กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากล เพื่อการต่อยอดและพัฒนา ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากล เพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021) ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทย และนักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิดจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022) นำเสนอการสร้างสรรค์ลายผ้าไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนสืบไป
นายชาย นครชัย
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า “กระทรวงวัฒนธรรม
โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่และผู้ประกอบการได้สร้างสรรค์พัฒนาผ้าไทยให้ได้รับความนิยมในระดับสากล
ส่งเสริมการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยและเครื่องนุ่งห่มตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่นำมาใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน
โดยผู้ประกอบการ และนักออกแบบรุ่นใหม่ ใช้แนวคิดหลัก “สังคมสรรค์สร้าง
Social Creation” ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย
และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Texiles Trend Book
Spring/Summer 2022) มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน
โดยรางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และสิ่งทอสร้างสรรค์
ซึ่งผลงานเหล่านี้ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน
จะเห็นว่าผ้าแต่ละผืนที่ออกมามีความสวย มีวิธีคิด
มีการนำภูมิปัญญามาต่อยอดซึ่งถือเป็นก้าวแรก และคงไม่หยุดที่ก้าวนี้
แต่จะต้องก้าวต่อไปเพื่อให้วงการผ้าไทยไปสู่สากล
และเป็นที่ยอมรับของทุกคนให้อยากใช้ผ้าไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น
โดยนักออกแบบไทยถือว่าไม่ธรรมดา ทั้งมีชื่อเสียงและฝีมือระดับสากลมากมาย
เพียงแต่ทำอย่างไรจึงจะสามารถมัดใจคนได้
ตรงนี้เป็นสิ่งที่พยายามผลักดันให้สำเร็จ”
ทางด้าน นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH
(วิชระวิชญ์) กล่าวเสริมว่า “การประกวดครั้งนี้เปิดกว้างให้แต่ละที่
แต่ละชุมชน หรือคนที่เข้าร่วมประกวดแสดงศักยภาพให้ได้มากที่สุด
สอดคล้องกับแนวคิดสังคมสรรค์สร้าง และเป็นหนึ่งในไอเดียจากเล่ม (Thai
Texiles Trend Book Spring/Summer 2022) เป็นหลักใหญ่
โดยภาพรวมเป็นการพยายามมองหาอะไรที่ไม่ค่อยเจอตามท้องตลาด
หรือมีความสร้างสรรค์ออกมา ทั้งหมดทั้งมวลนี้ควรที่จะใช้สีธรรมชาติเป็นหลัก
เป็นเรื่องของภาพรวมความกลมกลืนซึ่งสามารถต่อยอดเข้าสู่ตลาดได้จริงหรือไม่
ทั้งในแง่การทำเป็นเสื้อผ้า และของตกแต่งบ้าน ก็น่าจะนำไปต่อยอดได้
ที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คืองานนี้ครึ่งหนึ่งจะเป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์มากแล้ว
และอีกครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มเยาวชน นิสิต นักศึกษา
ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีประกวดด้านสิ่งทอที่ในไทยไม่ค่อยมี
อาจถือได้ว่าเป็นการจัดประกวดครั้งแรกในรูปแบบนี้เลยด้วยซ้ำ
จึงหวังว่าจะมีครั้งต่อไป โดยผลงานทั้งหมด 24
ผลงานที่เข้ารอบและได้รับรางวัล จะเห็นว่ามีทั้งจุดแข็ง
และจุดเด่นที่แตกต่างกันไป มีการนำอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นมาผสมในผลงาน
นักออกแบบผ้าไทยส่วนใหญ่มีหัวศิลปะและหัตถกรรมในสายเลือดอยู่แล้ว
อยู่ที่จะปรับให้ดูปัจจุบัน และเข้ากับตลาดสากลได้อย่างไร ยิ่งมีหนังสือ
Thai Texiles Trend Book
ก็ยิ่งเป็นเครื่องช่วยในการเดินหรือมีทิศทางมากขึ้น สอดคล้องกับตลาดสากล
และคิดว่าสามารถไปแข่งขันได้
ท้ายสุดแล้วสิ่งสำคัญหรือทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในด้านสิ่งทอและการออกแบบก็คือการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือของที่มีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
แล้วนำมาผสมผสานกับบริบทอื่นๆ ในตลาดสากล
สร้างสรรค์สิ่งใหม่จากสิ่งที่มีอยู่ ตรงนั้นจะเป็นทุนที่ดี
และทิศทางที่ทั่วโลกนำมาใช้กัน”
อีกหนึ่งในคณะกรรมการการตัดสิน
นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ Jo's
Bag (โจแบ็ค) เปิดเผยว่า “งานครั้งนี้เป็นการประกวดสีธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นเกณฑ์การตัดสินต้องยาก เพราะอะไรที่เป็นออร์แกนิค
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเส้นใยหรือเรื่องสีคือภูมิปัญญา ซึ่งเด็กๆ
ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่ชื่นชอบด้านนี้อยู่แล้ว
จึงทำให้กิจกรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมถือเป็นพันธกิจหลักที่อยากนำมาฟื้นฟู
เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ มาทำซ้ำ
แล้วก็ทำให้สิ่งที่กำลังจะสูญหายกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องสีธรรมชาติ
ซึ่งปัจจุบันกำลังเฟื่องฟูมาก
กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงจัดกิจกรรมให้คนที่มีความสามารถได้แสดงไอเดีย
ทำให้พวกเขาได้รู้จักสี รู้จักเทรนด์
ดึงเรื่องเทรนด์ออกมาทำให้คนรู้จักการใช้สี
คือสีธรรมชาติที่เป็นสีไทยในอดีต เป็นสีตัดกัน มีคู่สีใหม่บ้าง
มันทำให้เราเห็นผลงานสีธรรมชาติในรูปแบบใหม่แล้วก็น่าสนใจ
พอเป็นผลิตภัณฑ์ก็อยากจะซื้อหามาเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
จากกิจกรรมนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นแรงบันดาลให้กับคนที่เห็นข่าวนี้อยากจะมาร่วม
อยากจะนำภูมิปัญญาของพ่อแม่ที่อยู่ใต้ถุนบ้านมาทำให้เป็นงานศิลปะ
และกลายเป็นชิ้นงานที่กลายเป็น Masterpiece ที่สามารถอยู่ได้ในมิวเซียม
หรือเป็นต้นแบบให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น
นำภูมิปัญญามาเป็นอาชีพได้ แล้วผ้าไทยไม่ใช่เรื่องไกลตัว
เขาสามารถรวมผ้าไทยกับชีวิตประจำวันเขาได้
แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบหรือไม่ชอบ อันนี้ไม่สามารถไปบังคับได้
เพียงแต่อยากบอกว่าชิ้นงานเหล่านี้จะเป็น economy system ต่อไปในอนาคต
ถ้าเราให้ความสำคัญ ต่อไปจะได้ไม่ลำบาก ผ้าไทยมีตัวตนที่สูง
เวลาจะไปทำชิ้นงานอะไรในวงจรเศรษฐกิจ ก็จะทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์
จึงไม่อยากให้ทอดทิ้งงานเหล่านี้”
ด้านผู้ชนะการประกวด
นางสาวเปมิกา เพียเฮียง ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทสิ่งทอสร้างสรรค์
จากผลงานชื่อ โครมาโทกราฟี่ เผยถึงไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานว่า
“แนวคิดที่นำมาใช้ในการทำงานนี้ก็ได้ดูสีจาก Thai Texiles Trend Book
แล้วเราก็คิดว่าสีดำมันเข้าได้กับทุกลุค สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกช่วงวัย
ทุกช่วงอายุคน ถ้าเป็นวัยรุ่นเขาก็นิยมสีดำ
ส่วนผู้ใหญ่เขาก็มักใช้โทนสีดำเหมือนกัน สีดำสามารถเข้าได้กับทุก
generation ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้ชนะวันนี้
น่าจะเพราะเรื่องการเลือกใช้เส้นใยที่หลากหลาย
แล้วเราก็มีการย้อมสีหลายเฉดสี อย่างเช่นสีดำ
เราก็ไม่ได้ย้อมสีดำแค่เฉดเดียว แต่ว่าเรามีทั้งดำที่ออกน้ำตาล ดำที่ออกแดง
ดำที่ออกน้ำเงิน แล้วเส้นใยต่างๆ ที่ใช้
ให้ตรงกับการประกวดในหัวข้อสิ่งทอสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วย เส้นไหมอีรี่
เส้นใยเปลือกไหม
โดยเส้นไหมควบเป็นการที่เอาเส้นใยขนแกะที่นำมาจากแม่ฮ่องสอนผสมกับเส้นไหมหลืบ
เป็นการสร้างเส้นใยขึ้นมาใหม่ ให้มีความแปลกตามากขึ้น
แล้วในผ้าทอผืนนี้ก็มีเส้นใย
ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการทำงานเพื่อทำให้สิ่งที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกรอบหนึ่ง”
นางสาวสุพัฒตรา
กล้าหาญ เจ้าของผลงานชื่อ Efflorescence of Feminine
(ความเปล่งปลั่งของหญิงสาว) ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าฝ้าย
เผยแรงบันดาลใจว่า “มาจากแนวคิดเรื่องความเปล่งปลั่งของหญิงสาว
ในตัวผ้าก็จะมีสีสันที่ค่อนข้างสดใส อย่างสีเหลือง สีคราม สีน้ำตาล สีแดง
ซึ่งสีที่ได้มาก็คือย้อมจากธรรมชาติ
แต่ว่าใช้เทคนิคการทอเป็นการมัดหมี่แล้วก็นำไปทอจนเกิดชิ้นงาน
แนวคิดอีกอย่างก็ได้มาจากหนังสือ Thai Texiles Trend Book
ซึ่งตนเองก็นำคอนเซ็ปต์ของสีมาใช้
ส่วนลวดลายเป็นลวดลายที่ดีไซน์ออกแบบจากกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี เทคนิคการทอ เรื่องสีจากการย้อมธรรมชาติ
หรือเป็นการทอด้วยเทคนิคมัดหมี่”
ปิดท้ายที่ นายประพนธ์ ชนะพล เจ้าของรางวัลชมเชย ประเภทผ้าไหม จากผลงานชื่อ
มนต์เสน่ห์สงขลา สะท้อนแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานว่า
“ปัจจุบันเราจะเห็นเทคนิคการทำผ้าแบบใหม่ๆ
แต่เรามองย้อนกลับไปว่าเทคนิคเก่าๆ ผ้าโบราณที่คนโบราณเขาได้ทำ
การย้อมสีธรรมชาติจากสียางกล้วย จากคราม จะเริ่มหมดไป
จึงได้นำการย้อมแบบโบราณกลับมาใช้ใหม่
จุดเด่นของผลงานชิ้นนี้จึงมีความโบราณ มีความคลาสสิค
การออกแบบผ้านั้นปกติจะเน้นการใช้ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ก็คือเป็นผ้าธรรมชาติ
และใช้สีธรรมชาติ โดยจะทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด
เพื่อตอบโจทย์คนที่ไม่นิยมใช้ผ้าที่ทำมาจากใยสังเคราะห์”
กิจกรรมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural
Textile Awards 2021) ภายใต้
โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564
จะเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรม