จากวันวานถึงวันนี้ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2


3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 วันอาทิตย์ที่จะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ แห่งการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ เพื่อองค์พระประมุขแห่งเกรทบริเทน



เมื่อครั้งทรงอิสริยยศเป็น Princess Elizabeth, 1942


ย้อนกลับไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 Princess Elizabeth ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของ King George VI ขณะอยู่ระหว่างการเสด็จเยือนเคนย่า เมื่อเสด็จกลับ ก้าวพระบาทที่ประทับลงบนแผ่นดิน จึงกลายเป็นก้าวแรกในฐานะ Queen แห่งเกรทบริเทน เริ่มรัชสมัยของ Queen Elizabeth II ตั้งแต่บัดนั้น โดย Coronation หรือพระราชพิธีราชาภิเศกเกิดขึ้นตามมาในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496

ปี พ.ศ. 2555 จึงเป็นวาระการครองราชย์ครบ 60 ปี


Princess Elizabeth, 1945


เป็น 60 ปี ที่ชาวบ้านธรรมดากล่าวว่า การทำงาน serve รับใช้ประชาชน มานานขนาดนี้ใน ‘งาน’ Job เดียว ‘ซ้ำซาก’ ที่ไม่เคยทรงมีโอกาสเลือก หรือเปลี่ยน หรือหยุด ก็น่าจะสมควรแก่การที่ประชาชนจะเฉลิมฉลองเพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสิ่งที่จะ ‘ไม่ทรงปฏิบัติ’ ก็ย่อมได้


Princess Elizabeth with Prince Philip, 1947

เมื่อมีการเอ่ยถึง 60 ปี ของ Diamond Jubilee นั้น เป็นเรื่องธรรมชาติของสื่อมวลชนบริทิชที่จะเปรียบเทียบถึงพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อื่น ซึ่งปัจจุบันนี้ มีเพียงพระองค์เดียวที่ครองราชย์เป็นระยะเวลานานกว่า Queen Elizabeth II คือ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ทั้งสองพระองค์ผู้ทรงเป็น ‘มหากษัตริย์’ ขึ้นครองแต่ละราชอาณาจักร ในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก



Princess Elizabeth and Prince Philip ในวันอภิเษก, 1947


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

Queen Elizabeth II ทรงพระราชสมภพในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496


ภาพถ่ายครอบครัวในวันพักผ่อนในปี 1951 ในภาพเจ้าชายฟิลิปทรงอุ้มเจ้าชายชาร์ลส์ และเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงอุ้มเจ้าหญิงแอนน์

พ.ศ. 2555 เมื่อ Queen Elizabth II ครองราชย์ครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะครบ 66 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน
รอบการครองราชย์นั้น นับเหมือนกับการฉลองวาระทั่วไป เช่น การครบรอบแต่งงาน  แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ

1.Silver Jubilee ครบรอบ 25 ปี ซึ่งอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีพระมหากษัตริย์ที่ครบ Silver Jubilee อีกสองพระองค์ คือ Emperor Akihito แห่งประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2557 และ King Harald V แห่งประเทศนอร์เวย์ พ.ศ. 2559


Queen Elizabeth II ในวันพระราชพิธีราชาภิเศก, 1953


2.Goldern Jubilee ครบรอบ 50 ปี
พระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาถึง Golden Jubilee และยังทรงพระชนม์อยู่ มีเพียงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ Queen Elizabeth II

3.Diamond Jubilee โดยทั่วไปคือครบรอบ 75 ปี หากเป็นเรื่องการครองราชย์จะนับที่ 60 ปี จึงเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยสำหรับธรรมเนียมอเมริกันที่ไม่มีราชวงศ์ และการเปลี่ยนมาเป็น 60 ปี เกิดขึ้นเฉพาะที่เกรทบริเทนจากการถวายการเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 60 ปี แด่ Queen Victoria เนื่องจากทรงไม่เคยห่างหายจากความอาดูรเมื่อสิ้น Prince Albert พระสวามี


Queen Elizabeth II ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ Marilyn Monroe, 1956


Diamond Jubilee ของ Queen Victoria จึงเป็นกระบวนการฉลองที่ยิ่งใหญ่อลังการ และยาวนาน ทั้งการถวายความเคารพ ขบวนแห่ และการสวนสนามจากทุกมุมโลก เพราะทรงเป็นทั้ง Queen และ Empress จักรพรรดินี ของหลายอาณาจักร ถึงขั้นทรงมีพระราชหัตถ์เลขาเล่าถึงขบวนเฝ้ารับเสด็จไว้ว่าเรียงแถวยาวถึง 6 ไมล์

นับแต่นั้นมา ธรรมเนียม Diamond Jubilee จึงนับปีที่ครบ 60


                                  Queen Elizabeth II ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ Frank Sinatra, 1984


4.Platinum Jubilee
นับเวลายาวนานที่สุด 70 ปี The Emperor Francis Joseph แห่ง Austria-Hungary เป็นพระมหากษัตริย์ช่วงก่อนสงครามโลกองค์สุดท้ายที่ครองราชย์นานที่สุดถึง 68 ปี จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2459

สำหรับประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดและรวมจิตใจของประชาชน Diamond Jubilee จึงเป็นยิ่งกว่าวโรกาสพิเศษ

 


ทรงโบกพระหัตถ์เคียงข้างกับพระสวามีขณะเดินทางไปประกอบพระราชพิธียังมหาวิหาร St. Paul's


David Cameron นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวสรุปว่า การมี The Queen เป็น Head of State หรือประมุขของประเทศนั้น ทำให้ประเทศชาติมี Unity ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความสามัคคี Flexibility ความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญที่สุด คือ Stability ความมั่งคงในชาติ


ในอีกงานพระราชพิธีที่ขาดพระสวามีไป เนื่องจากทรงพระประชวร พระวัตถิ(กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)

สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ครองบัลลังค์มายาวนานนั้น ยิ่งต้องนับเป็น The Great Public Servant ผู้ทรงงานรับใช้ประชาชน โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว หรือประโยชน์ส่วนตัว ด้วยฐานะและฐานันดรศักดิ์ ทำให้ทรงเป็นผู้เสียสละได้ยิ่งกว่านักการเมืองใดๆ ที่เข้ามาแล้วก็ไปทั้งสิ้น 


ภาพงานพระราชพิธีทางเรือ




ขอบคุณ ที่มา : oknation, vogue และ the miror
เรียบเรียงเนื้อหาบทความโดย jaja wean ผู้หญิงนะคะดอทคอม





แสดงความคิดเห็น






Insurance


Advertisement