ยุคนี้เป็นยุคที่ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเหมือนอดีต คนทำงานธุรกิจก็เสียขวัญ เสียกำลังใจมาก ผู้บริหารบางคนเคยประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำงาน เรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจ มีบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งนำกำไรมหาศาลมาให้บริษัท ในช่วงยุคเฟื่องฟูเขาก็เฟื่องฟูมาก บริษัทไม่มีงานขาดทุนมากมาย เขาต้องหลบหนีสังคมและครอบครัวไป ขณะนี้อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้เป็นเพราะเขารู้สึกอับอายและมีหนี้สินที่เขาไม่ สามารถจะชดใช้ได้ จึงหมดกำลังใจและไม่สู้สังคม บางคนมีการศึกษาจบปริญญาโท ทำงานบริษัทการเงินมีชื่อเสียง เคยมีรายได้มาก ขณะนี้ตกงานต้องไปทำสวนมะพร้าวต้องอยู่แบบประหยัดที่สุด บางคนเป็นเจ้าของร้านขายสินค้ามีชื่อนำเข้าจากต่างประเทศที่โก้หรู ขายสินค้าไม่ได้ตามเป้า ขณะนี้ร้านก็ปิดไปแล้ว ยังเป็นหนี้เข้าอีกมีความทุกข์มาก และกำลังจะมีตัวอย่างจากคนที่ล้มเหลวในการทำงาน เสียขวัญกำลังใจ เป็นทุกข์ เลิกราจากการทำธุรกิจอีกเป็นจำนวนมาก การแข่งขันทุกวิถีทางในการดำเนินธุรกิจกำลังจะเกิดขึ้น ถ้าขาดขวัญกำลังใจ ขาดความเข้าใจตัวเองและคนอื่นแล้ว มองโลกในแง่ไม่ดีด้วยแล้ว โอกาสจะประสบความสำเร็จจะเป็นไปได้ยาก
E.Q. จึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจมากขึ้นในขณะนี้ หลายบริษัทกำลังรณรงค์พัฒนา E.Q. โดยการจัดสัมมนาในหัวข้อหลากหลาย เพื่อให้บุคคลากรของ บริษัทมี E.Q. ที่ดีขึ้น E.Q. คือ Emotional Quotient แปลว่า ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายถึงความ สามารถในการจะควบคุมอารมณ์และพัฒนาอารมณ์ให้เป็นปกติสุขได้ ไม่ว่าเหตุการณ์รอบข้าง จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สามารถมองโลกในแง่ดี อดทนและแก้สถานการณ์ได้ ลำพังความเก่งทางปัญญา หรือ I.Q. นั้นจะไม่ทำให้ประสบความสำเร็จหรอก เชื่อกันว่า คนที่มี I.Q. ปานกลาง แต่มี E.Q. ดีจะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่มี I.Q. สูง แต่ E.Q. ต่ำ ถ้ารู้อย่างนี้แล้วคนที่เรียนไม่เก่ง มี I.Q. ไม่ดีจะรู้สึกว่าตัวเองมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ มากขึ้น ถ้าสามารถพัฒนา E.Q. ได้ดี ส่วนพวกที่ I.Q. สูงอยู่แล้ว ถ้า E.Q. สูงมากขึ้นอีก จะยิ่ง ประสบความสำเร็จมากขึ้น E.Q. จะมีบทบาทสำคัญในการทำงานในยุคที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นยามนี้ได้มาก เพราะคนที่มี E.Q. ดีจะรู้จักตัวเองและยอมรับได้ พร้อมทั้งสามารถมีความเข้าใจคนอื่น รวม ทั้งลูกน้องหรือลูกค้า รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราได้ ทำให้เกิดความนุ่มนวลและยืดหยุ่นในการตัด สินปัญหาในยามวิกฤต และที่พิเศษก็คือ เขาก็จะสามารถแก้ไขความขัดแย้งและความเครียดใน ใจได้ คนที่มี E.Q. ดีจะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว มีความยืดหยุ่นได้ ผ่อนปรนอารมณ์ของตัวเองได้ ดี ควบคุมอารมณ์ได้ โดยเฉพาะในยามโกรธ ในยามเศร้า หมดหวังในชีวิต หรือในยามกลัว คนปกติจะมีความโกรธ ความกลัว ความเศร้ากันได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีพื้นฐานอารมณ์และ จิตใจไม่ดีอยู่แล้ว จะโกรธมากและนาน กลัวมากและนาน เศร้ามากและนาน ซึ่งใจช่วงนี้จะถือว่า เป็นช่วงที่มี E.Q. ไม่ดียิ่งขึ้น ทำให้เสียพลังงานที่สร้างสรรค์ และเสียเวลามากไปกับอารมณ์ ที่ไม่ดีเหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้
คนที่มี E.Q. ดีจะสามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ดี ทำให้ไม่เสียพลังงานและเวลาไปกับ อารมณ์ที่ไม่ปรารถนาเหล่านั้น
