วัคซีนของลูกน้อย


แรกเกิด
ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ป้องกันโรคตับอักเสบ บี ครั้งที่ 1 และฉีดภูมิคุ้มกันตับอักเสบ บี (สำหรับลูกที่เกิดจากแม่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบ บี)

1 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ บี ครั้งที่ 2 หรือฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน

2 เดือน
หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 1, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 1 ,ฉีดวัคซีนป้องกันไข้สมองฮิบ ครั้งที่ 1*

4 เดือน
หยอดวัคซีนพื่อป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 2, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 2, ฉีดวัคซีนป้องกันไข้สมองฮิบ ครั้งที่ 2*

6 เดือน
หยอดวัคซีนป้องกันโปลิโอ ครั้งที่ 3, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 3, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ บี ครั้งที่ 3

1ปี
ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1, ฉีดวัคซีนป้องกันไข้สมองฮิบ ครั้งที่ 3*

1 ปี 1 เดือน
ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 1

1 ปี 1 เดือนครึ่ง
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 2

1 ปี 2 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ ครั้งที่ 1*

1 ปี 3 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ ครั้งที่ 2*

1 ปี 4 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส*

1 ปี 6 เดือน
หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 4*, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 4

1 ปี 8 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ เอ ครั้งที่ 3*

2 ปี 1 เดือน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบครั้งที่ 3

4 ปี
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ครั้งที่ 2

5 ปี
หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 5 และฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 5

ก่อนและหลังฉีดวัคซีน
ก่อนจะพาลูกไปฉีดยา นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้ว่าลูกควรได้รับวัคซีนอะไร จะพาไปหาหมอวันไหนแล้ว ต้องรู้ว่าลูกแพ้ยาอะไรหรือไม่ เมื่อรับวัคซีนแล้วอย่าลืมถามหมอว่าจะเกิดผลข้างเคียงอย่างไร เพื่อเราจะได้ดูแลอย่างถูกต้อง หากไม่สามารถพาลูกไปฉีดวัคซีนตามนัด ไม่ว่าจะพ้นวันนัดมานานแค่ไหนก็ต้องพาลูกไปรับวัคซีนให้ครบโดยไม่ต้องตั้งต้นใหม่ วัคซีนหลายชนิดอาจทำให้ลูกตัวร้อนเป็นไข้ ฉีดแล้วเกิดเป็นผื่นเป็นหนองก็อย่าเพิ่งตกใจ แต่ควรระมัดระวัง และหาทางบรรเทาอาการอย่างถูกวิธี
 ในวันนัดถ้าลูกป่วยเป็นไข้หวัด หรือตัวร้อนอยู่แล้ว ควรเลื่อนนัดไปก่อนจนกว่าลูกจะหายเป็นไข้ จึงค่อยพาไปรับวัคซีนในภายหลัง
 หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก, วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ ลูกอาจเป็นไข้ตัวร้อน คุณแม่ควรให้ยาลดไข้แก่ลูกทันทีหากพ้น 6 ชั่วโมงไปแล้วไข้ยังไม่ลด ก็ให้ยาลดไข้อีกครั้ง เด็กบางคนมีปฎิกิริยาต่อวัคซีนไอกรนมากกว่าปกติ อาจเกิดอาการไข้สูง ชักหรือหยุดหายใจ ถ้าลูกมีอาการเหล่านี้ ควรงดเว้นวัคซีนไอกรนในครั้งต่อไป โดยฉีดเพียงวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักเท่านั้น
 อาการที่พบบ่อยหลังฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค คือแผลที่ปลูกฝีไว้จะแตก ทำให้ฝีหายช้า เมื่อมีตุ่มหนองเกิดขึ้น (ประมาณ 1 เดือนหลังฉีด) คุณแม่ต้องพยายามอย่าให้ตุ่มหนองแตก เช่น เวลาอาบน้ำให้ทำความสะอาดบริเวณที่ฉีดวัคซีนเบาๆ อย่าเอาเข็มบ่งเพราะอาจจะทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังในภายหลังได้
 วัคซีนอีสุกอีใส หลังฉีดภายใน 1 เดือน อาจมีผื่นเกิดขึ้นเหมือนผื่นสุกใส แต่จะเป็นไม่มากและจะหายเองได้
 วัคซีนหัด หัดเยรมัน คางทูม คนที่แพ้ยานีโอมัยซินห้ามใช้ เพราะมียาตัวนี้อยู่ในวัคซีน
 วัคซีนไทฟอยด์ชนิดกินอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดหัว หรือมีผื่นได้ และไม่ควรให้พร้อมกับยาฆ่าเชื้อในลำไส้ เพราะเชื้อวัคซีนจะถูกทำลายได้ ควรจะให้กับเด็กที่กลืนยาแคปซูลได้เท่านั้น

วัคซีนที่มีเครื่องหมาย * ไม่บังคับต้องฉีดทุกคน





แสดงความคิดเห็น






Insurance


Advertisement