น้อยหน่า อร่อยดีมีประโยชน์



คนไทยเรียกน้อยหน่าด้วยคำที่คล้ายกันแทบทุกพื้นที่  อย่างภาคเหนือเรียก มะสำหรับชื่อสามัญของน้อยหน่า คือ Custard Apple เป็นชื่อที่คุ้นหูที่สุด และบางทีอาจมีชื่ออื่นให้ได้ยินบ้าง เช่น Sweetsop หรือ sugar apple น้อยหน่ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Annona Squamosa Linn. ฝรั่งจัดให้อยู่ในตระกูล Annonaceae


ส่วนคนใต้ส่วนใหญ่เรียกน้อยแน่ ที่ต่างก็จะเป็นคนปัตตานี เรียนว่าลาหนัง กับคนอีสานก็เป็น มะเขียบ หรือหมักเขียบ

1.ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตามตำราหลายๆเล่มแล้ว น้อยหน่าเป็นสมุนไพรหนึ่งของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 8 ม. ตามกิ่งก้านจะเกลี้ยงเกลาไม่มีหนามหรือตุ่ม ลำต้นตรง สีเทาปนน้ำตาล ใบออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบยาวรี โคนใบกับปลายใบแหลม ด้านบนเป็นสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างของใบ


ดอกเขียวอมเหลือง โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบเรียวแหลม ผลค่อนข้างกลมกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-9 ซม. เปลือกนิ่มเป็นสีเทาอมเขียว ผิวขรุขระเป็นช่องนูนกลม เนื้อในผลเป็นสีขาวตัดกับสีดำของเมล็ดที่ยาวรี


สายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันคือ น้อยหน่าฝ้าย และน้อยน่าหนัง ซึ่งเนื้อนุ่ม รสหวาน ถิ่นที่ปลูกได้ดีและมีชื่อเสียงมากที่สุดในไทย คือ อ.กลาง จ.โคราช เพราะเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้งง และยังปลูกง่าย โตไว ไม่ต้องบำรุงอะไรเป็นพิเศษ

2.คุณค่าและคุณประโยชน์

ผลไม้ชนิดนี้ให้สารอาหารสำคัญที่จำเป็นครบถ้วน ทั้งไขมัน(ต่ำ) คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม เหล็ก วิตามิน เอ บี1 บี2 และซี ความโดดเด่นของน้อยหน่านอกจากจะมีน้ำมากถึง ร้อยละ 69.5 ต่อปริมาณเนื้อ 100 กรัมแล้ว ยังให้แคลเซียมและวิตามินซีสูงถึง 31 และ 47 กรัม ตามลำดับ ในปริมาณที่รับประทานเข้าไปแค่ 100 กรัมเท่านั้น ในด้านของประโยชน์ทางยาและการรักษาโรคก็ใช้ได้หลายส่วน เช่น รากใช้เป็นยาระบายและแก้โรคบิดได้ บางที่ก็ใช้ถอนพิษแก้อาการเบื่อเมา ส่วนเปลือกของลำต้น ใช้เป็นยาสมานแผลและห้ามเลือดได้ดี ทั้งยังแก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้โรครำมะนาด แก้พิษงูกัด จนถึงใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ในขณะที่ใบช่วยขับพยาธิในลำไส้ ฆ่าหิด เหา รักษากลากเกลื้อนได้ หรือจะใช้ใบตำกับเกลือแล้วพอกรักษาฝีหรือแผลพุพองก็ได้


วิธีรักษาอาการคันศีรษะเพราะเหา อย่างที่คนอีสานทำกันคือ นำใบมาโขลกให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว จากนั้นขยี้ให้ทั่วศีรษะพร้อมใช้ผ้าโพกคลุมหัวไว้ประมาณ 1 ชม. แล้วจึงล้างออกให้สะอาด


ส่วนผลดิบเองก็ใช้สมานแผล ห้ามเลือดได้ดีเหมือนกัน รักษาอาการท้องร่วง โรคบิด แก้พิษงูกัด แก้ฝีในลำคอ ช่วยรักษาอาการคันเพราะกลากเกลื้อน ถ้าเป็นผลสุก นอกจากจะหวานฉ่ำอร่อยแล้ว ยังเป็นอาหารที่เหมาะกับคนป่วยที่เพิ่งหายไข้ด้วย เพราะมีวิตามินซีสูง หรือถ้าเป็นผลแห้งก็นำมาใช้รักษาโรคเริม งูสวัด และแก้ฝีในหู


สุดท้ายคือเมล็ดที่ช่วยรักษาอาการปวดบวมช้ำ ฆ่าเหา หิด และฆ่าพยาธิตัวจี๊ดได้ดี

 






Insurance