คนที่มี E.Q. ไม่ดีนั้นจะเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจคนอื่น ไม่ยอม รับความเป็นจริง ทั้งของตัวเองและของคนอื่น ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นและตนเอง และ ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในใจของตนเองได้
การจะให้ E.Q. ดีได้นั้น ถ้าเป็นไปได้ต้องได้รับ การส่งเสริมมาตั้งแต่วัยเด็กจากการเลี้ยง ดูของพ่อแม่และโรงเรียน โดยการได้รับความรักอย่างเหมาะสม มีการสัมผัสโดยการโอบกอด ด้วยความรัก ได้รับการส่งเสริมให้สมองซีกขวาทำงานได้ดีขึ้น โดยการถูกกระตุ้นด้วยกิจกรรม ที่เป็นความสุนทรีย์ต่างๆ เช่น ดนตรี เพลงไพเราะที่ไม่เศร้า ธรรมชาติที่สวยงาม ศิลปกรรมที่ งดงาม การออกกำลังกายและกีฬาที่สร้างสรรค์
เชื่อกันว่าสมองซีกขวากเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ทำให้ E.Q. ดี ในคนที่โตแล้วจะ ย้อนหลังไปอย่างที่กล่าวแล้วไม่ได้ แต่โชคดีที่ E.Q. น ี้สามารถปลูกฝัง เรียนรู้ และปรับปรุงได้ แม้เมื่ออายุมากขึ้น ต่างจาก I.Q. ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลของกรรมพันธุ์และการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็ก
เทคนิคในการพัฒนา E.Q. ในผู้ใหญ่นั้นมีมากมาย และกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงใน ต่างประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน มีการฝึกอบรมสัมมนาโดย วิทยากร และผู้ได้รับการฝึกสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งใน ครอบครัว การเลี้ยงลูก การทำงานธุรกิจ และการอยู่ร่วมในสังคมอย่างสร้างสรรค์
ถึงเวลาแล้วที่นักบริหารธุรกิจ และบุคคลทั่วไปจะต้องใส่ใจการพัฒนา E.Q. ให้มาก อย่า มัวสนใจเฉพาะ I.Q. หรือดูว่าใครจบจากสถาบันใด มีความรู้ปริญญาระดับใดเท่านั้นเลย ไม่ เพียงพอหรอก ยิ่งคนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารสูงขึ้น ควรจะได้รับการพิจารณา E.Q. ของเขาด้วยว่ามีมากน้อยเพียงไร ลำพังแต่คนดี เรียนเก่ง มี I.Q. สูง แต่ E.Q ไม่ดี ขืน ส่งเสริมให้เป็นผู้นำองค์กรก็จะมีแต่ความล้มเหลวตามมา น่าจะเลือกเอาคนที่เป็นคนดี มี E.Q. ดี I.Q. ปานกลาง น่าจะดีกว่า จะได้มีพลังสร้างสรรค์ที่จะต่อสู้กับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในขณะ นี้ และสามารถกระตุ้นให้คนรอบตัวสู้เหตุร้ายต่างๆ ต่อไปได้ด้วยดีอย่างมีความหวัง มองโลก ในแง่ดี มีอารมณ์ดีและมีความสุข
ข้อมูลจาก นิตยสาร กุลสตรี
E.Q. จึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจมากขึ้นในขณะนี้ หลายบริษัทกำลังรณรงค์พัฒนา E.Q. โดยการจัดสัมมนาในหัวข้อหลากหลาย เพื่อให้บุคคลากรของ บริษัทมี E.Q. ที่ดีขึ้น E.Q. คือ Emotional Quotient แปลว่า ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายถึงความ สามารถในการจะควบคุมอารมณ์และพัฒนาอารมณ์ให้เป็นปกติสุขได้ ไม่ว่าเหตุการณ์รอบข้าง จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สามารถมองโลกในแง่ดี อดทนและแก้สถานการณ์ได้ ลำพังความเก่งทางปัญญา หรือ I.Q. นั้นจะไม่ทำให้ประสบความสำเร็จหรอก เชื่อกันว่า คนที่มี I.Q. ปานกลาง แต่มี E.Q. ดีจะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่มี I.Q. สูง แต่ E.Q. ต่ำ ถ้ารู้อย่างนี้แล้วคนที่เรียนไม่เก่ง มี I.Q. ไม่ดีจะรู้สึกว่าตัวเองมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ มากขึ้น ถ้าสามารถพัฒนา E.Q. ได้ดี ส่วนพวกที่ I.Q. สูงอยู่แล้ว ถ้า E.Q. สูงมากขึ้นอีก จะยิ่ง ประสบความสำเร็จมากขึ้น E.Q. จะมีบทบาทสำคัญในการทำงานในยุคที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นยามนี้ได้มาก