Talk About Women

สาระดีๆ...มารู้จักกับมันและวิธีป้องกันรักษามัน...."ภาวะซึมเศร้า"และ"โรคซึมเศร้า"
อ้อมดูข่าวดาราเกาหลีเป็นโรคซึมเศร้าจนถึงกับฆ่าตัวตายแล้วก็หดหู่ใจมากค่ะ ไม่อยากให้อะไรแบบนี้มันกิดขึ้นอีก...อ้อมเลยไปค้นข้อมูลเรื่องนี้มาฝากเพื่อนๆพี่ๆทุกคนค่ะ โลกมนุษย์เราเนี่ย...ยังหรรษา น่าอยู่อีกมากนะคะ เชื่ออ้อมเถอะ <br>
<br>
<br>
&quot;ภาวะซึมเศร้า&quot; กับ &quot;โรคซึมเศร้า&quot; ดูๆก็คล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันมากค่ะ <br>
<br>
ภาวะ &quot;ซึมเศร้า&quot; คืออาการที่เกิดได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจต่อความกดดัน หรือความสูญเสีย ทั้งการเสียชีวิตของคู่แต่งงาน และภาวะซึมเศร้า คือคนในครอบครัว การย้ายที่อยู่ ย้ายที่ทำงาน จากสภาพอากาศ เช่น วันที่ฝนตก หรือฤดูหนาว จนทำให้รู้สึกหดหู่ และเกิดอาการซึมเศร้าตามมา ถือว่าเป็นเกิดจากปัจจัยภายนอกและมีผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพส่วนตัวในการเผชิญอุปสรรคต่างๆ <br>
<br>
แต่สำหรับโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) นอกจากมีอาการข้างต้นแล้ว ต้องมีปัจจัยภายในอื่นๆร่วมด้วยคือ <br>
<br>
1. *กรรมพันธุ์* เนื่องจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมียีน(ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า) เป็นส่วนประกอบ จึงพบผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในครอบครัวเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมีสถิติเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าป&amp;shy;กติ <br>
<br>
2. *ความบกพร่องของสารสื่อประสาท* (neurotransmitter) คือ สารโดพามีน <br>
(dopamine) นอร์เอพีเนรีน(norepinephrine) สารซิโรโทนิน (serotonin) <br>
ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือสารซิโรโทนินในสมองต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เมื่อสารซิโรโทนินสูงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น หรือหายจากอาการซึมเศร้า <br>
แต่ถ้าสมองหลั่งสารซิโรโทนินมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการก้าวร้าวได้เช่นกัน <br>
<br>
3. *เพศ* ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงต่างๆ เช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอดและวัยทอง แต่ถ้าผู้ชายเป็นโรคซึมเศร้ามักฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง <br>
<br>
4. *การกินยาในโรคบางชนิด*อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคมะเร็ง และการกินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงต้องแจ้งแพทย์ถึงยาที่กินประจำเมื่อรักษาด้วย <br>
<br>
<br>
สัญญาณเตือนเมื่อโรคซึมเศร้ามาเยือน <br>
<br>
เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ <br>
1. อารมณ์ <br>
- รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา <br>
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย <br>
- อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย <br>
<br>
2. ความคิด <br>
- รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย <br>
- รู้สึกตนเองผิด ไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา <br>
- อยากทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตาย <br>
<br>
3. การเรียนรู้หรือการทำงาน <br>
- ไม่สนใจในสิ่งแวดล้อม หมดความสนุกและไม่มีความสุขในการทำงาน งานอดิเรก และกิจกรรมทางเพศ <br>
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลัง ทำงานล่าช้าและแย่ลง <br>
- ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง <br>
<br>
4. พฤติกรรม <br>
- นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือหลับมากเกินไป <br>
- เบื่ออาหาร หรือกินอาหารมากไป <br>
- บางคนมีอาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดท้องเรื้อรัง ท้องผูก <br>
- ความสัมพันธ์กับคนอื่นแย่ลง ไม่อยากเข้าสังคม <br>
<br>
<br>
ข้อสังเกตสำคัญของโรคซึมเศร้า คือ... <br>
<br>
มีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปและผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้า เพราะคิดแค่เรื่องเฉพาะหน้าว่าหดหู่ เบื่อ เซ็ง วิตกกังวล ตกอยู่ในวังวนความคิดตนเองเท่านั้น <br>
<br>
คนใกล้ชิดจึงมีส่วนสำคัญในการกู้สถานการณ์ที่เลวร้ายของผู้ป่วยให้กลับมา <br>
เมื่อเห็นญาติหรือเพื่อนมีพฤติกรรมแปลกไป อารมณ์เปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ <br>
น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยพูดจาเหมือนเคย นานกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยว่าเขาอาจเป็นโรคซึมเศร้า ควรพาไปพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด <br>
<br>
<br>
โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคซึมเศร้า <br>
<br>
1. *อารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัว* เกิดจากไม่สามารถปรับตัว หรือยอมรับปัญหาที่มากระทบกระเทือนจิตใจได้ เช่น การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด ตกงาน หรือเกษียน จนเกิดความเครียดและมีอาการซึมเศร้า แต่อาการไม่รุนแรง <br>
<br>
ถ้ามีคนปลอบใจหรือพูดคุยจะดีขึ้น เมื่อปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ <br>
อาการซึมเศร้าก็จะหายไป <br>
<br>
2. *โรคอารมณ์แปรปรวน* (ฺbipolar disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ <br>
