เครื่องเลเซอร์ที่นำมาใช้นี้ พญ.อรเกศ ปัญญาเนตินาถ แพทย์เฉพาะทางด้านตจวิทยา (ผิวหนังและความงาม) บริษัท เวอริตา เฮลท์ มหานคร จำกัด ได้นำมาพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับคนเอเชีย ซึ่งมีผิวที่แตกต่างจากชาวยุโรป ทำให้เครื่อง Juliet Asclepion มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเห็นผลที่ดีขึ้นในคนไข้ชาวเอเชีย
เมื่อเราอายุมากขึ้น ด้วยประสบการณ์ชีวิตด้านต่างๆที่มากขึ้น ปัญหาจุดซ่อนเร้นก็มากขึ้นตามลำดับ แม้จะดูแลดีอย่างไรความเสื่อมถอยของคอลลาเจนในผิวย่อมลดลง จุดซ่อนเร้นก็เช่นกัน เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และกระตุ้นการสร้างใหม่ของต่อมหลั่งเมือกต่างๆ การเลเซอร์ด้วย Juliet Asclepion เพียง 15 นาที และควรทำเดือนละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 เดือน และหลังจากนั้น 1 ปีควรกลับมาเลเซอร์อีกครั้งเพื่อคงความสุขภาพดีของจุดซ่อนเร้น
ข้อดีของ Juliet Asclepion คือไม่ต้องทำการผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยถึงแนวทางการรักษาปัญหาต่างๆ
Juliet Asclepion สามารถใช้รักษา
- อาการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย หรืออาการไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้แม้กับวัยกลางคน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ
- เชิงกรานที่เริ่มหย่อน ช่องคลอดหย่อนยาน ช่องคลอดขาดน้ำหล่อเลี้ยงและเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่กระชับ ทำให้ขาดความกระชับขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะสตรีที่มีบุตรจะเกิดปัญหานี้ได้มากขึ้น หรือกระทั่งสตรีที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย และอายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน
- อวัยวะเพศฝ่อและลีบ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เนินอวัยวะเพศอวบขึ้น
- อวัยวะเพศสีคล้ำ สามารถปรับสีผิวบริเวณอวัยวะเพศให้เรียบเนียนขึ้น โดยการแลเซอร์ภายใน
และจากการที่เราได้พูดคุยกับ พญ.อรเกศ ปัญญาเนตินาถ ทำให้ทราบว่าผู้หญิงไม่กล้าที่ปรึกษาปัญหานี้กับแพทย์ ในบางครั้งอาจค้นข้อมูลจากสื่อต่างๆซึ่งอาจไม่เหมาะกับปัญหานั้นๆและอาจเกิดปัญหาได้มากขึ้น ทั้งการดูแลจุดซ่อนเร้น คุณหมอแนะนำให้ใช้เพียงสบู่อ่อนชำระล้างภายนอกและซับให้แห้ง รวมทั้งดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา
เวอริตา เฮลท์ มหานคร ตั้งอยู่บนชั้น 3 อาคารมหานคร คิวบ์ บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ครบครันด้วยเครื่องมือวินิจฉัยโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์อันทันสมัย พร้อมบริการด้านการตรวจและการรักษาที่มีชื่อเสียงโดดเด่นของเวอริตา เฮลท์ มหานคร ได้แก่ การทดสอบอายุทางชีวภาพ ( Verita Index of Biological Age) การตรวจหาความเสี่ยงของโรค ( Discovery Screening Plan) การรักษาด้วยฮอร์โมน การฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ และการป้องกันมะเร็ง เป็นต้น