เบาหวานหมายความว่าอย่างไร
เบาหวานเป็นชื่อที่เรียกกันตามลักษณะอาการของโรคนี้ โดยคำว่า "เบา" ตามภาษาชาวบ้าน หมายถึง "ปัสสาวะ" ไม่ได้หมายถึงให้ลดละของหวานๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมการรับประทานของหวานอย่างเคร่งครัด เนื่องจากสภาพร่างกายขาดหรือมีระดับของฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ฮอร์โมนดังกล่าวมีส่วนสำคัญต่อการเผาผลาญน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน ด้วยเหตุนี้เมื่อร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ จึงเป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่างกายจึงต้องขับน้ำตาลออกมากับปัสสาวะมาก ทำให้ปัสสาวะหวาน และเป็นที่มาของชื่อโรคดังกล่าวนั่นเอง
ในทางการแพทย์ได้แบ่งโรคนี้ออกเป็น 2 แบบ คือเบาหวานแบบที่ 1 กับเบาหวานแบบที่ 2 เหตุที่ต้องแยกแยะเช่นนี้ก็เพื่อประโยชน์ในแง่ของการรักษา
แบบที่ 1
สภาพร่างกายของผู้ป่วยขาดฮอร์โมนอินซูลินอย่างสิ้นเชิง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตั้งแต่เกิด โดยได้รับพันธุกรรมดังกล่าวมาจากบิดามารดาหรือญาติร่วมสายโลหิต การเยียวยารักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนชนิดนี้เพื่อเข้าไปช่วยเสริมเพิ่มเติมให้เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกเบาหวานแบบนี้ว่า แบบพึ่งอินซูลิน
แบบที่ 2
มักจะพบมากในผู้สูงวัยตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป แต่ก็มีแนวโน้มจะพบในผู้ที่มีอายุน้อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะคนอ้วน สาเหตุของเบาหวานแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้ได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อนอันเนื่องจากโรคนนี้ขึ้นมาแล้ว อย่างไรก็ดีเบาหวานแบบนี้ก็จะสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลินเหมือนอย่างเบาหวานแบบแรก
อะไรคือต้นเหตุแท้จริงที่ทำให้อินซูลินในร่างกายผิดปกติอันนำไปสู่การเกิดโรคนี้
ต้นเหตุแท้จริงของการป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 1 จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัด อย่างไรก็ดีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่ทำงานผิดปกติ ตลอดจนการเจ็บไข้ในวัยเด็กที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส อย่างเช่น หัด คางทูมหรือไข้หวัด มีอิทธิพลสูงมากต่อการป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 1 ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวอาจแพร่กระจายเข้าไปเล่นงานได้ถึงตับอ่อน ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
ส่วนเบาหวานแบบที่ 2 ต้นเหตุอาจเกิดขึ้นเนื่องจากกรรมพันธุ์ พอๆกับที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเซลล์บางตัวในร่างกาย ซึ่งต่อต้านหรือขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน อย่างไรก็ดีในเบาหวานแบบที่ 2 นี้ มักมีตัวกระตุ้นสำคัญคือ ภาวะโภชนาการที่ไม่ได้สัดส่วน รับประทานอาหารที่มีไขมันหรืออาหารหวานๆมากเกินไป โรคอ้วน และการไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ลักษณะอาการของเบาหวานแต่ละแบบเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วทั้งสองแบบจะมีอาการคล้ายคลึงกัน คือจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย คันผิวทั่วตัว เวลาเกิดบาดแผล แผลก็จะเน่าลุกลามและเรื้อรัง วิงเวียนหน้ามืด อารมณ์หงุดหงิด ใจสั่น ติดเชื้อต่างๆได้โดยง่าย อย่างไรก็ดีมีความแตกต่างระหว่างแบบที่ 1 กับแบบที่ 2 ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบบที่ 1 อาการต่างๆดังกล่าวจะรุนแรงอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยทรุดลงอย่างเห็นได้ชัดในระยะเวลาอันสั้น แต่สำหรับ แบบที่ 2 อาการของโรคจะค่อยๆปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันได้เอะใจ หรือไม่ทันได้คิดว่านั่นเป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวาน
โรคนี้มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
อันตรายของโรคนี้เป็นผลเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ จึงเป็นเหตุให้บางครั้งระดับน้ำตาลก็สูงแต่บางครั้งก็ต่ำเกินไป ซึ่งอาการเช่นเช่นี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตตได้ เพราะน้ำตาลในเลือดก็คือพลังงานที่หล่อเลี้ยงเซลล์ ยิ่งกว่านั้นหากปล่อยอาการดังกล่าวไว้ในระยะยาวก็จะทำให้เกิดความผิดปกติกับระบบการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมายหลายประการ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ
1. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดเล็ก
โดยเฉพาะที่จอประสาทตา เส้นประสาทส่วนปลายและไต โดยจอประสาทตาของผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรังจะถูกทำลายจนถึงขั้นตาบอด กรณีเกิดกับเส้นประสาทส่วนปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาเปลี้ยขาไม่มีแรง รวมไปถึงหมดความรู้สึกทางเพศ และในกรณีที่เกิดกับไตก็อาจถึงขั้นทำให้ไตวายได้
2. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดใหญ่
เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดขา โดยเลือดที่มีความข้นหวานไปด้วยน้ำตาลจะทำให้หลอดเลือดดังกล่าวอุดตัน
เราสามารถลดความเสี่ยงให้กับผู้มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร
ยิ่งสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 2 ซึ่งเป็นแบบไม่พึ่งอินซูลิน หากรู้จักดูแลตัวเองอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อเบาหวานได้มากถึงขนาดหายเป็นปกติได้ วิธีการดูแลตัวเองสามารถทำได้ด้วยการควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด บริโภคอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ หลีกเลี่ยงน้ำตาลและอาหารที่ผ่านการขัดขาว และหันมารับประทานข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ผักต่างๆ ผลไม้ที่ไม่หวาน ซึ่งอาหารดังกล่าวเหล่านั้นไม่กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด แถมมีคุณค่าทางโภชนาการและกากใยสูงด้วย นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้กลายมาเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อความไม่ประมาทควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ พร้อมตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี
ค่าของระดับน้ำตาลในเลือดมีความหมายอย่างไร
โดยทั่วไปหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่เกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้สบายใจและปลอดภัยจากโรคนี้ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งค่าของระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าอยู่ในระดับปกตินั้น จะต้องอยู่ระหว่าง 4.0 - 6.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าของระดับน้ำตาลที่อยู่ระหว่าง 6.0 - 7.0 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเริ่มมีความเสี่ยง ดังนั้นจะต้องใส่ใจตัวเองเพิ่มขึ้น และถ้าหากค่าของระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเกิน 7.5 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเริ่มมีความเสี่ยงดังนั้นจะต้องใส่ใจตัวเองเพิ่มขึ้น และถ้าหากค่าของระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเกิน 7.5 เปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่าคุณป่วยเป็นเบาหวานอย่างแน่นอนเรียบร้อยแล้ว
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานแล้วจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเกิดพุ่งสูงขึ้นอย่างกระทันหัน ก็จะต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินทันที แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ได้รับอินซูลินมากเกินไป มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำอย่างฮวบฮาบ ซึ่งจะต้องรีบให้น้ำตาลเพิ่มโดยด่วน หากแก้ไขไม่ทัน อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติได้
นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้นให้ อาการกำเริบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในภาวะปลอดภัยอยู่เสมอ
ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพกพาอินซูลินติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทันในยามคับขัน ส่ว่นใหญ่แพทย์จะนิยมจ่ายอินซูลินแบบมาตรฐาน ซึ่งใช้วิธีฉีดอินซูลินผ่านทางผิวหนังได้สะดวกโดยภายในจะมีไส้ปากกาที่มีอินซูลินบรรจุเสร็จในปริมาณที่ชัดเจนแน่นอน ผู้ป่วยไม่ต้องกะปริมาณอินซูลินเอง และล่าสุดมีแบบฉีดพ่นอินซูลินผ่านผิวหนังด้วยแรงดันสูง ซึ่งสามารถจะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลงในขณะถูกฉีด นับว่าสะดวกสบายอย่างยิ่ง
