Talk About Women

ความดันโลหิตสูงสัมพันธ์กับสุขภาพทางเพศอย่างไร
ผลแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงรวมทั้งจากการรักษาที่สำคัญประการหนึ่งในเพศชายคือ อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คำว่า Erectile Dysfunction หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง การที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์จนจบเป็นที่พึงพอใจได้อย่างต่อเนื่อง เดิมอาจเรียกว่า ไร้สมรรถภาพทางเพศ แต่จริงๆ แล้วคำว่า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ดูจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่า <br>
<br>
ต้องยอมรับว่าการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวตามปกติ มีผลต่อชีวิตของผู้ชายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นในตนเอง และความเป็นชายอาจทำให้เขาขาดอารมณ์ร่วม เฉยชาต่อครอบครัว เพื่อนฝูงแม้แต่ภรรยาหรือคู่ครอง ทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน คุณภาพชีวิตก็เลวลงด้วย <br>
<br>
เดิมเชื่อว่าภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของจิตใจ แต่ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางร่างกายประมาณร้อยละ 14 ของผู้ชายที่ได้รับการรักษาความดันโลหิตสูง เคยมีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอย่างสิ้นเชิงในบางครั้ง <br>
<br>
ปัญหานี้อาจเกิดจากความดันโลหิตสูงเอง หรือเป็นผลแทรกซ้อนของยาที่ใช้ลดความดันโลหิต ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ชายและคู่ของเขาควรจะทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจะรับมือกับปัญหาดังกล่าว <br>
<br>
ถ้าคุณคิดว่าคุณหรือใครที่คุณรู้จักมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โปรดทราบว่ามีเพื่อนๆ ที่มีปัญหาเดียวกับคุณอยู่อีกมาก ที่จริงผู้ชายส่วนมากเคยมีปัญหานี้ทั้งสิ้น แต่อาจไม่รุนแรงหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โชคร้ายสักหน่อยที่จริงๆ แล้วภาวะนี้พบมากกว่าที่คุณคิดมากประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ชายอายุ 40 ปี หรือมากกว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ <br>
<br>
สองในสามของกลุ่มนี้มีปัญหาขั้นปานกลางหรือรุนแรง นั่นหมายความว่ามีผู้ชายประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลกที่เผชิญปัญหานี้อยู่ ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ลืมคำว่าไร้สมรรถภาพกันดีกว่า <br>
<br>
การที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวตามปกตินั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอายหรือเป็นปมด้อย วันนี้เราไม่ใช้คำว่า ไร้สมรรถภาพทาง เพศ อีกต่อไป เนื่องจากความผิดปกติอยู่ที่ความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าชายผู้นั้นจะเป็นหมัน หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอด หรือไม่หลั่งน้ำอสุจิแต่ประการใด นอกจากนี้ภาวะนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ และไม่คุกคามต่อชีวิต แม้จะมีอาการรุนแรงบ้างก็ตาม <br>
<br>
<br>
ที่มา...สยามดารา

10 Jan 2008  |  Post by : Rattiya69

Comment



Pooyingnaka Wellness

Webboard
โพสต์โดย: โอย...เครียด 5
โพสต์โดย: iceziiz 0
โพสต์โดย: comboymos 2
โพสต์โดย: prnews 0
โพสต์โดย: netiri 8
โพสต์โดย: 7-11 2
โพสต์โดย: spa 0
โพสต์โดย: pinkdolphin 1

Interest Product