้ำ” เพื่อส่งสารอาหารไปเลี้ยง “เซลล์” ในร่างกาย พร้อมทั้ง ”ขับของเสีย” ออกจากร่างกาย ไม่เพียงเท่านี้ แต่น้ำยังทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิและช่วยหล่อลื่นในข้ออวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย 
อย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำ เป็นเครื่องดื่มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และพบได้โดยทั่วไปในโลก และมนุษย์เราก็ดื่มน้ำมาเป็นเวลานาน ก่อนที่จะมีเครื่องดื่มประเภทชา เบียร์ หรือไวน์ เสียอีก แต่ถึงอย่างนี้ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับน้ำและการดื่มน้ำ

มีอะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับน้ำบ้าง?

ข้อ 1 – คนเราต้องการน้ำวันละประมาณ 8 – 12 ถ้วย (หรือราว 2 – 3 ลิตร) 
ความต้องการดังกล่าวจะแตกต่างกันตามอายุ เพศ ความแข็งแรงและความกระฉับ กระเฉงของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายของคนเราโดยทั่วไปต้องการน้ำวันละประมาณ 1 ลิตรต่อน้ำหนักตัวทุกๆ 25 กิโลกรัม ซึ่งตรงตามคำแนะนำที่ให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ที่เราคุ้นกันดี

ข้อ 2 – อุณหภูมิของน้ำไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของร่างกาย 
นั่นเป็นเพราะไม่ว่าน้ำจะอยู่ในอุณหภูมิใดๆ ทั้งน้ำอุ่น น้ำที่มีอุณหภูมิปกติ หรือน้ำเย็น ต่างก็ให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกายได้เหมือนกัน แต่ระดับอุณหภูมิของน้ำต่างหากที่จะมีผลต่ออัตราการดื่มน้ำของเรา มีบางคนคิดว่าน้ำที่ใส่น้ำแข็งจะช่วยลดน้ำหนัก โดยเชื่อว่าเมื่อน้ำเข้าสู่ร่างกาย อุณหภูมิที่สูงกว่าของร่างกายจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ความเชื่อนั้นถูกต้องตามหลักทฤษฎี แต่แคลอรี่ที่ใช้ไปเป็นปริมาณที่น้อยมาก แทบจะไม่มีนัยสำคัญเลย นอกจากนี้ “การดื่มน้ำเย็นจัด”ยังทำให้เรารู้สึกปวดหัวจิ๊ดขึ้นมาทันทีได้อีกด้วย


ข้อ 3 – ผัก-ผลไม้ให้น้ำแก่ร่างกายในปริมาณมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการทั้งหมด 
อาหารประเภทน้ำจะให้ปริมาณน้ำได้ตรงตามความต้องการของร่างกาย   และถ้าอาหารที่เราบริโภคมีผักและผลไม้ในปริมาณมาก เสริมด้วยน้ำที่ดื่มในระหว่างมื้ออาหาร ก็จะทำให้เราได้รับน้ำในปริมาณที่ตรงตามความต้องการของร่างกายเช่นกัน โดยอาหาร 1 มื้อที่ประกอบด้วยสลัดผัก ผัดบร็อคโคลี่ ข้าวกล้อง ตบท้ายด้วยแตงโมเป็นของหวาน จะให้น้ำแก่ร่างกายของเราประมาณ 3 แก้ว อย่างไรก็ตาม มีผู้บริโภคหลายรายที่เลือกรับประทานอาหาร “แห้ง” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูป จำพวกชีสเบอร์เกอร์เสิร์ฟกับมันฝรั่งทอดถุงโต ซึ่งให้น้ำน้อยกว่าครึ่งถ้วย และแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างแน่นอน

ข้อ 4 –  การดื่มน้ำพร้อมอาหารไม่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร 
บางคนชอบดื่มน้ำในระหว่างการรับประทานอาหาร แต่บางคนก็ไม่ชอบ การดื่มน้ำพร้อมกับรับประทานอาหารสามารถทำไปพร้อมๆ กันได้ เนื่องจากน้ำไม่ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเกิดความเจือจาง ทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารในร่างกายอีกด้วย ดังนั้น คนเราจึงสามารถดื่มน้ำได้ตามความต้องการในทุกช่วงเวลาตลอดทั้งวัน 

ข้อ 5 – น้ำบรรจุขวดไม่ได้สะอาด หรือปลอดภัยกว่าน้ำประปาเสมอไป 
การตัดสินใจดื่มน้ำประปาหรือน้ำบรรจุขวดสำเร็จ เป็นการตัดสินใจเฉพาะบุคคล ในสหรัฐอเมริกามีสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดูแลและกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำประปา โดยมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำ และจัดส่งรายงานคุณภาพน้ำให้แก่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่น้ำบรรจุขวดสำเร็จ มีสำนักงานอาหารและยาเป็นผู้ดูแลและตรวจสอบ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับน้ำประปา แต่ใช้ระบบทดสอบและรายงานที่แตกต่างจากน้ำประปาชุมชน ทั้งนี้ จากการศึกษา พบว่า น้ำบรรจุขวดสำเร็จร้อยละ 25 มาจากน้ำประปาที่นำมาบรรจุขวด ซึ่งอาจผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการบำบัดคุณภาพน้ำก่อนนำมาบรรจุขวด อย่างไรก็ตาม โรงกรองน้ำจะมีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกว่า จะใช้ผลิตภัณฑ์น้ำขวดหรือน้ำประปา แต่ที่แน่ๆ ก็คือ น้ำประปา ในสหรัฐฯ ประชาชนสามารถดื่มได้...

โดยโภชนากรซูซาน  โบเวอร์แมน
ที่ปรึกษาของเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด





แสดงความคิดเห็น






Insurance


Advertisement