ที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ บางช่วงผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย มองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ อารมณ์อ่อนไหวง่าย หงุดหงิดและเก็บตัว บางช่วงผู้ป่วยจะมีอาการคึกคัก พูดมาก ขยันมาก เชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าปกติ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า เมเนีย ทั้งนี้อาการระยะซึมเศร้าจะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป <br>
<br>
แต่อาการระยะเมเนียจะเกิดรวดเร็วและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา <br>
<br>
3. *โรควิตกกังวล* ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักวิตกกังวล ห่วงโน่นนี่ คล้ายอาการหลักของโรควิตกกังวล ต่างกันที่โรควิตกกังวล จะมีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น สะดุ้ง ตกใจง่าย ร่วมด้วย ขณะที่โรคซึมเศร้าจะท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต ร่วมกับอาการซึมเศร้าที่เด่นชัดกว่าอาการวิตกกังวล <br>
<br>
<br>
สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า <br>
<br>
<br>
ในเวลาที่คุณซึมเศร้ามักท้อแท้ สิ้นหวัง แต่ความรู้สึกเหล่านี้จะลดลง เมื่อได้การรักษาอย่างถูกต้อง ในระหว่างนี้ เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก มีสิ่งที่คุณควรและไม่ควรทำ คือ <br>
<br>
ไม่เอาตัวเองไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน <br>
<br>
อย่าตั้งเป้าหมายที่สำเร็จยาก หรืออย่าแบกรับความรับผิดชอบมากๆ <br>
<br>
พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นชิ้นเล็กๆ และเลือกทำงานที่สำคัญก่อน และทำอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ <br>
<br>
อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะหากเกิดความผิดพลาด คุณอาจผิดหวังยิ่งกว่าเดิม <br>
<br>
ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ออกกำลังกาย วาดภาพ หรือดูหนัง ฟังเพลง แต่ไม่ควรทำอย่างหักโหม เพราะนอกจากไม่เกิดความสุขแล้วยังอาจทำให้เครียดเพิ่มขึ้น <br>
<br>
อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิต เช่นลาออก เปลี่ยนงานใหม่ แต่งงาน หรือหย่า เพราะอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ พึงระลึกเสมอว่าทุกอย่างต้องใช้เวลา <br>
<br>
อย่าตั้งความหวังว่าจะหายอย่างรวดเร็ว พยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด และไม่โทษหรือตำหนิตัวเอง ว่าที่ยังไม่หายเพราะไม่พยายามหรือยังทำได้ไม่ดีพอ <br>
<br>
<br>
ป้องกันอาการซึมเศร้าด้วยตนเอง <br>
<br>
หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า แต่ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ เป็นแบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ คุณอาจไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า <br>
และสามารถบำบัดอาการซึมเศร้าด้วยตัวเองง่ายๆ โดย <br>
<br>
<br>
1. *ออกกำลังกาย*เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าและให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดฟินออกมาคลายความเศร้าและความวิตกกังวล ด้วยการวิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที <br>
<br>
2. *เสียงหัวเราะ* เมื่อรู้สึกตัวว่าเริ่มเศร้า ลองหันมาดูภาพยนตร์ตลก <br>
หรือย้อนไปอ่านหนังสือการ์ตูนตลกบ้าง ก็ช่วยลดความเครียดได้ระดับหนึ่ง <br>
<br>
3. *ระบายอารมณ์* บางครั้งอาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเก็บกดของ &quot;อารมณ์เพศ&quot; <br>
การได้ระบายและผ่อนคลายอารมณ์เพศออกไปแบบสุดๆ จะด้วยลักษณะของการช่วยตัวเองหรือมีคนช่วยก็แล้วแต่ จะทำให้อารมณ์เก็บกดต่างๆได้ถูก&quot;ผ่อนคลาย&quot; ออกไป จะรู้สึกว่าโลกนี้ยังน่ารื่นรมณ์อยู่อีกมาก <br>
<br>
4. *พูดระบายความในใจ* หาใครสักคนที่คุณไว้ใจเล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟัง <br>
การมีใครสักคนช่วยแบ่งปันความทุกข์ความสุข จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ชีวิตมีความหมายขึ้น <br>
<br>
5. *เปลี่ยนเป็นคิดทางบวก* อาจเป็นสิ่งที่ทำยากสักนิด แต่จะมีอะไรดีไปกว่าการเปลี่ยนความคิดจากสิ่งที่เลวร้ายเป็นการมองแง่ดี <br>
<br>
6. *นั่งสมาธิ* เมื่อจิตใจสงบ มีสมาธิ จะเกิดสติตามมา ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น หรือคุณอาจฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ เป็นจังหวะ ก็ช่วยให้ปลอดโปร่งและมีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น <br>
<br>
<br>
โรคซึมเศร้าไม่เหมือนไข้หวัดที่หายเองได้ เมื่อคิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า อย่าอายหรือกลัวที่จะไปพบจิตแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจสายเกินไป <br>
<br>
ทางที่ดีคือสร้างสมดุลในชีวิตให้มาก อย่าตั้งความหวังสูง หรือกดดันตนเองเกินไป <br>
เพราะเมื่อผิดหวังขึ้นมาคุณอาจทุกข์จนถึงขั้นซึมเศร้าก็ได้นะคะ <br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>
<br>


12 Feb 2007  |  Post by : Rattiya69
Comment 1
<img src="pic/b5.gif"> แหม... <br>
<br>
แต่จริงๆคนเป็นเยอะแต่ไม่รู้ตัวนะคะ ดูแลตัวเองดีๆ สู้กับตัวเองให้ได้เหมือนนก เอิ๊กๆ สู้โว้ย

12 Feb 2007  |  Comment by : SweetNokk

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: i-love-you 24
โพสต์โดย: benzthelode 3
โพสต์โดย: ChillChill 9
โพสต์โดย: StrawberryPinky 176
โพสต์โดย: deknoinid 27
โพสต์โดย: 400fh 5
โพสต์โดย: megomego 0
โพสต์โดย: aime_clinic 0

Interest Product