นอกจากอินซูลินแบบฉีดก็ยังมีอินซูลินแบบรับประทาน แต่แบบนี้ก็ยังสู้แบบมาตรฐานที่ใช้ฉีดผ่านเข้าทางผิวหนังได้
อันที่จริงอินซูลินในแบบรับประทานก็มีปริมาณของตัวยาพอๆกับแบบฉีด อีกทั้งก็สะดวกดีและผู้ป่วยก็ไม่ต้องเจ็บตัวด้วย แต่เพราะเหตุใดจึงบอกว่าอินซูลินแบบนี้ค่อยดี
เหตุที่อินซูลินแบบนี้สู้แบบฉีดไม่ได้เพราะอินซูลินแบบรับประทานจะถูกน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารทำลายประสิทธิภาพจนแทบไม่มีเหลือไปเสียก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด หรือถ้ายังมีอินซูลินหลงเหลือก็กว่าจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ก็ล่าช้า ดังนั้นอินซูลินแบบนี้จึงไม่เหมาะและไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการอินซูลินได้อย่างทันท่วงที เมื่อเกิดอาการกำเริบขึ้นมา
มีวิธีการบำบัดรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินตลอดเวลาแบบใหม่ๆที่น่าสนใจกว่านี้อีกบ้างไหม
นับเป็นความใฝ่ฝันสูงสุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งพาอินซูลินอยู่ตลอดเวลาเป็นอย่างมาก เพราะในแต่ละวันผู้ป่วยต้องเจ็บตัวหลายครั้ง จากการถูกฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายวันละหลายๆเข็ม เพื่อที่จะรักษาให้ระดับของอินซูลินในตัวคงที่ ด้วยเหตุนี้ในวงการแพทย์จึงได้พยายามที่จะออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสำหรับให้อินซูลินแก่ผู้ป่วยด้วยวิธีการแบบใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยมากขึ้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและค้นคว้าทดลองผลิตอินซูลินในรูปแบบพ่นผ่านเข้าสู่จมูก และแบบเป็นแผ่นพลาสเตอร์แปะบนผิวหนังขึ้นมาทดลองใช้ แต่อย่างไรก็ดีอินซูลินในแบบต่างๆเหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพที่ไม่ค่อยแน่นอนเท่าใดนัก
นอกจากนี้ก็มีความพยายามที่จะปรับปรุงการผลิตอินซูลินแบบรับประทานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตัวยาสามารถต้านทานน้ำย่อย และสามารถที่จะดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารได้โดยไม่สลายตัว
7 คำถามกับความเสี่ยงต่อเบาหวาน
นอกเหนือจากการตอบแบบสอบถามแล้ว ควรจะเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจวัดระดับน้ำตาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย เพื่อที่จะได้วินิจฉัยและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุดค่ะ
1. คุณมีน้ำหนักตัวที่หนักเท่ากับหรือเกินกว่าความสูงของตัวเองหรือไม่
2. คุณอายุไม่ถึง 65 ปี แต่วันๆจะไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนเเคลื่อนไหวและไม่ได้ออกกำลังกายเลย
3. ตอนนี้คุณมีอายุอยู่ระหว่าง 45-65 ปี ใช่หรือไม่
4. หรือว่าคุณมีอายุเกินกว่า 65 ปี แล้วใช่หรือไม่
5. คุณเคยตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวในขณะแรกเกิดเกินกว่า 4 กิโลครึ่ง
6. คุณมีพี่น้องร่วมสายเลือดที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานใช่หรือไม่
7. พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายของคุณเคยป่วยหรือกำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน ใช่หรือไม่
ข้อที่ตอบ "ใช่" = 2 คะแนน ข้อที่ตอบว่า "ไม่ใช่" = 1 คะแนน
ข้อวิเคราะห์และคำแนะนำ
หากคะแนนที่ได้อยู่ระหว่าง 1-9 คะแนนหมายความว่า
คุณมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยต่อการที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานแบบที่ 2 แต่ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงต่อโรคนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตาม อย่างไรก็ดีควรหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมอยู่เป็นประจำ และพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
หากคะแนนที่ได้เกินกว่า 10 คะแนนขึ้นไป
คุณเตรียมใจไว้ได้เลย เพราะความเสี่ยงของคุณต่อเบาหวานปรากฎชัดเจนมากหากคุณยังไม่หันมาใส่ใจสุขภาพ ด้วยการควบคุมอาหาร พยายามลดน้ำหนัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ คุณคงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้ได้ และทางที่ดีคุณควรจะหมั่นไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์อยู่เป็นประจำ
เบาหวานเป็นชื่อที่เรียกกันตามลักษณะอาการของโรคนี้ โดยคำว่า "เบา" ตามภาษาชาวบ้าน หมายถึง "ปัสสาวะ" ไม่ได้หมายถึงให้ลดละของหวานๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมการรับประทานของหวานอย่างเคร่งครัด เนื่องจากสภาพร่างกายขาดหรือมีระดับของฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ฮอร์โมนดังกล่าวมีส่วนสำคัญต่อการเผาผลาญน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน ด้วยเหตุนี้เมื่อร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ จึงเป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่างกายจึงต้องขับน้ำตาลออกมากับปัสสาวะมาก ทำให้ปัสสาวะหวาน และเป็นที่มาของชื่อโรคดังกล่าวนั่นเอง
ในทางการแพทย์ได้แบ่งโรคนี้ออกเป็น 2 แบบ คือเบาหวานแบบที่ 1 กับเบาหวานแบบที่ 2 เหตุที่ต้องแยกแยะเช่นนี้ก็เพื่อประโยชน์ในแง่ของการรักษา
แบบที่ 1
สภาพร่างกายของผู้ป่วยขาดฮอร์โมนอินซูลินอย่างสิ้นเชิง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นมาตั้งแต่เกิด โดยได้รับพันธุกรรมดังกล่าวมาจากบิดามารดาหรือญาติร่วมสายโลหิต การเยียวยารักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนชนิดนี้เพื่อเข้าไปช่วยเสริมเพิ่มเติมให้เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกเบาหวานแบบนี้ว่า แบบพึ่งอินซูลิน
แบบที่ 2
มักจะพบมากในผู้สูงวัยตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป แต่ก็มีแนวโน้มจะพบในผู้ที่มีอายุน้อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะคนอ้วน สาเหตุของเบาหวานแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้ได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อนอันเนื่องจากโรคนนี้ขึ้นมาแล้ว อย่างไรก็ดีเบาหวานแบบนี้ก็จะสามารถบรรเทาอาการของโรคได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลินเหมือนอย่างเบาหวานแบบแรก
อะไรคือต้นเหตุแท้จริงที่ทำให้อินซูลินในร่างกายผิดปกติอันนำไปสู่การเกิดโรคนี้
ต้นเหตุแท้จริงของการป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 1 จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัด อย่างไรก็ดีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่ทำงานผิดปกติ ตลอดจนการเจ็บไข้ในวัยเด็กที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส อย่างเช่น หัด คางทูมหรือไข้หวัด มีอิทธิพลสูงมากต่อการป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 1 ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวอาจแพร่กระจายเข้าไปเล่นงานได้ถึงตับอ่อน ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
ส่วนเบาหวานแบบที่ 2 ต้นเหตุอาจเกิดขึ้นเนื่องจากกรรมพันธุ์ พอๆกับที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเซลล์บางตัวในร่างกาย ซึ่งต่อต้านหรือขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน อย่างไรก็ดีในเบาหวานแบบที่ 2 นี้ มักมีตัวกระตุ้นสำคัญคือ ภาวะโภชนาการที่ไม่ได้สัดส่วน รับประทานอาหารที่มีไขมันหรืออาหารหวานๆมากเกินไป โรคอ้วน และการไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ลักษณะอาการของเบาหวานแต่ละแบบเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วทั้งสองแบบจะมีอาการคล้ายคลึงกัน คือจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย คันผิวทั่วตัว เวลาเกิดบาดแผล แผลก็จะเน่าลุกลามและเรื้อรัง วิงเวียนหน้ามืด อารมณ์หงุดหงิด ใจสั่น ติดเชื้อต่างๆได้โดยง่าย อย่างไรก็ดีมีความแตกต่างระหว่างแบบที่ 1 กับแบบที่ 2 ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบบที่ 1 อาการต่างๆดังกล่าวจะรุนแรงอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยทรุดลงอย่างเห็นได้ชัดในระยะเวลาอันสั้น แต่สำหรับ แบบที่ 2 อาการของโรคจะค่อยๆปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันได้เอะใจ หรือไม่ทันได้คิดว่านั่นเป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวาน
โรคนี้มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