เพราะคนที่มี E.Q. ดีจะรู้จักตัวเองและยอมรับได้ พร้อมทั้งสามารถมีความเข้าใจคนอื่น รวม ทั้งลูกน้องหรือลูกค้า รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราได้ ทำให้เกิดความนุ่มนวลและยืดหยุ่นในการตัด สินปัญหาในยามวิกฤต และที่พิเศษก็คือ เขาก็จะสามารถแก้ไขความขัดแย้งและความเครียดใน ใจได้ คนที่มี E.Q. ดีจะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว มีความยืดหยุ่นได้ ผ่อนปรนอารมณ์ของตัวเองได้ ดี ควบคุมอารมณ์ได้ โดยเฉพาะในยามโกรธ ในยามเศร้า หมดหวังในชีวิต หรือในยามกลัว คนปกติจะมีความโกรธ ความกลัว ความเศร้ากันได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีพื้นฐานอารมณ์และ จิตใจไม่ดีอยู่แล้ว จะโกรธมากและนาน กลัวมากและนาน เศร้ามากและนาน ซึ่งใจช่วงนี้จะถือว่า เป็นช่วงที่มี E.Q. ไม่ดียิ่งขึ้น ทำให้เสียพลังงานที่สร้างสรรค์ และเสียเวลามากไปกับอารมณ์ ที่ไม่ดีเหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้
คนที่มี E.Q. ดีจะสามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ดี ทำให้ไม่เสียพลังงานและเวลาไปกับ อารมณ์ที่ไม่ปรารถนาเหล่านั้น
คนที่มี E.Q. ไม่ดีนั้นจะเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจคนอื่น ไม่ยอม รับความเป็นจริง ทั้งของตัวเองและของคนอื่น ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นและตนเอง และ ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในใจของตนเองได้
การจะให้ E.Q. ดีได้นั้น ถ้าเป็นไปได้ต้องได้รับ การส่งเสริมมาตั้งแต่วัยเด็กจากการเลี้ยง ดูของพ่อแม่และโรงเรียน โดยการได้รับความรักอย่างเหมาะสม มีการสัมผัสโดยการโอบกอด ด้วยความรัก ได้รับการส่งเสริมให้สมองซีกขวาทำงานได้ดีขึ้น โดยการถูกกระตุ้นด้วยกิจกรรม ที่เป็นความสุนทรีย์ต่างๆ เช่น ดนตรี เพลงไพเราะที่ไม่เศร้า ธรรมชาติที่สวยงาม ศิลปกรรมที่ งดงาม การออกกำลังกายและกีฬาที่สร้างสรรค์
เชื่อกันว่าสมองซีกขวากเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ทำให้ E.Q. ดี ในคนที่โตแล้วจะ ย้อนหลังไปอย่างที่กล่าวแล้วไม่ได้ แต่โชคดีที่ E.Q. น ี้สามารถปลูกฝัง เรียนรู้ และปรับปรุงได้ แม้เมื่ออายุมากขึ้น ต่างจาก I.Q. ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลของกรรมพันธุ์และการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็ก
เทคนิคในการพัฒนา E.Q. ในผู้ใหญ่นั้นมีมากมาย และกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงใน ต่างประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน มีการฝึกอบรมสัมมนาโดย วิทยากร และผู้ได้รับการฝึกสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งใน ครอบครัว การเลี้ยงลูก การทำงานธุรกิจ และการอยู่ร่วมในสังคมอย่างสร้างสรรค์
ถึงเวลาแล้วที่นักบริหารธุรกิจ และบุคคลทั่วไปจะต้องใส่ใจการพัฒนา E.Q. ให้มาก อย่า มัวสนใจเฉพาะ I.Q. หรือดูว่าใครจบจากสถาบันใด มีความรู้ปริญญาระดับใดเท่านั้นเลย ไม่ เพียงพอหรอก ยิ่งคนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารสูงขึ้น ควรจะได้รับการพิจารณา E.Q. ของเขาด้วยว่ามีมากน้อยเพียงไร ลำพังแต่คนดี เรียนเก่ง มี I.Q. สูง แต่ E.Q ไม่ดี ขืน ส่งเสริมให้เป็นผู้นำองค์กรก็จะมีแต่ความล้มเหลวตามมา น่าจะเลือกเอาคนที่เป็นคนดี มี E.Q. ดี I.Q. ปานกลาง น่าจะดีกว่า จะได้มีพลังสร้างสรรค์ที่จะต่อสู้กับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในขณะ นี้ และสามารถกระตุ้นให้คนรอบตัวสู้เหตุร้ายต่างๆ ต่อไปได้ด้วยดีอย่างมีความหวัง มองโลก ในแง่ดี มีอารมณ์ดีและมีความสุข
ข้อมูลจาก นิตยสาร กุลสตรี