กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากล เพื่อต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021) ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564 โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทย และนักออกแบบลายผ้าไทยรุ่นใหม่ ให้มีโอกาสนำเสนอความคิดสร้างสรรค์จากผ้าไทย ภายใต้แนวคิดหลัก “สังคมสรรค์สร้าง Social Creation” ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Texiles Trend Book Spring/Summer 2022) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสร้างสรรค์ลายผ้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด พร้อมต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยสู่ความยั่งยืนสืบไป
โครงการนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงแฟชั่นและผ้าไทยอย่าง คุณจ๋อม-ศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์มากฝีมือแห่งแบรนด์ THEATRE (เธียเตอร์), คุณอู๋-วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) หนึ่งในดีไซเนอร์ไทยที่สร้างชื่อเสียงในเวทีแฟชั่นระดับสากล พร้อมด้วย คุณปืน-สธน ตันตราภรณ์ ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น , คุณโจ-ธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ Jo's Bag (โจแบ็ค) และคุณกุ้ง-เปรมฤดี กุลสุ เจ้าของคอนตอนฟาร์ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝ้ายและการใช้สีในท้องถิ่น มาร่วมให้แนวคิดในการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างสรรค์แฟชั่นจากผ้าไทยที่ไม่ว่ายุคไหนก็ไม่มีคำว่าเชย
เริ่มจากคุณปืน-สธน ตันตราภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นคนดัง กล่าวถึงแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย ผ่าน 6 เทรนด์จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Texiles Trend Book Spring/Summer 2022) ว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ประเทศไทยกำลังเริ่มมีเทรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งเกิดจากวิธีการคิดของคนไทยเอง จากวิธีการคิดสี การคิดผ้า การใช้ชีวิต กล่อมเกลาจนกลายเป็นเทรนด์ สำหรับปี 2022 โดยเทรนด์แฟชั่นที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลล้วนมีเหตุผลและที่มาเสมอ อย่างช่วงเศรษฐกิจไม่ดี คนจะใช้สีขาวและสีดำ เพราะคนมีเงินน้อยก็มักจะซื้อของที่ใช้แล้วอยู่ได้นาน พอเศรษฐกิจดีขึ้นเสื้อผ้าที่มีสีสันก็จะขายดีมากขึ้นเพราะผู้คนเริ่มสนุกสนาน มันจะผกผันแบบนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น 6 เทรนด์หลักประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2022 ประกอบด้วย มหัศจรรย์แห่งคุณค่า (The Wonder of Value Dusit Legacy), ความสง่างามครบมิติ( Holistic Elegance), สังคมสรรค์สร้าง (Social Creation), ความฝันแห่งวันวาน (Nostalgic Dream), ตัวแทนแห่งคลื่นลูกใหม่ (New Wave Ego) และเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า (Change for Redemption) เพราะฉะนั้นวัสดุธรรมชาติที่สำคัญคือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะสีธรรมชาติกับวัสดุธรรมชาติมีมากขึ้น และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พยายามผลักดันในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
มากกว่า เช่น คนผิวขาวควรจะใส่สีอะไร ในเวลาไหน เพราะผ้าฝ้ายไทยที่ย้อมมือมีเสน่ห์ มีความหลากหลาย มีทุกภูมิภาคในประเทศไทย อีกทั้งผ้าสามารถเพิ่มมูลค่าได้ในเรื่องราวที่กว่าจะมาเป็นผ้าสีต่างๆ มีการผสมอย่างไร คนทำผ้าก็จะมีเรื่องราวตั้งแต่ทำผ้าของตัวเอง ย้อมผ้าของตัวเอง ส่วนคนที่ซื้อไปตัดเย็บต่อก็จะมีเรื่องราวของตัวเองได้อีก เด็กรุ่นใหม่จึงควรสร้างสรรค์ผลงานจากเอกลักษณ์ดั้งเดิมกับภูมิปัญญาเดิมมาเป็นส่วนหนึ่งของการประกวด
ปิดท้ายที่ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝ้าย คุณกุ้ง-เปรมฤดี กุลสุ กล่าวว่า ผ้าพื้นเมืองไม่ว่าจะภาคไหนก็จะมีเสน่ห์ในตัวเองอยู่แล้ว นักออกแบบในพื้นที่อาจจะยังไม่มีเวทีที่จะนำเสนอผลงานของตนเอง การออกแบบสามารถนำมาผสมผสานกันได้ ความดั้งเดิมกับความร่วมสมัยจะต้องไปด้วยกัน คนรุ่นใหม่มีมุมมองเรื่องหัตถกรรมอย่างไร และสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานได้อย่างไร ส่วนการย้อมสีธรรมชาติเป็นการย้อมเชิงวิทยาศาสตร์ แต่ละคนอาจใช้เทคนิคเดียวกันแต่ผลที่ได้ออกมาก็จะไม่เหมือนกัน งานในครั้งนี้หวังว่าทั้งคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ผู้ประกอบการ จะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ อยากสืบสาน ต่อยอด และส่งต่อ ท้ายที่สุดอยากเห็นผลงานดีๆ ของทุกคนที่เข้าร่วมประกวด
นักออกแบบรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ นิสิตนักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 450,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ได้ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชั้น 3 อาคารบริการการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยสามารถศึกษารายละเอียดการสมัคร หลักเกณฑ์การประกวด การส่งผลงาน ได้ทาง https://me-qr.com/data/pdf/149341.pdf หรือ www.culture.go.th และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โทร. 02-2470013 ต่อ 4305 และ 4319 - 4321 ในวันและเวลาราชการ ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564