อันตรายของโรคนี้เป็นผลเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ จึงเป็นเหตุให้บางครั้งระดับน้ำตาลก็สูงแต่บางครั้งก็ต่ำเกินไป ซึ่งอาการเช่นเช่นี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตตได้ เพราะน้ำตาลในเลือดก็คือพลังงานที่หล่อเลี้ยงเซลล์ ยิ่งกว่านั้นหากปล่อยอาการดังกล่าวไว้ในระยะยาวก็จะทำให้เกิดความผิดปกติกับระบบการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมายหลายประการ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ
1. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดเล็ก
โดยเฉพาะที่จอประสาทตา เส้นประสาทส่วนปลายและไต โดยจอประสาทตาของผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรังจะถูกทำลายจนถึงขั้นตาบอด กรณีเกิดกับเส้นประสาทส่วนปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาเปลี้ยขาไม่มีแรง รวมไปถึงหมดความรู้สึกทางเพศ และในกรณีที่เกิดกับไตก็อาจถึงขั้นทำให้ไตวายได้
2. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดใหญ่
เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดขา โดยเลือดที่มีความข้นหวานไปด้วยน้ำตาลจะทำให้หลอดเลือดดังกล่าวอุดตัน
เราสามารถลดความเสี่ยงให้กับผู้มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร
ยิ่งสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นเบาหวานแบบที่ 2 ซึ่งเป็นแบบไม่พึ่งอินซูลิน หากรู้จักดูแลตัวเองอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อเบาหวานได้มากถึงขนาดหายเป็นปกติได้ วิธีการดูแลตัวเองสามารถทำได้ด้วยการควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด บริโภคอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ หลีกเลี่ยงน้ำตาลและอาหารที่ผ่านการขัดขาว และหันมารับประทานข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ผักต่างๆ ผลไม้ที่ไม่หวาน ซึ่งอาหารดังกล่าวเหล่านั้นไม่กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด แถมมีคุณค่าทางโภชนาการและกากใยสูงด้วย นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้กลายมาเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อความไม่ประมาทควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ พร้อมตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี
ค่าของระดับน้ำตาลในเลือดมีความหมายอย่างไร
โดยทั่วไปหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่เกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้สบายใจและปลอดภัยจากโรคนี้ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งค่าของระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าอยู่ในระดับปกตินั้น จะต้องอยู่ระหว่าง 4.0 - 6.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าของระดับน้ำตาลที่อยู่ระหว่าง 6.0 - 7.0 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเริ่มมีความเสี่ยง ดังนั้นจะต้องใส่ใจตัวเองเพิ่มขึ้น และถ้าหากค่าของระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเกิน 7.5 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเริ่มมีความเสี่ยงดังนั้นจะต้องใส่ใจตัวเองเพิ่มขึ้น และถ้าหากค่าของระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเกิน 7.5 เปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่าคุณป่วยเป็นเบาหวานอย่างแน่นอนเรียบร้อยแล้ว
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานแล้วจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเกิดพุ่งสูงขึ้นอย่างกระทันหัน ก็จะต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินทันที แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ได้รับอินซูลินมากเกินไป มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำอย่างฮวบฮาบ ซึ่งจะต้องรีบให้น้ำตาลเพิ่มโดยด่วน หากแก้ไขไม่ทัน อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติได้
นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้นให้ อาการกำเริบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในภาวะปลอดภัยอยู่เสมอ
ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพกพาอินซูลินติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทันในยามคับขัน ส่ว่นใหญ่แพทย์จะนิยมจ่ายอินซูลินแบบมาตรฐาน ซึ่งใช้วิธีฉีดอินซูลินผ่านทางผิวหนังได้สะดวกโดยภายในจะมีไส้ปากกาที่มีอินซูลินบรรจุเสร็จในปริมาณที่ชัดเจนแน่นอน ผู้ป่วยไม่ต้องกะปริมาณอินซูลินเอง และล่าสุดมีแบบฉีดพ่นอินซูลินผ่านผิวหนังด้วยแรงดันสูง ซึ่งสามารถจะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลงในขณะถูกฉีด นับว่าสะดวกสบายอย่างยิ่ง
นอกจากอินซูลินแบบฉีดก็ยังมีอินซูลินแบบรับประทาน แต่แบบนี้ก็ยังสู้แบบมาตรฐานที่ใช้ฉีดผ่านเข้าทางผิวหนังได้
อันที่จริงอินซูลินในแบบรับประทานก็มีปริมาณของตัวยาพอๆกับแบบฉีด อีกทั้งก็สะดวกดีและผู้ป่วยก็ไม่ต้องเจ็บตัวด้วย แต่เพราะเหตุใดจึงบอกว่าอินซูลินแบบนี้ค่อยดี
เหตุที่อินซูลินแบบนี้สู้แบบฉีดไม่ได้เพราะอินซูลินแบบรับประทานจะถูกน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารทำลายประสิทธิภาพจนแทบไม่มีเหลือไปเสียก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด หรือถ้ายังมีอินซูลินหลงเหลือก็กว่าจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ก็ล่าช้า ดังนั้นอินซูลินแบบนี้จึงไม่เหมาะและไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการอินซูลินได้อย่างทันท่วงที เมื่อเกิดอาการกำเริบขึ้นมา
มีวิธีการบำบัดรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินตลอดเวลาแบบใหม่ๆที่น่าสนใจกว่านี้อีกบ้างไหม
นับเป็นความใฝ่ฝันสูงสุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งพาอินซูลินอยู่ตลอดเวลาเป็นอย่างมาก เพราะในแต่ละวันผู้ป่วยต้องเจ็บตัวหลายครั้ง จากการถูกฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายวันละหลายๆเข็ม เพื่อที่จะรักษาให้ระดับของอินซูลินในตัวคงที่ ด้วยเหตุนี้ในวงการแพทย์จึงได้พยายามที่จะออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสำหรับให้อินซูลินแก่ผู้ป่วยด้วยวิธีการแบบใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยมากขึ้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและค้นคว้าทดลองผลิตอินซูลินในรูปแบบพ่นผ่านเข้าสู่จมูก และแบบเป็นแผ่นพลาสเตอร์แปะบนผิวหนังขึ้นมาทดลองใช้ แต่อย่างไรก็ดีอินซูลินในแบบต่างๆเหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพที่ไม่ค่อยแน่นอนเท่าใดนัก
นอกจากนี้ก็มีความพยายามที่จะปรับปรุงการผลิตอินซูลินแบบรับประทานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตัวยาสามารถต้านทานน้ำย่อย และสามารถที่จะดูดซึมผ่านกระเพาะอาหารได้โดยไม่สลายตัว
7 คำถามกับความเสี่ยงต่อเบาหวาน
นอกเหนือจากการตอบแบบสอบถามแล้ว ควรจะเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจวัดระดับน้ำตาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย เพื่อที่จะได้วินิจฉัยและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุดค่ะ
1. คุณมีน้ำหนักตัวที่หนักเท่ากับหรือเกินกว่าความสูงของตัวเองหรือไม่
2. คุณอายุไม่ถึง 65 ปี แต่วันๆจะไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนเเคลื่อนไหวและไม่ได้ออกกำลังกายเลย
3. ตอนนี้คุณมีอายุอยู่ระหว่าง 45-65 ปี ใช่หรือไม่
4. หรือว่าคุณมีอายุเกินกว่า 65 ปี แล้วใช่หรือไม่
5. คุณเคยตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวในขณะแรกเกิดเกินกว่า 4 กิโลครึ่ง
6. คุณมีพี่น้องร่วมสายเลือดที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานใช่หรือไม่
7. พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายของคุณเคยป่วยหรือกำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน ใช่หรือไม่
ข้อที่ตอบ "ใช่" = 2 คะแนน ข้อที่ตอบว่า "ไม่ใช่" = 1 คะแนน
ข้อวิเคราะห์และคำแนะนำ
หากคะแนนที่ได้อยู่ระหว่าง 1-9 คะแนนหมายความว่า
คุณมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยต่อการที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานแบบที่ 2 แต่ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงต่อโรคนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตาม อย่างไรก็ดีควรหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมอยู่เป็นประจำ และพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
หากคะแนนที่ได้เกินกว่า 10 คะแนนขึ้นไป
คุณเตรียมใจไว้ได้เลย เพราะความเสี่ยงของคุณต่อเบาหวานปรากฎชัดเจนมากหากคุณยังไม่หันมาใส่ใจสุขภาพ ด้วยการควบคุมอาหาร พยายามลดน้ำหนัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ คุณคงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้ได้ และทางที่ดีคุณควรจะหมั่นไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์อยู่เป็นประจำ