โลหิตจาง
เลือด คือส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย ทั้งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน ฮอร์โมน เอนไซม์ และสารอาหารต่าง ๆ เมื่อเลือดผิดปกติก็จะมีผลต่อระบบของร่างกายโดยตรง ความผิดปกติที่เรามักจะรู้จักกันดีนั่นคือ โลหิตจาง
ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะที่บ่งบอกได้ถึงโรคและอาการอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง เช่น เนื้องอกในมดลูก ะเพาะอาหาร หรือเกิดจากร่างกายของบางคนสร้างเม็ดเลือดตามปกติไม่ได้ เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 กรดโฟลิก โปรตีน หรือร่างกายมีพยาธิในลำไมะเร็ง แผลในกรส้และการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วกว่าปกติ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
มักมีอาการผิวซีดจาง ผมแตกกรอบง่าย เล็บหักและบาง เหนื่อยอ่อน อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก มือและเท้าเย็นซึ่งภาวะการขาดธาตุเหล็กมักเกิดกับผู้หญิงที่อยู่ในระหว่าง 18-25 ปี
สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนโดยเฉพาะสาว ๆ ที่ต้องการลดความอ้วน หรือการที่มีประจำเดือนมากกว่าปกติ จนกระทั่งเติมธาตุเหล็กให้ร่างกายไม่พอเพียงกับธาตุเหล็กที่เสียไป นอกจากนี้แล้วการดื่มน้ำอัดลมการรับประทานอาหารสำเร็จรูปและน้ำตาลมากไป ก็มีผลทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็กได้เช่นกัน
ข้อแนะนำ หากเกิดภาวะโลหิตจางไม่ควรรักษาที่ปลายเหตุ ควรพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียดและหาสาเหตุให้เจอ
ภาวะโลหิตจางแบบเรื้อรังหรือแบบเฉียบพลัน
1.ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอเพราะเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ หรือโรคทางกรรมพันธุ์อย่าง ทาลัสซีเมีย
2.เกิดจากเลือดที่สร้างขึ้นมาได้ถูกทำลายด้วยตัวของเราเอง หรือเสียเลือดจากการมีประจำเดือนมาก มีแผลในกระเพาะ หรือเป็นมะเร็งในลำไส้
3.เกิดจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ภาวะโลหิตจางไม่ใช่อาการที่ควรมองข้าม
Tips
1.ควรงดการดื่มชา กาแฟหลังมื้ออาหารเพื่อป้องกันไม่ให้สารอัลคานอยด์ที่มีอยู่ในชาและกาแฟ รวมตัวกับธาตุเหล็กจนเกิดเป็นสารใหม่ซึ่งร่างกายดูดซึมได้ยาก
2.ร่างกายของคนเราต้องการธาตุเหล็กในปริมาณเล็กน้อยแค่ประมาณวันละ 1-2 มิลลิกรัม การขาดธาตุเหล็กมีผลเสียต่อความงามของผู้หญิง เช่น ผมและเล็บจะแตกเปราะง่าย หน้าตาซีดเซียว
Q & A
Q: จะรู้อย่างไรว่ากำลังอยู่ในภาวะโลหิตจาง
A: การเกิดภาวะโลหิตจางก็เนื่องจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เพราะเม็ดเลือดแดงเป็นตัวนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ามีเม็ดเลือดแดงน้อย การส่งออกซิเจนก็จะน้อยตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลียง่าย วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นเร็ว ๆๅ มีอาการคล้ายกับความดันต่ำ ซึ่งอาจะไม่เกี่ยวกับความดันก็ได้ จึงต้องใช้วิธีพิสูจน์ทางการแพทย์ด้วยการเจาะเลือดดูเม็ดเลือดแดงในร่างกาย หากค่า Hemoglobin (ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง) ต่ำกว่าปกติ (ค่าฮีโมโกลบินของผู้หญิงควรอยู่ระหว่าง 12-14 สำหรับผู้ชาย 13.5-17.4) ถ้าต่ำกว่า 10 ก็จะแสดงอาการออกมา หรือถ้าเป็นผู้ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างเฉียบพลัน คือเสียเลือดมากก็จะมีอาการช็อก หน้ามืด หมดสติ
Q: ระยะเริ่มแรกที่เป็นโลหิตจางเป็นอย่างไร
A: บางคนหน้าซีด แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่หน้าซีดแปลว่าเป็นโลหิตจาง บางคนผิวขางจัดและผิวหนังบาง ทำให้ใบหน้ากูซีดได้ ต้องตรวจเลือดเท่านั้นถึงจะรู้ได้แน่ชัด
Q: เมื่อเริ่มภาวะโลหิตจางควรทำอย่างไร
A: เมื่อเริ่มมีภาวะโลหิตจางก็ต้องหาสาเหตุให้พบว่า เกิดจาการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยหรือไม่ มีการตรวจพิเศษ เช่น เจาะไขกระดูกบริเวณเนื้อกระดูกที่สะโพก แล้วเอาเซลล์มาส่องกล้อง จะทำให้รู้ว่าเป็นไขกระดูกฝ่อหรือไม่ มีมะเร็งแทรกหรือเปล่า หรือร่างกายสร้างเลือดมาก แต่ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้เพราะเป็นกรรมพนะู์ หรือสร้างเลือดได้แต่มีการทำลายมากกว่าปกติ
Q: เมื่อเกิดภาวะโลหิตจางควรดูแลตัวเอง และจะรักษาอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงขึ้นรุนแรง
A: วิธีที่ดีที่สุด การรับประทานธาตุเหล็แต่บางคนพอรับประทานไปแล้วก็จะท้องเสีย แน่นท้อง คลื่นไส้ ก็ต้องเปลี่ยนเป็นยาน้ำ แต่ถ้าร่างกายยังรับไม่ได้อีกก็ใช้วิธีฉีด แต่วิธีฉีดธาตุเหล็กเข้าเส้นเลือดมักใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เช่น ผู้ที่มีเส้นเลือดฝอยจับกันเป็นกระจุกในปาก หรือตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและมีเลือดออกทุกวัน ซึ่งเป็นอาการของเส้นเลือดแดงขอดอย่างหนึ่ง ฉะนั้น การรับธาตุเหล็กทางปากอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ
Q: หากรับประทานธาตุเหล็กมากเกินไปจะมีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่
A: ไม่มีอันตรายใด เพราะร่างกายสามารถขับถ่ายออกมาได้ทางอุจจาระ ยกเว้นว่าร่างกายของบางคนเป็นโรคที่สะสมธาตุเหล็กไว้ในร่างกายได้มาก ก็จะเป็นอันตรายต่อตับ ม้าม หัวใจ ซึ่งก็จะห้ามรับประทานธาตุเหล็กหรือบางรายก็จำเป็นต้องเอาเลือดออกด้วยการไปบริจาคเลือด แต่กรณีนี้มีเป็นจำนวนน้อยจึงต้องเจาะเลือดหาปริมาณธาตุเหล็กเท่านั้นจึงจะทราบ